25 ส.ค. 2023 เวลา 11:10 • ท่องเที่ยว
โตเกียว

ออกไปแตะขอบฟ้าให้ราเมงที่ญี่ปุ่นเยียวยา EP5: กลับสู่จุดเริ่มต้น..แห่งแรงบันดาลใจ

ในการจะทำความเข้าใจงานศิลปะหรือชิ้นงานใดๆสักชิ้นหนึ่ง หากจะเข้าให้ถึงแก่น การตามไปให้ถึงต้นสายหรือต้นทางของงานนั้นๆก็เป็นสิ่งที่ควรตามไปศึกษาและทำความเข้าใจครับ
สำหรับราเมงในสายน้ำใส ถ้าจะว่ากันถึงบุคคลที่มีอิทธิพลสูงสุดต่อเชฟยุคปัจจุบัน ก็คงจะหนีไม่พ้น "ปีศาจราเมง" เชฟ Sano Minoru ครับ ดังนั้น บินมาทาน Shoyu Ramen ถึงญี่ปุ่นทั้งที วางแผนทานร้านที่เป็นสาย Modern ก็เยอะ ถ้าจะไม่ไปลองสาย Old School เพื่อให้เข้าใจต้นทางและแรงบันดาลใจด้วย มันก็เหมือนจะมาไม่ถึงเท่าไหร่ครับ
เชฟ Sano Minoru ฉายา "ปีศาจราเมง"
จากการปรึกษาพี่โจในช่วงวางแผน ฝั่ง Old School พี่โจแนะนำเป็น Ramen Sugimoto ซึ่งเป็นร้านของลูกศิษย์ที่ยึดแนวทางรสชาติแบบเดียวกับที่เชฟ Sano ทำครับ ในขณะที่ Shina Sobaya ที่เป็นร้านดั้งเดิมของเชฟ Sano เองนั้นได้ถูกปรับสูตรไปแล้วหลังจากที่เชฟ Sano ได้เสียชีวิตไป ถ้าจะทานให้ได้รสที่ใกล้เคียงที่สุดก็ควรไปที่ Ramen Sugimoto ครับ
แต่ก่อนที่จะไป Ramen Sugimoto ในช่วงเช้าผมมีโปรแกรมไปแวะที่โซน Kawasaki ก่อนครับ พอเสร็จธุระแล้วก็ต้องหามื้อเที่ยงไว้เติมพลังเสียหน่อย… และแน่นอนครับว่าคงจะหนีไม่พ้น”ราเมง” ฮา
เดิมทีผมชั่งใจอยู่ครับว่า ช่วงเวลาตอนบ่ายจะเพียงพอกับการไปแวะที่ Shin-Yokohama Ramen Museum หรือไม่ เพราะต้องเผื่อเวลากิน เวลาเดินทางเปลี่ยนรถไฟด้วย สุดท้ายก็เลยตัดใจไม่แวะที่ Ramen Museum แล้วหาร้านทานในตัวเมือง Kawasaki แทนครับ
แพลนเดิมของวันนี้ (8 กรกฎาคม)
เช้านี้มาแวะที่ Kawasaki ก่อนครับ
ในตัวเมือง Kawasaki จากที่เดินดูร้านราเมงทั่วๆไป จะเน้นไปทางสาย Yokohama Iekei ครับ น่าจะด้วยความที่ไม่ได้ไกลจากตัวเมือง Yokohama นัก ก็เลยจะหาสายนี้ได้ง่าย
ปูพื้นให้เล็กน้อย ราเมงสไตล์ Yokohama Iekei จะเรียกว่าเป็นราเมง Generation 2.0 ซึ่งเป็นลูกผสมระหว่างเบสหมูข้นๆแบบ Hakata Tonkotsu กับ เบสไก่ใสๆแบบ Kitakata Shoyu ใน Generation 1.0 ครับ โครงสร้างของซุปจะ complex ขึ้นเล็กน้อย ยังคงมีความหนาข้นแบบบอดี้ของ Tonkotsu แต่มีบอดี้ใสแบบไก่มาผสม ส่วน topping ที่เป็น signature จะเป็นผักโขมกับไข่นกกระทาครับ
ซึ่งร้านที่ผมเข้าไปทานชื่อว่า Takematsuya ครับ เน้นง่ายไม่มีคิวหน้าร้าน
ตำแหน่งร้าน เดินมาจากสถานีนิดเดียวครับ
เวลาเข้าไปก็กดตู้เหมือนเดิม ส่วนรสชาติเข้มข้นตามมาตรฐานของสไตล์ Iekei ครับ แต่ข้อสังเกตคือ ชาวญี่ปุ่นที่ทานในร้านนี้แทบทุกคนจะสั่งข้าวเพิ่ม 1 ถ้วย ซึ่งผมเองมิบังอาจครับ ขนาดทานไซส์ปกติก็ว่าอิ่มแล้ว ไม่สามารถสู้ได้มากกว่านี้จริงๆ
ค่อยๆทานไปทีละส่วน ไล่จากซุป เส้น ท็อปปิ้ง แล้วค่อยเติมกระเทียมสับเข้าไปช่วงหลังเพื่อเพิ่มความเข้มข้นครับ
หมดเกลี้ยงชามตามท้องเรื่อง
หลังจากนั้นก็เดินสำรวจแถวละแวกสถานี JR Kawasaki เล็กน้อยก่อนครับ แล้วผมก็เจอโซนร้านราเมงอยู่ในชั้นใต้ดินของห้าง atre Kawasaki โดยบังเอิญครับ
ทำไมไม่เจอให้เร็วกว่านี้ ;-;
ในบรรดาร้านที่อยู่ตรงนี้ มี Nantsuttei ที่เคยเปิดสาขาอยู่ที่พารากอนด้วยนะครับ
สุดท้ายก็ได้แค่เก็บไว้เผื่อได้มาแถวนี้อีกครับ เป้าหมายหลักยังเป็นที่ Sugimoto เหมือนเดิม เราจะไม่ยอมโดนตัดกำลังเป็นอันขาด (ฮา)
จาก Kawasaki ไปยัง Ramen Sugimoto ที่สถานี Aobadai จะต้องนั่งรถไฟ 2 ต่อครับ ใช้เวลาราวๆ 1 ชั่วโมงครับ
มาลงที่ Musashi-Mizonokuchi ก่อนเพื่อเปลี่ยนสายครับ
เปลี่ยนเข้า Den-en-toshi Line
สถานีปลายทาง Aobadai ครับ
หลังจากนั้นก็เดินตาม Google Maps มาไม่นานนัก ก็จะมาถึงที่หน้าร้านครับ
บรรยากาศระหว่างเดินไปที่ร้านครับ
มาถึงหน้าร้านแล้วครับ
ณ เวลา 17.50 มีคนรออยู่ 4 ที่ครับ
ป้ายรายละเอียดการต่อคิวครับ
มีรูปของเชฟ Sano เพื่อเป็นการแสดงความเคารพด้วยครับ
เมื่อถึงเวลาก็เข้ามาสั่งที่ตู้ และจัดไปกับ Tokusei Shoyu Ramen ครับ
มาเสิร์ฟแล้วครับ เครื่องจัดเต็ม และชามใหญ่มาก
ซุปโชยุที่มีกลิ่นขิงกับกระเทียมแทรกขึ้นมาบางๆ ให้ความรู้สึก Old School ต่างจากหลายๆชามที่ได้ทานในทริปนี้ครับ
เส้นมีความลื่น ซู้ดง่าย แต่ไม่ได้ถึงขั้นหนึบและยืดได้แบบ Iida Shoten
หมูที่เสิร์ฟมามี 2 แบบ แบบแรกนี่สามารถเรียกได้ว่าเป็น"หมูแดง"เลยครับ แต่เป็นหมูแดงที่อร่อย
หมูชาชูอีกแบบที่เป็นชาชูแบบต้มทั่วไปครับ มีความนุ่ม ปรุงรสมาดี
ท็อปปิ้งอื่นๆ ทั้งหน่อไม้ เกี๊ยว ไข่
เรียบร้อยครับ แต่เล่นเอาเกือบท้อเหมือนกัน
ถือว่าวันนี้ประสบความสำเร็จระดับหนึ่งครับ แม้จะไม่ได้ไปที่ Ramen Museum แต่ก็ได้มาที่ Ramen Sugimoto ได้เข้าใจ Character และความอร่อยในแบบ Old School หรือจะเรียกว่าเป็นความอร่อยของยุคก่อนหน้าก็ไม่ผิดครับ
ซึ่งรสชาติแบบนี้อาจจะถูกใจหรือไม่ถูกใจแต่ละท่านก็ได้ ไม่มีถูกผิด แต่ถ้าเป็นไปได้ ถ้ามีเวลาก็อยากให้มาลองกันครับ เป็นอีกร้านที่ถือว่าเปิดโลกและช่วยให้เข้าใจราเมงได้มากขึ้นจริงๆ (โปรดติดตามใน EP ต่อไป...)
โฆษณา