27 พ.ค. 2023 เวลา 00:30 • หนังสือ

เรื่องเล่าข้างคิด EP. 79

“การคอมเมนต์”
“เคยเจอคอมเมนต์ที่เราไม่ถูกใจบ้างไหมในโลกโซเชี่ยล?”
เคยถามเพื่อน เขาบอกถ้ามีแต่คนชม ไม่มีคนติ เดี๋ยวเหลิง ต้องติเพื่อก่อ จริงเหรอ?
การชม กับ การให้กำลังใจหล่ะ! อันไหนดีกว่ากัน? ลืมถามเพื่อนไป…
ได้ดูคลิปของคุณก๊อต จิรายุ ตันตระกูล กับ รายการ “เกลา” เลยอยากแชร์แบ่งปันมุมมอง เรื่อง “การคอมเมนต์” เขาเล่าว่า หลายรายการที่ดีมีสาระมากมาย แต่คนคอมเมนต์ ก็พยามหาข้อคอมเมนต์จนได้ บางครั้งเป็นเรื่องเล็กน้อยมากทำไมไม่มองที่ดีที่มีอยู่ตั้งเยอะ ให้กำลังใจเขา ที่เขาได้สรรหาข้อมูลดี ๆ คอนเทนท์ดี ๆ มาบอกเล่าแบ่งปันเราบ้างก็ดีนะ!
แล้วมีอีกตอนหนึ่งที่พูดถึง การให้ความเห็นของผู้คน โดย เขาเล่าว่า มีคุณแม่ของนักแสดงท่านหนึ่งมาถามเขาว่า มีคนในกองถ่ายบอกว่า “การเป็นนักแสดง ไม่จำเป็นต้องไปเรียนการแสดงหรอก แค่ทำงานแสดงไป ก็จะแสดงเป็นเอง” เขาถามว่า “แล้วคน ๆ นั้น อยู่ตรงไหนของสายอาชีพนี้” ถ้าเราเชื่อเขา แล้วเขาอยู่ระดับคนทั่ว ๆ ไป เราก็จะไปอยู่ระดับเดียวกับเขาได้
เขาพูดถึงแนวคิดเรื่อง 3 เหลี่ยมใน 4 เหลี่ยม ที่นักเขียนเกาหลี นำมาแชร์ไว้ แล้วเขาจำมา เพราะชอบ แต่จำไม่ได้ว่านักเขียนท่านไหน?
- เขาวาดรูป 3 เหลี่ยม อยู่ในรูป 4 เหลี่ยม แล้วแบ่ง 3 เหลี่ยม จากล่างขึ้นบน เป็น 3 ส่วน
- สิ่งที่เห็นก็คือ ช่วงล่างของ 3 เหลี่ยมจะใหญ่กว่าเพื่อน เปรียบเหมือนจำนวนคนที่อยู่ระดับทั่ว ๆ ไป ที่มีอยู่มากมาย แต่เนื้อที่ ว่าง ระหว่าง 3 เหลี่ยม กับ 4 เหลี่ยมเหลืออยู่นิดเดียว นั่นเปรียบเหมือนความรู้ที่มีอยู่น้อยนิด
- ช่วงกลางของ 3 เหลี่ยม คือ จำนวนคนระดับกลาง ซึ่งมีอยู่ประมาณหนึ่ง ใกล้เคียง กับ เนื้อที่ ว่าง ระหว่าง 3 เหลี่ยม กับ 4 เหลี่ยม เปรียบเหมือน คนระดับกลาง จะมีความรู้ กลาง ๆ
- ช่วงบนสุดของ 3 เหลี่ยม จะเหลือน้อย เปรียบเหมือนคนที่มีความรู้ระดับบน ระดับดีมาก จะมีอยู่จำนวนน้อย แต่เนื้อที่ ว่าง ระหว่าง 3 เหลี่ยม กับ 4 เหลี่ยมเหลืออยู่มากมาย เปรียบเหมือนความรู้ของคนระดับนี้ที่มีเยอะ
- สรุป ก็คือ ว่า คนระดับบนมีจำนวนน้อย แต่มีความรู้มาก แต่คนระดับทั่ว ๆ ไป จะมีจำนวนมาก แต่มีความรู้น้อย
- เขาให้แง่คิดว่า ให้เรียนรู้กับคนขั้นเทพ แต่ให้มองลงมาให้ครบรอบด้าน
เราเลยได้ข้อคิดว่า ถ้ามีใครมาคอมเมนต์อะไรเรา ให้ดูก่อนเลยว่า เขาพูดนั้นติเพื่อก่อได้ไหม? คือ เราผิดพลาดจริง ๆ หรือไหม? ถ้าใช่ก็ยอมรับ แล้วแก้ไข ปรับปรุงกันไป แต่ถ้าไม่ใช่ เราก็ประเมินต่อว่า เขาอยู่ระดับไหน
ถ้าเขาอยู่ระดับบน เราก็ลองนำความรู้เขามาต่อยอดพัฒนาตัวเราต่อไป แต่ถ้าเขาอยู่ระดับทั่ว ๆ ไป เราก็ทำเฉย ๆ ไปเสีย
อันนี้ทำให้เรานึกถึงการฝึกจิตเลยนะ!!!
ทุกคนจะคิด พูด ทำ บน ประสบการณ์ที่เจอมาของตน ดังนั้น เราคงไปตัดสินว่าใครเป็นอย่างไรไม่ได้ ถูกหรือผิดก็ไม่ได้ เพราะเขาตัดสินและพิจารณาตามทรัพยากร หรือ เหตุการณ์ที่เขาเคยเจอมาเท่านั้น
นกคงไม่สามารถบอกได้ว่าในน้ำ มีสภาพเป็นอย่างไร?
ปลาเองก็คงไม่สามารถบอกได้ว่าบนท้องฟ้า มีสภาพเป็นเช่นไร?
ถ้าใครเคยเจอเหตุการณ์แบบนี้ จะนำแนวคิดนี้ไปใช้บ้าง ก็ได้นะ…
#เพจโค้ชสุนีย์ที่ปรึกษาการเงิน
#พู่สร้าง
#พู่คือพู่กัน
#สร้างคือสร้างแรงบันดาลใจ
#ถ้าเรื่องเหล่านี้ได้จุดประกาย สร้างแรงบันดาลใจให้ใครสักคน
ลุกขึ้นมาเปลี่ยนชีวิตตนให้ดีขึ้น
เมื่อนั้นก็ถือว่าพู่สร้างประสบความสำเร็จแล้ว
#ขอบคุณ ขอบคุณ ขอบคุณ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา