8 ก.ย. 2023 เวลา 01:35 • หุ้น & เศรษฐกิจ

ทำไม Robotic ถึงจะยังคงเป็นสิ่งสำคัญ และบริษัทในอุตสาหกรรมนี้จะยังเติบโตต่อไป

ทำไมวิทยาการหุ่นยนต์ถึงจะกลายเป็น "พลังแห่งการเปลี่ยนแปลง" และขับเคลื่อนนวัตกรรมทั่วโลกร่วมกับปัญญาประดิษฐ์ (AI)
วิทยาการหุ่นยนต์ หรือ Robotic เป็นเทคโนโลยีที่มีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน
เห็นได้จากการนำหุ่นยนต์มาใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นภาคการผลิต ภาคบริการ ภาคการเกษตร และภาคอื่นๆ อีกมากมาย
เราเลยจะพาเพื่อนๆ มาสำรวจเหตุผลที่ว่าทำไมเทคโนโลยี "หุ่นยนต์" จะยังคงเป็น "สิ่งที่ขาดไม่ได้" และเหตุผลที่บริษัทต่างๆ ในอุตสาหกรรมนี้ยังคงอยู่ในตำแหน่งที่สามารถเติบโตได้ต่อไปในอนาคต
  • เริ่มต้น
ในภาพใหญ่นั้นสิ่งที่จะอธิบายความสำคัญของวิทยาการหุ่นยนต์ได้ดีและ "สมเหตุสมผลที่สุด"
ก็คือ "ประชากรศาสตร์"
อย่างที่หลายๆ คนทราบว่าประชากรศาสตร์นั้น มีความสำคัญต่อโลกเราและระบบเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก
ไม่ว่าจะเป็นกำลังแรงงาน รูปแบบการบริโภค การลงทุน การทำธุรกิจ การวางแผนเศรษฐกิจระยะยาว เทคโนโลยีและนวัตกรรม ระบบราชการ ระบบเงินบำเหน็จบำนาญ และอีกมากมาย
แต่ว่าสิ่งที่สำคัญอย่างเรื่องประชากรศาสตร์นี้ กำลังประสบกับความท้าทายด้าน "อัตราการเกิดใหม่" ของประชากรโลก และเพื่อให้เพื่อนๆ มองเห็นภาพเลยจะลงลึกให้มากขึ้นกัน
จากการรายงานผลสำรวจของ Our World In Data
แผนภูมิที่สองแสดงจำนวนการเกิดต่อปีตามภูมิภาคของโลกตั้งแต่ปี 1950 ถึง 2021
จากแผนภูมิที่แสดงไว้ข้างต้นพบว่า ในหลายช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ประชนกรของโลกเรานั้น "เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว" ตั้งแต่ในช่วงทศวรรษที่ 90 หลังการเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง
โดยมีประชากรเพิ่มขึ้นจาก 92.08 ล้านคนในปี 1950 เป็น 133.99 ล้านคนในปี 2022
แต่จะเห็นได้ว่า เราเริ่มเห็นการชะลอตัวลงของจำนวนประชากรในหลายภูมิภาค และเริ่มที่จะ "ลดลงอย่างชัดเจน" โดยเฉพาะฝั่งทวีปเอเซียในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นทวีปที่กินสัดส่วนประชากรมากที่สุด
ซึ่งสอดคล้องกับสิ่งนี้
แผนภูมิที่สองแสดงจำนวนผู้เสียชีวิตประจำปีตามภูมิภาคของโลกตั้งแต่ปี 1950 ถึง 2021
จากแผนภูมิที่แสดงไว้ข้างต้น บ่งบอกถึง "อัตราการเสียชีวิตต่อปี" ของประชากรโลก ซึ่งเริ่มมีแนวโน้มที่มากขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ช่วงก่อนทศวรรษที่ 20 เป็นต้นมา และมีการ "ดีดตัวสูงชั่วคราว" จากวิกฤตโรคระบาด Covid-19
โดยตามรายงานมีจำนวนประชากรที่เสียชีวิตทั่วโลกในปี 2022 อยู่ที่ 67.1 ล้านคน
จากการคาดการณ์ "อัตราการเกิดใหม่" และ "อัตราการเสียชีวิต" ของประชากรโลก โดย United Nations, World Population Prospects (2022)
การเกิดใหม่ต่อปี
การเสียชีวิตต่อปี
จากแผนภูมิการคาดการณ์ที่แสดงไว้ข้างต้น พวกเขากำลังบอกเราว่า "เมื่อจำนวนผู้เสียชีวิตเข้าใกล้จำนวนการเกิด การเติบโตของประชากรโลกจะสิ้นสุดลง"
การคาดการณ์จำนวนประชากรนี้ แสดงให้เห็นว่าจำนวนการเกิดต่อปีจะยัง "คงอยู่"
ที่ประมาณ 130 ถึง 140 ล้านคนต่อปี ในช่วงหลายทศวรรษข้างหน้า
และคาดว่าจะ "ลดลงอย่างช้าๆ" ในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษนี้ ในขณะที่ประชากรโลกมีอายุมากขึ้น จำนวนผู้เสียชีวิตต่อปี คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทศวรรษต่อๆ ไป
จนกว่าจะมีอะไรก็ตามที่ช่วยเป็น "แรงผลักดัน" ให้จำนวนการเสียชีวิตต่อปี "ห่างออกจาก" จำนวนการเกิดใหม่ต่อปีอีกครั้ง
ถึงแม้เทคโนโลยีทางการแพทย์จะมีการพัฒนาอยู่เรื่อยๆ แต่เราปฏิเสธไม่ได้ว่า "การรักษาที่มีประสิทธิสูงนั้นยังคงเป็น "อภิสิทธิ์" สำหรับผู้ที่มีรายได้สูงร่ำรวย
สำหรับคนธรรมดาทั่วไปแล้ว พวกเขายังไม่สามารถเข้าใกล้ เทคโนโลยีทางการแพทย์ขั้นสูงเหล่านั้นได้
จึงจำเป็นต้องคอยติดตามต่อไปว่า ต้นทุนทางการแพทย์จะมีแนวโน้มลดลงได้ขนาดไหน หากเทคโนโลยีพัฒนาขึ้น
จากที่กล่าวมานี้เพื่อนๆ บางคนอาจจะเข้าใจความสำคัญของประชากรศาสตร์กันมากขึ้น
งั้นเรามาต่อกันที่ว่า ในเชิงธุรกิจและการลงทุนแล้ว นอกจากเรื่องประชากรศาสตร์แล้ว
มีปัจจัยอะไรอีกมั้ยที่ทำให้อุตสาหกรรมวิทยาการหุ่นยนต์ จะยังคงสามารถเติบโตต่อไปได้ในอนาคต
  • ระบบอัตโนมัติและประสิทธิภาพด้านต้นทุน
ในสภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีการแข่งขันสูงขึ้น บริษัทต่าง ๆ ต่างแสวงหาวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและลดต้นทุนไปพร้อมๆกัน วิทยาการหุ่นยนต์จึงได้กลายเป็นตัวเปลี่ยนเกมในเรื่องนี้
ด้วยการเปลี่ยนงานประจำเป็นอัตโนมัติ หุ่นยนต์ไม่เพียงแต่จะเพิ่มผลผลิต แต่ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการที่ใช้แรงงานด้วย
ส่งผลให้บริษัทต่างๆ สามารถจัดสรรทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งนำไปสู่การปรับปรุงอัตรากำไรและสถานะทางการเงินโดยรวม
ตัวอย่างเช่น
บริษัท Amazon ที่ได้เริ่มเปลี่ยนกระบวนการจัดส่งสินค้าของตนเป็นแบบอัตโนมัติมากขึ้น ทำให้บริษัทสามารถลดต้นทุนแรงงานและยังมั่นใจได้อีกว่าการจัดส่งสินค้า นั้นจะมีความคล่องตัวและการดำเนินการที่สูงและคุ้มค่า
  • ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้ต้นทุนของการเริ่มต้นนั่นลดลง
ความต้องการด้านแรงงานที่มากขึ้น จากการบริโภคที่สูงขึ้นในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมานั้นเป็น "แรงผลักดัน" เร่งให้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีหุ่นยนต์
ทำให้เมื่อบริษัทต่างๆ ต้องการลงทุนในวิทยาการหุ่นยนต์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการดำเนินงาน
พวกเขาสามารถลงทุนได้ "ถูกกว่า" ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาและยังได้เทคโนโลยีที่ทันสมัยขึ้นด้วย
ตัวอย่างเช่น
ข้อมูลของ Statist พบว่าต้นทุนของหุ่นยนต์ในอุตสาหกรรม นั้นปรับตัวลดลงจาก 68,659 ดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2005 เหลือเพียง 27,074 ดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2017 และคาดว่าจะลดลงเหลือ 10,856 ในปี 2025
  • การสร้างงานและการยกระดับทักษะ
อุตสาหกรรมหุ่นยนต์นั้นส่งเสริมการสร้างงาน และโอกาสในการยกระดับทักษะการดำเนินงานในบริษัท
เพราะในบางรูปแบบงานนั้น มนุษย์ไม่สามารถที่จะทำงานได้หรือมีความเสี่ยงมากเกินไป หากใช้แรงงานมนุษย์ในงานภาคส่วนนั้นๆ
ทำให้วิทยาการหุ่นยนต์จึงสามารถ "ตอบโจทย์ได้มากกว่า" แรงงานมนุษย์
ตัวอย่างเช่น
ในอุตสาหกรรมผลิตชิป เช่น บริษัท ASML ได้มีการนำวิทยาการหุ่นยนต์มาใช้ในการจัดการแผ่นเวเฟอร์ ตรวจสอบข้อบกพร่องแผ่นเวเฟอร์ คลีนรูม และอื่นๆ
ซึ่งภาคส่วนงานเหล่านี้ต้องการความแม่นยำ ความละเอียดอ่อนที่สูง การนำหุ่นยนต์มาใช้สามารถลดความเสี่ยงในการดำเนินงานที่อาจเกิดขึ้นได้ เป็นอย่างมากในภาคส่วนนี้
โดยภาพรวม แรงผลักดันในภาพใหญ่ที่อุตสาหกรรมวิทยาการหุ่นยนต์ได้รับ นั้นมาจากความท้าทายด้านประชากรศาสตร์
ซึ่งไม่เพียงแต่มาทดแทนแรงงานมนุษย์ในวัยทำงาน ที่มีแนวโน้ม "ลดลง" ในอนาคต แต่แรงผลักดันที่เกิดขึ้นนี้ยังส่งเสริมให้ "ต้นทุน" ของการเปลี่ยนมาใช้แรงงานหุ่นยนต์ "ลดลง" เมื่อเทียบกับประสิทธิภาพของมันแล้วจึงถือว่า "คุ้มค่า"
บริษัทต่างๆ จึงเริ่มยอมรับและมีแนวโน้มที่จะเริ่มนำมาใช้และลงทุนด้านวิทยาการหุ่นยนต์กันมากขึ้น ร่วมกับเทรนแห่งอนาคตอย่างปัญญาประดิษฐ์ (AI)
ข้อมูลจาก Fmi และ statist กล่าวว่าเฉพาะในตลาด "หุ่นยนต์อุตสาหกรรม" ของทั่วโลกปัจจุบันมีมูลค่าอยู่ที่ 39 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 40% ของตลาดเทคโนโลยีหุ่นยนต์ทั้งหมด และคาดว่ามูลค่าของหุ่นยนต์อุตสาหกรรมจะสูงขึ้นถึง 220 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2033
อย่างไรก็ตาม วิทยาการหุ่นยนต์ หรือ Robotic นั้นไม่ได้มีบทบาทแค่ในเชิงธุรกิจ ยังมีบทบาทในเรื่องสุขภาพ ความมั่นคงของชาติ การศึกษา การเงิน ชีวิตประจำวัน และอื่นๆ อีกมากมาย
และความท้าทายของการนำวิทยาการหุ่นยนต์ หรือ Robotic มาใช้งานก็ยังคงมีให้เห็นอยู่
อย่างเรื่องความยืดหยุ่น โดยทั่วไปหุ่นยนต์ได้รับการออกแบบเพื่อทำงานเฉพาะเจาะจง และอาจเป็นเรื่องยากที่จะปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่ๆ
ในทางกลับกัน ในบางรูปแบบงานมนุษย์มีความยืดหยุ่นมากกว่าและสามารถเรียนรู้งานใหม่ๆ ได้ง่ายกว่า
อีกทั้งในบางประเทศอาจมีการต่อต้านการนำวิทยาการหุ่นยนต์มาใช้ เนื่องจากกระทบกับภาคแรงงานมนุษย์ภายในประเทศ ทำให้รายได้ของพวกเขาน้อยลง
บทความนี้เป็นเพียงแค่การยกข้อมูลปัจจัยบางส่วน ในช่วงเวลาหนึ่งมานำเสนอเท่านั้น ความสัมพันธ์หรือความเกี่ยวข้อง ที่ช่วยผลักดันผลลัพธ์ของวิทยาการหุ่นยนต์นั้นมีมากมาย
เพื่อนๆ หรือนักลงทุนที่สนใจ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง ไม่ใช่คำแนะนำในการลงทุน

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา