4 พ.ค. 2023 เวลา 23:00 • ปรัชญา

ติดกับดักศักยภาพปานกลาง ตอนที่ 2 รากของปัญหา ทางออก

โดย ภก.ดร.จันทรชัย ถวิลพิพัฒน์กุล Ph.D., LLL.
ศักยภาพปานกลาง รากของปัญหา ทางออก
1. เปลี่ยนบ้าง แต่ไม่ยั่งยืน
เพราะการเปลี่ยนแปลงนั้นครึ่งๆ กลางๆ นั่นคือ มักเน้นแค่การเปลี่ยนที่พฤติกรรม แต่เข้าไม่ถึงฐานรากของการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง นั่นคือ กรอบความคิด หรือ Mindset แล้วกรอบความคิดคืออะไร มันประกอบด้วย ภาพ เสียง กลิ่น รส และสัมผัส การเปลี่ยนแปลงจึงต้องเล่นที่ระดับนี้
2. การพัฒนาศักยภาพไม่เป็นองค์รวม
ศักยภาพมีทั้งที่แสดงออกภายนอกเพียงน้อยนิด และที่เก็บแฝงเร้นอยู่ภายในอันไร้ขีดจำกัด ทั้งสองส่งผลซึ่งกันและกันอย่างไม่อาจแยกออกจากกันได้
3. ไม่สามารถนำตนเองได้
มันไม่สำคัญหรอกว่าจะเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น หรือมีอะไรมากระทบ เพราะมันอยู่นอกเหนือการควบคุม ประเด็นมันอยู่ที่ว่าเราจะตอบสนองต่อมันอย่างไร การตอบสนองนี้มาจากกรอบความคิด กรอบความคิดเป็นของตนเอง การตอบสนองจึงเป็นอะไรที่ตนเลือกได้ ถ้าเลือกได้ ก็นำตนเองได้ เล่นเชิงรุกได้
4. แก้ปัญหาไม่ตก คิดไม่ออก
การทำงานคือการแก้ปัญหา การแก้ปัญหาต้องใช้ปัญญา ปัญญามาจากการคิดเชิงระบบ ระบบคือมุมมองที่เห็นถึงความจริงว่า ปัญญาใดๆ มาจากการเชื่อมโยงขององค์ประกอบ การพัฒนากระบวนการเรียนรู้จึงต้องหาว่าอะไรคือองค์ประกอบหลัก แล้วมันเชื่อมโยงกันอย่างไร
5. ขาดนวัตกรรม
การเสนอสินค้าและบริการเดิมๆ ไปไม่รอด ความคิดที่แตกต่างที่แปลกใหม่จำเป็นอย่างยิ่งต่อการสร้างนวัตกรรม รวมทั้งการสร้างทางเลือกอย่างสร้างสรรค์ คุณสมบัตินี้มาจากมุมมองเชิงระบบที่เห็นการเชื่อมโยงที่หลากหลายขององค์ประกอบที่แตกต่าง
6. เพราะขาดความเชื่อมั่น
การจะรับมือกับปัญหาได้ ตนต้องมีความมั่นคงทางอารมณ์ มีความเชื่อมั่น มีภูมิต้านทาน ภาวะนี้จะเป็นจริงได้ ตนต้องเห็นค่าตนเองนั้น การเห็นค่าตนเองมันก็คือ การเข้าใจตนเอง ยอมรับตนเอง ให้อภัยตนเองถึงสิ่งที่ผ่านมาในอดีต
7. ขาดภาวะผู้นำ
“ภาวะผู้นำ” มิใช่ “ตำแหน่งผู้นำ” ภาวะผู้นำต้องมาจากการยอมรับจากคนที่สัมพันธ์ด้วย และใครจะยอมรับเรา เราต้องให้การยอมรับผู้นั้นก่อน มันคือการเห็นคนเป็นมนุษย์ มีชีวิตที่ต้องการคุณค่าและความหมาย “เพราะใครก็ตามเห็นฉันมีค่า เธอก็มีค่าเช่นกัน”
ทฤษฎีองค์รวม Holistic Theory ศาสตร์ชีวิตความเป็นทั้งหมดเพื่อความยั่งยืน
โฆษณา