16 ก.ค. 2023 เวลา 13:10 • สุขภาพ

อย่าให้ชีวิตปั่นป่วน เพราะลำไส้แปรปรวน

จากบทความตอนที่แล้วได้เกริ่นเรื่องของโรคลำไส้แปรปรวนมาบ้างแล้วนะคะ วันนี้เราจะเข้าเนื้อหาเรื่องของการรักษา เลยค่ะ อย่ารอช้า☺😊
⭐การรักษาโดยไม่ใช้ยา
1.ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น
-อาหาร เพิ่มกากใยอาหารในคนท้องผูก ดื่มน้ำให้มากขึ้น
-พักผ่อนให้เพียงพอ
-ไม่กลั้นอุจจาระ ฝึกถ่ายให้เป็นเวลา
-หลีกเลี่ยง อาหารที่กระตุ้นให้เกิดอาการ โดยอาจจะต้องลองสังเกตุดู เช่น ของทอด หรือบางคนกินนมแล้วท้องเสีย
-หลีกเลี่ยงยาบางชนิด
-ออกกำลังกาย ช่วยลดความเครียด
-การหาวิธีลดความเครียด อื่นๆ เช่น การนั่งสมาธิ โยคะ ช่วยทำให้ อาการผู้ป่วยโรคนี้ดีขึ้นได้
-แพทย์ทางเลือก เช่น การฝังเข็ม แพทย์แผนไทย แต่อย่ามาให้แนะนำว่าที่ไหนนะคะ 555 มินนี่ก็ไม่ทราบเหมือนกัน เพียงแต่คิดว่า เป็นทางเลือกที่น่าสนใจเหมือนกันคะ
.
.
⭐การรักษาโดยการใช้ยา จะเป็นการรักษาโดยใช้ยาตามอาการที่ผู้ป่วยเป็นนะคะ
.
🔹ชนิดที่มีอาการท้องผูก เด่น
.
** ทางเลือกที่ 1-ใช้ยาระบายกลุ่มเพิ่มกากใยอาหาร เช่น Fiber
.
** ทางเลือกที่ 2-ใช้ยาระบายกลุ่มอื่น osmotic laxative เช่น lactulose ซึ่งดูดน้ำเข้ามาที่โพรงลำไส้เล็ก ทำให้อุจจาระนุ่ม และเพิ่มการเคลื่อนตัวของลำไส้เล็ก
.
** ทางเลือกที่ 3 ยากลุ่มใหม่ เช่น
.
-Prucalopride ออกฤทธิ์โดย กระตุ้นตัวรับซีโรโทนิน ที่ระบบทางเดินอาหาร ทำให้ลำไส้บีบตัว
.
-Lubiprostone กระตุ้นให้มีการหลั่งน้ำเข้าสู่โพรงลำไส้ จึงช่วยกระตุ้นให้ลำไส้บีบตัวเร็วขึ้นถ่ายอุจจาระได้ง่ายขึ้น
.
-Linaclotide ออกฤทธิ์โดยการกระตุ้นการขับน้ำของสำไส้ ทำให้ลำไส้เคลื่อนไหวมากขึ้น และลดการทำงานของระบบประสาท ที่ทำให้รู้สึกปวด
.
🔹กลุ่มท้องเสีย เด่น
** ทางเลือกที่ 1
ยาหยุดถ่าย กลุ่มที่ออกฤทธิ์ลดการเคลื่อนไหวของลำไส้ เช่น Loperamide ครั้งละ 2-4 mg สามารถเพิ่มได้ถึงวันละ 4 ครั้งต่อวัน ขนาดยาสูงสุดคือ 16 มิลลิกรัม
.
** ทางเลือกที่ 2 ในผู้ป่วยที่มีอาการซึมเศร้าวิตกกังวล หรือ ตื่นตระหนกร่วมด้วย
.
พิจารณาให้ยาต้านการซึมเศร้า กลุ่ม TCA ( Tricyclic antidepressant )
โดยใช้ในขนาดยา ที่ต่ำกว่าขนาดที่ใช้ในการรักษาโรคซึมเศร้า เช่น nortryptyline 25-75 มิลลิกรัมต่อวันหรือ amitryptyline 10-50 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งยาในขณะดังกล่าวมีส่วนช่วยลดอาการปวดด้วย
.
อาการข้างเคียง เช่น มึนงง ปากแห้ง คอแห้งตาพร่า ท้องผูกได้
.
หรือยาต้านซึมเศร้า กลุ่ม SSRI เช่น Fluoxetine ในขนาด 10 ถึง 20 มิลลิกรัมต่อวันรับประทานตอนเช้า เป็นระยะเวลาการรักษา 4-6 สัปดาห์
อาการข้างเคียง เช่น มึนงง เวียนศีรษะ หรือการมองเห็นไม่ชัดเจน
.
**ทางเลือกที่ 3
ยากลุ่มใหม่ เช่น Alosetron ลดการเคลื่อนไหวของลำไส้ใหญ่ เพิ่มการดูดซึมกลับของโซเดียม และลดการคัดหลั่งสารในลำไส้
❗แต่เนื่องจากยาอาจทำให้เกิดภาวะลําไส้ใหญ่ขาดเลือดได้จึงห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการท้องผูก เนื่องจากท่อลำไส้อุดกั้น หรือมีภาวะลิ่มเลือดอุดตัน ต้องหยุดใช้ทันที หรือใช้ในขนาดสูงสุดต่อวัน แล้วยังไม่ได้ผล ก็ควรหยุดเช่นกันคะ
🔹กลุ่มอาการปวดเกร็ง เด่น
**ทางเลือกที่ 1 ยาลดการเคลื่อนไหวบริเวณกระเพาะและลำไส้ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ดังนี้นะคะ
🔹🔹กลุ่มยาที่ใช้ยับยั้งการเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหารและลำไส้
จะมีฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งกรด รวมทั้งมีฤทธิ์ลดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อเรียบอื่นๆได้แก่ hyoscine,hyoscyamine,docyclomine
อาการข้างเคียง เช่น ปากแห้ง คอแห้ง ตาพร่าใจสั่น ท้องผูกได้
🔸🔸 ยาแก้เกร็ง ลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อเรียบโดยตรง เช่น mebeverine , alverine
ทำให้เกิดการคลายตัวของกล้ามเนื้อเรียบท่อทางเดินอาหาร ลดอาการปวดเกร็ง ไม่มีผลต่อการเคลื่อนไหวของลำไส้ และ ไม่ก่อให้เกิดอาการพึงประสงค์เหมือนยาในกลุ่มแรก
ทางเลือกที่ 2
ยาในกลุ่มต้านซึมเศร้า TCA ที่กล่าวถึงก่อนหน้านี้ ในขนาดต่ำๆ
ตัวอย่างยากลุ่มอื่นที่นำมาใช้บรรเทาอาการปวดเกร็งท้องได้แก่
1.peppermint oil มีผลยับยั้งการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบ ทางเดินอาหาร บรรเทาอาการ ปวดไม่สบายท้องแน่น ท้องขับลม และลดความถี่ในการขับถ่ายอุจจาระ
2. เอนไซม์ช่วยย่อย
3 simethicone ลดแกสในทางเดินอาหาร
4 โปรไบโอติก กลุ่ม acidophilus และ lactobacillus ช่วยให้ปรับสมดุลของเชื้อในลำไส้และลดแก๊ส
คนที่เป็นลำไส้แปรปรวน น่าจะพอเข้าใจดีอยู่ว่า โรคนี้มีผลรบกวนชีวิตประจำวันของเรา แต่ไม่ได้เป็นโรคที่ร้ายแรงอะไรนะคะ เพียงแต่ต้องเข้าใจอาการของโรคที่เป็น และลองหาสาเหตุที่เกิดดู
.
ปัจจัยสำคัญคือ การปรับพฤติกรรม ของเราเองในการใช้ชีวิต และการลดความเครียดโดยวิธีต่างๆก็จะช่วยให้อาการของโรคดีขึ้นได้ค่ะ เพราะการใช้ยา อาจจะช่วยบรรเทาอาการได้ แต่เมื่อไหร่ที่มีปัจจัยมากระตุ้น อาการก็อาจจะกำเริบขึ้นมาได้อีก
วันนี้มินนี่จึงขอจบบทความ 2 ตอน ของลำไส้แปรปรวนแต่เพียงเท่านี้คะ
"อย่าให้ชีวิตปั่นป่วนเพราะลำไส้แปรปรวนค่ะ"
.
.
#เรื่องเล่าจากห้องยา
#ลำไส้แปรปรวน
มีคำถามหรืออยาก#ปรึกษาทิ้งคำถามไว้ใน comment หรือ inbox ได้คะ
ข้อมูลอ้างอิง
1 บทความเภสัชบำบัดในโรคระบบทางเดินอาหารส่วนปลายโดย ร.ศ. ดร.สิริมา มหัทธนาดุลย์ หน้า 26-30
.
2. การจัดการภาวะท้องผูกเรื้อรังสำหรับเภสัชกรชุมชน โดย อาจารย์ถนอมพงศ์เสถียรลักขนา และอาจารย์เฉลิมศรี ภุมมางกูร

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา