Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
B
Benjamin Jaris
•
ติดตาม
31 พ.ค. 2023 เวลา 03:00 • ประวัติศาสตร์
สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า
50 ปีสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า : สะพานเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ริมแม่น้ำเจ้าพระยา
ปี ค.ศ.2023 - พ.ศ. 2566 ถือเป็นปีที่ 50 ที่สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าทำหน้าที่เชื่อมโยงการสัญจรจากใจกลางพระนครสู่ฝั่งบางกอกน้อย แต่กว่าที่สะพานแห่งนี้ถือกำเนิด ที่ดินบริเวณสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง
พื้นที่เชิงสะพานสมเด็จพระปื่นเกล้าฝั่งพระนครเป็นปากคลองคูเมืองเดิม ที่ขุดมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี (1767-1782) มีสะพานเฉลิมสวรรค์ 58 ซึ่งเป็นสะพานชุด “เฉลิม” แห่งสุดท้ายที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นสะพานข้ามคลองเชื่อมถนนพระอาทิตย์เข้าด้วยกัน ปลายสะพานเป็นท่าเรือข้ามฟากไปยังฝั่งบางกอกน้อย ที่วัดดุสิดาราม
สะพานเฉลิมสวรรค์ 58
ส่วนฝั่งบางกอกน้อย ประกอบด้วยวัดต่างๆ เรียงรายตามแม่น้ำเจ้าพระยา วัดดุสิดาราม วัดภุมรินทร์ วัดน้อยทองอยู่ และวัดสามจีน (วัดจตุรมิตรประดิษฐาราม) มีท่ายายแล่ม ที่วัดดุสิดาราม ทำหน้าที่ขนส่งผู้คนสองฝั่งแม่น้ำ
แผนที่กรุงเทพมหานคร ช่วงทศวรรษที่ 1920 แสดงให้เห็นถึงที่ตั้งวัดน้อยทองอยู่
เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้น (1939-1945) วัดน้อยทองอยู่ และวัดสามจีน ได้รับความเสียหายจากการทิ้งระเบิด เนื่องจากอยู่ใกล้สถานีรถไฟธนบุรี ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ ทำให้ต้องควบรวมวัดน้อยทองอยู่ให้อยู่การดูแลของวัดดุสิดาราม
เมื่อมีการสร้างสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าขึ้นในปี ค.ศ.1971 จึงได้รื้อสะพานเฉลิมสวรรค์ 58 สร้างถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้าต่อจากถนนราชดำเนินใน เพื่อรองรับการจราจรบนฝั่งพระนคร ส่วนฝั่งบางกอกน้อยได้มีการปรับปรุงพื้นที่บริเวณวัดน้อยทองอยู่เดิม เพื่อเป็นถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า เหลือเพียงมณฑป 5 ยอดไว้เป็นอนุสรณ์ว่าครั้งหนึ่ง เคยเป็นที่ตั้งของวัดน้อยทองอยู่
สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าสร้างเสร็จและเปิดใช้งานเมื่อวันที่ 24 กันยายน ค.ศ.1973 สร้างโดยบริษัท โอบายาชิ-กูมิ จำกัด และ บริษัท สุมิโตโม คอนสตรัคชั่น จำกัดจากประเทศญี่ปุ่น สะพานแห่งนี้เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาในกรุงเทพมหานครที่มีลักษณะต่างจากสะพานพระราม 6 (1927), สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ (1932),สะพานกรุงธน (1957),สะพานกรุงเทพ (1959) ซึ่งเป็นโครงสะพานเหล็กหลายตอน แต่สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าไม่มีโครงเหล็ก ทำให้มองเห็นทัศนียภาพสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาได้อย่างชัดเจน
50 ปีผ่านไป สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้ากลายเป็นเส้นทางคมนาคมที่เชื่อมโยงคนกรุงเทพ, คนธนบุรี รวมไปถึงคนนครปฐมผ่านทางต่างระดับบรมราชชนนีในการประกอบต่างๆในชีวิตประจำวัน แม้จะมีสะพานพระราม 8 คอยแบ่งเบาภาระกราจรก็ตาม
ข้อมูล
https://readthecloud.co/wat-phumarin-ratchapaksi-wat-noi-thongyoo/
https://www.facebook.com/77PPP/posts/1369412586500240/
https://urbanally.org/article/The-Memoir-of-Bangkok-Noi
ประวัติศาสตร์
กรุงเทพมหานคร
ฝั่งธนบุรี
บันทึก
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า The Secong King of Siam
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย