3 มิ.ย. 2023 เวลา 12:10 • ประวัติศาสตร์

ย้อนรอย ‘จีน’ มหาอำนาจผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกมาโดยตลอด

เมื่อโลกก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 มหาอำนาจอย่างสหรัฐฯ เริ่มสั่นคลอนจากการก้าวขึ้นมาของจีนในทุกด้านไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ นวัตกรรม เทคโนโลยี เราจะเห็นได้จากข่าวหลายสำนักต่างพาดหัวข่าว “จีนแซงหน้าสหรัฐฯ …” เราจึงมักเห็นการตอบโต้กันไปมาระหว่างสองฝ่ายนี้อยู่เนือง ๆ
แต่ก็มีการถกเถียงกันว่า แท้จริงแล้วในประวัติศาสตร์จีนก็มีศักยภาพในการเป็นมหาอำนาจเช่นเดียวกัน และนี่ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่กลับไปสู่ความยิ่งใหญ่อย่างที่จีนเคยเป็น
Bnomics วันนี้จึงพาย้อนกลับไปยังเส้นทางต่าง ๆ ในอดีตของจีนที่บ่งบอกว่าจีนเคยเป็นมหาอำนาจในบทบาทโลกมาแล้ว
⭐️ ‘การค้า’ ทำให้จีนร่ำรวยมั่งคั่ง
1
หนึ่งในขุมพลังอำนาจสำคัญของจีนคือ ‘การค้า’ และสินค้า 3 อย่างที่เป็นที่ต้องการไปทั่วโลก ได้แก่ ไหมพรม เครื่องเคลือบด้วยหินโบราณ และชา โดยเฉพาะชาที่เป็นที่ต้องการจนถูกระบุให้เป็นสินค้าที่ค้าขายกันทั่วโลกในศตวรรษที่ 18
1
การค้าทำให้จีนรวยเป็นล่ำเป็นสัน โดยเฉพาะในช่วงศตวรรษที่ 17 จีนได้รับแร่เงินของโลกไปอย่างมหาศาลจากการปฏิเสธไม่ค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าชนิดอื่น แต่รับเพียง ‘แร่เงิน’ เท่านั้น ดังนั้น หากใครอยากซื้อสินค้าจีนก็ต้องเอาเงินมาแลกเพราะเงินเท่านั้นที่ knock everything
3
ไม่นานโลกก็ต้องเผชิญกับการขาดแคลนแร่เงินเพิ่มมากขึ้น ซึ่งนำไปสู่การเกิดสงครามฝิ่นและการล่มสลายของราชวงศ์ชิงในศตวรรษที่ 19 ซึ่งถือเป็นยุคทองครั้งสุดท้ายของจีน ตามด้วยการเกิดสนธิสัญญาไม่เท่าเทียมอย่างการให้สัมปทานการปกครองดินแดน เช่น ฮ่องกง
1
⭐️ การ ‘ผลิตสินค้าและนวัตกรรม’ จีนรุดหน้ามาแต่ไหนแต่ไร
1
หากพิจารณาความเป็นมหาอำนาจจากการผลิตสินค้าและอุตสาหกรรม ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าจีนครองตำแหน่งนี้มาอย่างช้านาน
ยกตัวอย่างสินค้าระดับโลกอย่าง ‘ชา’ มีงานวิจัยวิเคราะห์สารชีวโมเลกุลของซากพืชค้นพบว่าชาวจีนดื่มชามาตั้งแต่ศตวรรษที่ 1 ในสมัยราชวงศ์ฮั่นและมีการแลกเปลี่ยนชาตามเส้นทางสายไหมไปยังทิเบตตะวันตก ความนิยมและการส่งออกชาไปยังภูมิภาคต่าง ๆ พุ่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งศตวรรษที่ 18 ชาที่ผลิตในจีนกลายเป็นสินค้าสากลที่มีการซื้อขายในปริมาณมหาศาลทั่วโลก ซึ่งการผลิตเพื่อตอบอุปสงค์ของตลาดโลกก็บ่งบอกศักยภาพในการเป็นมหาอำนาจของจีนอย่างไม่มีใครเทียบ
2
อีกหนึ่งสินค้าสำคัญของจีนคือ ‘เครื่องเคลือบดินเผา’ ซึ่งได้รับความนิยมมากในชาวตะวันตกโดยรับรู้กันว่าจีนเป็นแหล่งกำเนิดเครื่องปั้นเดินเผาประเภทนี้ ถึงแม้ว่าเครื่องปั้นดินเผาใช้ไฟต่ำอย่าง earthenware and stoneware จะถูกผลิตในที่อื่น ๆ ทั่วโลก
1
แต่จีนเป็นประเทศเดียวที่ดินเหนียวสามารถทนต่ออุณหภูมิการเผาสูงกว่า 1,300°C ทำให้ตัวดินเผามีความแข็งแรงคงทนและลักษณะคล้ายแก้วที่รู้จักกันในชื่อ ‘พอร์ซเลน’ โดยจีนมีการผลิตเซรามิคพวกนี้ส่งออกทั้งตลาดในและนอกประเทศตั้งแต่ศตวรรษที่ 9 จนกระทั่งในศตวรรษที่ 13 เซรามิกลายสีขาว-น้ำเงินถูกส่งออกไปยังยุโรปตลาดเดียวหลายล้านชิ้น
1
นอกจากนี้ จีนยังเป็นเจ้าของ 4 สิ่งประดิษฐ์สำคัญของโลกคือกระดาษ แท่นพิมพ์ เข็มทิศ และดินปืน กลายเป็นนวัตกรรมที่ส่งอิทธิพลต่อโลกจนถึงปัจจุบัน อีกแง่มุมหนึ่งก็สะท้อนถึงอารยธรรมและความก้าวหน้าของสังคมจีนโบราณที่ไม่แพ้ชาวตะวันตก
4
ด้วยเหตุผลเหล่านี้ก็อาจพอบ่งบอกได้ว่าจีนเป็นมหาอำนาจระดับโลกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดได้เช่นกัน
⭐️ กว่า ‘สองสหัสวรรษ’ ที่จีนครอบงำความคิด จิตวิญญาณแห่งเอเชียตะวันออก
การครอบครองดินแดนไม่ใช่เพียงปัจจัยเดียวที่จะทำให้กลายเป็นมหาอำนาจ เช่นเดียวกับการที่สหรัฐอเมริกาเป็นมหาอำนาจได้ส่วนหนึ่งเป็นเพราะภาษาสากลแรกของโลก คือ ภาษาอังกฤษ ในขณะที่จีนแตกต่างออกไป หากมองย้อนกลับไปจะเห็นได้ว่าจีนมีอิทธิพลในการครอบงำความคิดในเอเชียตะวันออกและเอเชียกลางกว่าสองพันปี ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย เวียดนาม ลาว หรือแม้แต่ไทยเองก็ได้รับอิทธิพลจากจีนไม่มากก็น้อย
3
หากถามว่าจีนเคยเป็นมหาอำนาจไหม? คนจีนหลายคนอาจตอบว่าในสมัยราชวงศ์ถังเป็นช่วงเวลาที่จีนเข้านิยามมากที่สุดเพราะสามารถรวมดินแดนหลายแห่งเป็นปึกแผ่น และสร้างอิทธิพลต่อรัฐโดยรอบเอเชียกลางจนจักรพรรดิจีนได้รับสมญานามว่า ‘ข่าน’ หรือแม้แต่อาณาจักรญี่ปุ่นที่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของจีนก็ได้รับอิทธิพลจากภาษา ศาสนา และหลักคิดจากจีนมาอย่างเข้มข้นเช่นเดียวกัน
1
อย่างไรก็ตาม มีการถกเถียงมากว่ายุคสมัยที่จีนเป็นมหาอำนาจมากที่สุดคือราชวงศ์หยวน (ค.ศ. 1271–1368) ซึ่งเป็นยุคสมัยที่ชาวมองโกลเข้ายึดครองจีนนำโดยกุบไลข่าน ถึงแม้เขาจะไม่ใช่ชาวจีนแต่ก็นำแนวความคิดแบบขงจื๊อตามประเพณีจีนดั้งเดิมมาใช้ในการปกครองจีนหลังจากนั้นกว่า 100 ปี สะท้อนว่าวิถีชีวิตและความคิดปรัชญาขงจื๊อจีนได้ส่งอิทธิพลไปยังชาวมองโกลและแม้แต่กับนักพิชิตผู้ยิ่งใหญ่อย่างข่านก็ยังได้รับอิทธิพลจากแนวคิดจีน
เป็นไปได้ว่าการที่จีนพยายามสร้าง ‘เส้นทางสายไหมใหม่’ ในศตวรรษนี้ผ่านการลงทุนระหว่างประเทศในแอฟริกาและเอเชีย อาจเป็นการสร้างอิทธิพลของตนเองในบทบาทใหม่ของโลกก็เป็นได้
2
ผู้เขียน: ขัตติยาภรณ์ ด้วงแก้ว Political Analyst, Bnomics
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
Sources:

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา