Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
The Lesson
•
ติดตาม
22 เม.ย. 2023 เวลา 04:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
George Soros ภาค 2: บทสรุปเหตุการณ์ Black Wednesday ในปี 1992
ความเดิมตอนที่แล้ว George Soros เห็นช่องทางว่าค่าเงินปอนด์อ่อนค่ากว่าความเป็นจริง เลยเข้าไปโจมตีค่าเงินปอนด์
บทสรุปของเหตุการณ์ Black Wednesday ในปี 1992 จะเป็นอย่างไร ?
ไปทำความรู้จักกับ George Soros สักนิด
เขาเกิดที่ฮังการีในปี 1930 พ่อเป็นนักภาษาศาสตร์ เปลี่ยนเป็นชื่อนี้ เพราะอยากให้ชื่อลูกชาย อ่านจากหน้าไปหลัง หรือหลังไปหน้า ก็ยังชื่อ SOROS
ในปี 1947 เรียนจบปริญญาตรีและโท สาขาปรัชญา ที่ London School of Economics
ในปี 1969 จัดตั้งกองทุนที่ชื่อ Double Eagle
ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็น The Quantum Group of Funds
ผลกำไรเฉลี่ยของกองทุนนี้ คือ 20% ตลอด 40 ปีที่เปิดบริษัทการลงทุน
ในปี 1992 ที่เกิด เหตุการณ์ Black Wednesday เขามอายุ 62 ปี
เขารู้ว่าค่าเงินปอนด์อ่อนกว่าที่ควรจะเป็น
เขารู้ว่าถ้ามี Short Position ค่าเงินปอนด์ และอังกฤษลดค่าเงินจริง ตัวเขาจะได้กำไรมหาศาล
คำถามคือ ทำอย่างไร ให้ธนาคารกลางอังกฤษยอมลดค่าเงิน?
เพราะภารกิจของธนาคารกลางอังกฤษคือ รักษาเสถียรภาพของค่าเงิน จะได้ร่วมในกลไก ERM
George Soros รู้ดีว่า ในเมื่อเงินปอนด์อ่อนแอ แค่มีแรงผลักเล็กๆ ก็สะเทือนถึงธนาคารกลางอังกฤษ
ในเดือนสิงหาคม ปี 1992 1 เดือนก่อน Black Wednesday
เขาเริ่มติดต่อธนาคารและกองทุนใหญ่ๆ ขอซื้อเงินปอนด์ที่กองทุนเหล่านั้นมีอยู่ พร้อมจ่ายดอกเบี้ยเล็กๆน้อยๆ เป็นเงินกู้ยืม จากนั้นกระหน่ำเทขายเงินปอนด์ออกไป ทำให้ค่าเงินอ่อนลง เขาได้กำไรยกแรกในการค้าค่าเงิน
ปลายเดือนสิงหาคม 1992 เขาซื้อเงินปอนด์อีก 1.5 พันล้านดอลลาร์และเทขายออกไปเพื่อทุบให้อ่อนอีกรอบ
แล้วก็รอข่าวร้ายสักข่าวเพื่อให้เงินปอนด์อ่อน จนธนาคารกลางอังกฤษต้องยอมยกกธงขาวและลดค่าเงิน
16 กันยายน 1992 วันที่เขารอก็มาถึง ผู้ว่าธนาคารกลางเยอรมนี ให้สัมภาษณ์ว่า “ผมไม่ปฏิเสธว่า สกุลเงินยุโรปบางสกุลอยู่ภายใต้แรงกดดัน”
นักข่าวไม่ต้องเดาว่า สองสกุลที่ร่อแร่ คือ อังกฤษหรืออิตาลี
George Soros ใช้โอกสนั้น มาซื้อเงินปอนด์อีก 1 หมื่นล้านดอลลาร์
แล้วค่ำของวันที่ 16 กันยายน 1992 เขาก็เทขายเงินปอนด์ทั้งหมด
โดยเขาคิดว่า ถ้าธนาคารกลางเห้นค่าเงินอ่อน ต้องเทเงินสำรองออกมา
ซึ่งถ้าเป็นแบบนั้น กำไรมหาศาล
ถ้าไม่เป็นแบบนั้น เขาก็เสียดอกเบี้ยเล็กน้อย
เช้าวันนั้น ธนาคารกลางอังกฤษได้ข่าวว่าค่าเงินถูกโจมตีมหาศาล
เพื่อเป็นการรักษาค่าเงินไม่ให้ถูกลดค่า
วันถัดมา ทำเนียบนายกฯรัฐบาลอังกฤษ อนุญาตให้ซื้อเงินปอนด์กลับมาพันล้านปอนด์ แล้วอนุมัติเงินให้ซื้อเงินปอนด์กลับอีก 2 พันล้านปอนด์
นอกจากนี้ยังกดดันให้ขึ้นดอกเบี้ยเพื่อพยุงเงินปอนด์ให้แข็ง
ตอนแรก นายกฯปฏิเสธขึ้นดอกเบี้ย เพราะจะทำให้เศรษฐกิจพัง
แต่สุดท้ายไม่มีทางเลือก เพียงวันเดียว ธนาคารกลางต้องปรับขึ้นดอกเบี้ย 2 ครั้ง
ครั้งที่ 1 ขึ้นจาก 10% เป็น 12%
จบวัน อังกฤษซื้อเงินปอนด์กลับเข้ามา 27,000 ล้านปอนด์
ตอนเย็นปรับขึ้นดอกเบี้ยจาก 12% เป็น 15%
พร้อมนัดประชุมฉุกเฉิน
ตอนนั้นอังกฤษทำไรไม่ได้ นอกจากประกาศยอมแพ้และลดค่าเงินปอนด์ (Devalue)
เท่ากับว่า ค่าเงินอังกฤษไม่แข็งแรง ทนทานเพียงพอในการพิสูจน์เพื่อเจ้าร่วม ERM
ค่าเงินอังกฤษปรับลดลง 15% เมื่อเทียบกับ Deutsche Mark
ปรับตัวลดลง 25% เมื่อเทียบกับ USD
ยอมออกจากกลไก ERM และปรับลดดอกเบี้ยลงมาเหลือ 10%
George Soros ได้กำไรหลักพันล้านปอนด์
แต่เป็นภาระให้คนอังกฤษถึง 3.14 พันล้านปอนด์
ถ้าเอามาหารเฉลี่ยกับคนอังกฤษเวลานั้น ประมาณ 60 ล้านคน
เท่ากับแต่ละคนจะต้องจ่ายคนให้ George Soros คนละ 15 ปอนด์
ที่น่าสนใจคือ วิธีการโจมตีค่าเงินที่ไทยในปี 1997 ก็เป็นรูปแบบเดียวกันกับที่อังกฤษในปี 1992
ที่มา : WEALTH HISTORY EP.26
ประวัติศาสตร์
เศรษฐกิจ
ธุรกิจ
1 บันทึก
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
สรุปความรู้ที่ได้จาก Podcast Wealth History
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย