Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
คีตาแห่งสยาม
•
ติดตาม
7 พ.ค. 2023 เวลา 01:31 • หนังสือ
✴️ บทที่ 5️⃣ เป็นอิสระด้วยการละวางภายใน ✴️ (ตอนที่ 3)
🍀 อะไรดีกว่ากัน — รับใช้อยู่ในโลก หรือ ปลีกเร้นเพื่อแสวงหาปัญญาญาณ 🍀
⚜️ โศลกที่ 3️⃣ ⚜️ หน้า 574—576
โศลกที่ 3️⃣
〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️
ดูกร มหาพาหุ (อรชุน) ผู้ได้ชื่อว่าสันยาสี (ผู้ละวางแล้ว) ย่อมพ้นจากพันธนาการทั้งหลายได้ง่าย พ้นแล้วจากความชอบความชัง เพราะเขาไม่ถูกพันธนาการด้วยสิ่งคู่อีกต่อไป (ขั้วตรงข้ามของธรรมชาติ)
〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️
สันยาสีที่แท้ ไม่ว่าอยู่ที่ไหน หรือทำอะไร เขาดำรงอยู่ด้วยจิตแห่งพระเจ้า เมื่อวางเฉยเสียได้แล้ว #เขาเห็นโลกเป็นเพียงการแสดงของความคิด แล่นผ่านจิตของเขาไปเป็นความสุขหรือโศก ตามปฏิการของสิ่งที่ขัดแย้งกันนั้น
เมื่อคิดถึงสิ่งที่ทําให้เจ็บปวดหรือกลัวความเจ็บปวด (ความเจ็บปวดคือสิ่งที่เร้าให้เกิดความไม่สบายใจหรือความชัง) นั่นคือการยึดอยู่กับกาย หรือเมื่อ จิตคิดถึงเหตุแห่งความเพลินพอใจ (ความเพลินพอใจคือสิ่งที่ทำให้เกิดความสนใจหรือความชอบ) ก็เป็นเรื่องของการยึดกายเช่นกัน ผู้ภักดีที่ต้องการกู้สวรรค์ที่สูญหายให้กลับคืน ผู้หวังได้ความสุขอย่างไร้เงื่อนไข ต้องเรียนรู้ที่จะ วางเฉยกับความสุขหรือความทุกข์ของกาย รับผัสสะภายนอกทั้งหลายด้วยสภาวะจิตที่เป็นกลางๆ
สิ่งที่คีตาสอนนี้ ไม่ใช่เป็นปรัชญาแห่งการปฏิเสธ หรือการไม่สนใจไยดี มนุษย์มีหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติต่อกายอย่างเหมาะสม ผู้ภักดีควรฝึก ติติกษา — ความสงบไม่กระวนกระวายทุกเมื่อ การปฏิบัติเช่นนี้จะทำให้ความเจ็บปวดหรือเหตุแห่งความเจ็บปวดหมดไปอย่างไม่รู้สึกว่าต้องอดทน วิหารกายควรได้รับการปกป้องจนกว่าจะพ้นบาป กายจึงควรได้รับการปกป้องอย่างมีเหตุผล ตราบที่พระเจ้าทรงประสงค์จะให้กายนั้นทําหน้าที่ต่อไป
บุคคลผู้มีวินัยในตน จะไม่ปล่อยให้กายและจิตรัดรึงอยู่กับกาย แต่ดูแลกายอย่างมีเหตุผลเพื่อให้กายได้ทำหน้าที่เพื่อพระเจ้า โยคีพยายามที่จะรักษากายไว้ให้ดี เพราะกายที่ดีจะดำรงจิตแห่งพระเจ้าได้ง่าย ไม่ฟุ้งซ่านไปกับความเจ็บปวด แต่แม้เมื่อความเจ็บปวดคุกคามร่างกาย หรือขณะท่านพยายามถอนความเจ็บปวดนั้น โยคีเพียรที่จะสัมผัสการดำรงอยู่แห่งพระเจ้าอย่างไม่ย่อท้อ เมื่อโยคีได้ความสงบภายในหรือความเบิกบานกลับมา ขณะท่านเผชิญกับความสุขหรือความทุกข์ทางกาย ท่านย่อมเป็นหนึ่งกับอาตมันอันประเสริฐในตน
การไม่ใส่ใจดูแลกาย จึงไม่ได้หมายถึงการละวางเสมอไป (อย่างที่บางคนคิดกัน) โยคีคือผู้หยั่งรู้พระเจ้า ท่านพบความสุขในวิญญาณของท่าน และท่านเป็นผู้ละวาง ไม่อยู่ใต้อำนาจของสภาวะแห่งโลกที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มนุษย์ประเสริฐเช่นนี้ ที่อยู่เหนือการรัดรึงของผัสสะแม้ขณะทำหน้าที่ คือสันยาสี (ผู้ละวาง) ที่แท้
(((มีต่อ)))
หนังสือ
จิตวิญญาณ
บันทึก
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
เล่ม 1 บทที่ 5
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย