30 เม.ย. 2023 เวลา 07:33 • ประวัติศาสตร์

สรุป ประวัติศาสตร์ “พลังงานไทย”

ประเทศไทยรู้จักน้ำมันจากฟอสซิล ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนกลาง
ตอนนั้นเรานำเข้า Kerosene หรือ น้ำมันก๊าด มาใช้แทนน้ำมันมะพร้าวในการจุดเทียน
บริษัทที่นำเข้า Kerosene มาขายคือ Royal Dutch Shell บริษัทสัญาชาติอังกฤษกับเนเธอร์แลนด์
ในช่วงนี้เอง บ้านเราเริ่มมีเครื่องจักร เครื่องยนต์ มีรถยนต์ รถราง รถเมล์ ทำให้มีความต้องการใช้พลังงาน
จนในปี 1933 (พ.ศ 2476) กระทรวงกลาโหม ภายใต้การปกครองของคณะราษฎร ตระหนักถึงความสำคัญของเชื้อเพลิง เพื่อยุทโธปรณ์ และการพัฒนาประเทศ
เพราะเป็นยุคที่อุตสาหกรรมเริ่มเข้ามามีบทบาทในภูมิภาค จึงมีการจัดตั้งแผนกเชื้อเพลิง สังกัดกระทรวงกลาโหม
ต่อมาถูกยกระดับเป็นกรมเชื้อเพลิง มาจัดการเรื่องพลังงานให้มีเพียงพอต่อความต้องการของประเทศ
6 ปีหลังจากนั้น เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้ทุกอย่างชะงัก
พอสิ้นสุดสงครามโลก ในปี 1945 (พ.ศ.2487 )ประเทศไทยในฐานะผู้แพ้สงคราม เพราะเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น ประเทศไทยต้องยุบกรมเชื้อเพลิง และให้ชาติที่ชนะสงคราม เข้ามาจัดการกับอุตสาหกรรมพลังงานของบ้านเรา รวมถึงเรื่องน้ำมัน
แม้ต่อมาไทยจะได้รับประกาศสถานภาพว่าเป็นผู้ชนะสงคราม แต่กิจการพลังงานทั้งการนำเข้าและกลั่นน้ำมัน ถูกผูกขาดโดยต่างชาติ
จนในปี 1957 (พ.ศ.2500) รัฐบาลทหารจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ พลิกเกมประกาศคณะปฏิวัติที่มีข้อห้ามไม่ให้รัฐบาลไทยมีบทบาทการค้าขายปิโครเลี้ยม
3 ปีต่อมา ในปี 1960 (พ.ศ.2503) มีการตั้งองค์กรเชื้อเพลิง เป็นรัฐวิสาหกิจ และ ให้กำเนิดปั๊มสามทหาร
ยุคนั้นอุตสาหกรรมโลกก้าวกระโดด ความต้องการพลังงานโลกเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว แต่ความขัดแย้งกับอิสราเอลและสันนิบาตอาหรับเกี่ยวกับดินแดนปาเลสไตน์ นำไปสู่วิกฤติพลังงาน ที่เรียกว่า Oil Shock
หลังกลุ่ม OPEC ลดการผลิตน้ำมันอย่างรุนแรง ในปี 1973 (พ.ศ.2516) ราคาพลังงานโลกขยับจาก 2.90 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เป็น 8.32 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หรือประมาณ 4 เท่าตัว ภายในเวลาไม่ถึงปี
สหรัฐฯ เห็นความจำเป็นในการหาแหล่งพลังงานเพิ่มเติม เพื่อลดการพึ่งพากลุ่ม OPEC สหรัฐฯ มองไปถึงการสร้างความร่วมมือกับประเทศที่น่าจะมีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติปิโตรเลียม เพื่อสร้างความมั่นคงทางพลังงาน
จนปี 1977 (พ.ศ.2520) ยุครัฐบาลธานินทร์ กรัยวิเชียร ได้มีการจัดตั้งองค์การก๊าซธรรมชาติแห่งประเทศไทย
ถัดมา 1 ปี ภายใต้รัฐบาลพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ตราพระราชบัญญัติการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) ถือเป็นการจัดตั้งองค์กรเกี่ยวกับความมั่นคงทางพลังงานปิโตรเลียมเป็นครั้งแรกของไทย
ในปี 1978 (พ.ศ.2521) โลกเจอแรงกดดันอีกระลอก จากการที่อิหร่านมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง นำไปสู่การสถาปนาสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน อิรักประเทศเพื่อนบ้านรุกรานอิหร่าน ทำให้สถานการณ์พลังงานเกิดความสั่นคลอนอีกครั้ง
ดีที่ก่อนหน้านั้น 2-3 ปี ประเทศไทยพยายามหาแหล่งพลังงานในอ่าวไทย หลังจากพยายามมา 2-3ปี โดยความช่วยเหลือของ UNOCAL (ตอนหลังเปลี่ยนชื่อเป็น Chevron)
จนในปี 1978 (พ.ศ.2521) ประเทศไทยพบว่าในอ่าวไทยมีแหล่งก๊าซธรรมชาติที่สามารถนำเอามาผลิตไฟฟ้าได้
หลุมแรกที่ไทยสามารถนำมาใช้ประโยชน์ ตั้งชื่อว่า หลุมเอราวัณ
ถึงแม้ตอนนั้นโครงสร้างพื้นฐานจะยังไม่พร้อม โดยเฉพาะเรื่องโรงแยกก๊าซธรรมชาติ แต่เราก็สามารถจัดการทุกอย่างได้ลุล่วง
จนในปี 1981 (พ.ศ.2524) ไทยสามารถเปิดท่อส่งก๊าซธรรมชาติที่ชายฝั่ง จ.ระยองได้ในที่สุด
ตอนที่พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ในเวลานั้น เดินทางไปเปิดวาล์วส่งก๊าซธรรมชาติ ที่ถือว่าเป็นการพลิกโฉมวงการพลังงานของไทยไปตลอดกาล
ในเวลานั้น พลเอก เปรมได้พูดว่า "นับจากนี้ประเทศไทนจะพัฒนาก้าวหน้าและโชติช่วงชัลวาล
มาดูฝั่งน้ำมัน ที่ผ่านมาบ้านเรายังต้องนำเข้า จนในปี 1981 พ.ศ.2524 รัฐบาลนำกิจการโรงกลั่นบางจากกลับมาบริหาร ซึ่งแต่เดิมมีบริษัทสัญชาติปานามา ดำเนินการอยู่ เพื่อแก้ปัญหาส่งมอบน้ำมันไม่ทันเวลาและไม่เพียงพอต่อความต้องการ
จากวันนั้นสู่วันนี้ คือ ที่มาของความมั่นคงทางพลังงานของไทย
ที่มา : WEALTH HISTORY EP.19

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา