9 ส.ค. 2023 เวลา 23:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ

ทำไม Hedge Fund ถึง Short Sell ในพันธบัตรสหรัฐฯ ในช่วงนี้ พวกเขากำลังมองเห็นอะไร

เมื่อไม่นานมานี้ โลกการเงินได้เห็น "แนวโน้มที่เพิ่มขึ้น" ของกองทุนเฮดจ์ฟันด์ที่มีการขายชอร์ตในพันธบัตรสหรัฐฯ โดยเฉพาะใน "พันธบัตรระยะยาว"
การกระทำของกองทุนเฮดจ์ฟันด์นี้ อาจดูขัดแย้งกับมุมมองใครหลายคน เพราะว่าหากลองพิจารณาสถานะการณ์การเงินช่วงนี้แล้ว
1
ค่อนข้างมีความผ่อนคลายและถือว่าเป็นช่วงเวลาที่ดี หากว่าคุณกำลังสนใจที่จะลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ
3
เนื่องจากเหตุผลหลายประการดังนี้
- การแสดงท่าที "ผ่อนคลาย" ด้านดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed)
- อัตราดอกเบี้ยนโนบายที่อยู่ "สูงกว่า" อัตราเงินเฟ้อ
- การปรับลดความน่าเชื่อถือของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ
ซึ่งสิ่งเหล่านี้นั้นทำให้พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อยู่ในจุดที่น่าสนใจทั้งในด้าน "ราคา" และ "อัตราผลตอบแทน"
1
  • อธิบายเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลนิดหน่อยสำหรับเพื่อนๆ ที่เป็นนักลงทุนมือใหม่ในโลกการลงทุน
1
อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลนั้น มักปรับตัวสูงขึ้นเมื่อมีการขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย
แต่ในทางกลับกัน ราคาของพันธบัตรรัฐบาลนั้นมักปรับตัวลดลง เพราะนักลงทุนคิดว่ายังไงถ้าขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย
อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นใหม่ๆคงปรับตัวสูงขึ้นด้วย เลยมีการเทขายพันธบัตรรุ่นก่อนๆ เพื่อลดความเสี่ยงด้านราคา
1
กลับเข้าประเด็นหลัก หากลองพิจารณาเหตุผลที่กล่าวไว้ข้างต้น
จะเห็นได้ว่ามัน "ไม่สมเหตุสมผล" เลยที่กองทุนเฮดจ์ฟันด์จะ "ขายชอร์ตในพันธบัตรสหรัฐฯ"
เลยจะลองมาสำรวจกันว่า "ทำไมกองทุนเฮดจ์ฟันด์ถึงขายชอร์ตในพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ พวกเขากำลังมองเห็นอะไร"
นักลงทุนหลายคนอาจมองว่า การปรับลดความน่าเชื่อถือของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ เมื่อเร็วๆนี้ เป็น "เหตุผลหลัก" ของการขายชอร์ตของกองทุนเฮดจ์ฟันด์
3
แต่อีกเหตุผลหนึ่งที่เราไม่ควรมองข้ามเลย ก็คือ "ท่าทีของธนาคารกลางของญี่ปุ่น (BOJ)"
1
หลายๆคนคงรู้อยู่แล้วว่าธนาคารกลางของญี่ปุ่น (BOJ) ได้มีการทำ Yield Curve Control (YCC)
2
เพราะว่า BoJ เชื่อว่า YCC จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อ โดยทำให้ธุรกิจกู้ยืมเงินและลงทุนได้ถูกลง สิ่งนี้อาจจะนำไปสู่กิจกรรมทางเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากญี่ปุ่นนั้นอยู่ใน "สภาวะเงินฝืด" มานานหลายสิบปี
1
แต่เมื่อไม่นานมานี้ ธนาคารกลางของญี่ปุ่น (BoJ) ได้ประกาศว่าจะเริ่มผ่อนคลายการควบคุมอัตราผลตอบแทนพันธบัตรโดยให้คำมั่นว่าจะมี "ความยืดหยุ่นมากขึ้น"
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น "คาซูโอะ อุเอดะ" ได้กล่าวว่า นี่ไม่ใช่จุดเริ่มต้นที่นำไปสู่การปรับนโยบายให้เป็นมาตรฐาน แต่เป็นเพียงการแสดงการปรับแต่งเพื่อให้แน่ใจว่าการควบคุมอัตราผลตอบแทนจะมีความยั่งยืน
1
แต่สิ่งนี้ทำให้นักลงทุนและกองทุนเฮดจ์ฟันด์ "บางส่วน" นั้นตีความว่าในอนาคต BoJ อาจจะมีการ "ขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย"
เพราะว่าการที่ BOJ ทำ YCC นั้นทำให้ค่าเงินเยน "อ่อนค่า" ลงอย่างมาก ส่งผลเสียต่อการส่งออกหรือนำเข้า และความสามารถในการแข่งขันระดับ Global ของบริษัทภายในประเทศ และอื่นๆอีกมากมาย
1
หากการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของ BOJ เกิดขึ้นจริง สิ่งนี้จะส่งผลให้ผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่น "ปรับตัวสูงขึ้น"
หรือในอีกแง่มุมหนึ่ง อาจจะมีการขายพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ จากฝั่ง BOJ เพื่อนำเงินนั้นมาช่วยเรื่องค่าเงินเยนที่อ่อนค่า ก็เป็นสิ่งที่อาจจะสามารถเกิดขึ้นได้เช่นกัน
3
สิ่งเหล่านี้ทำให้อาจเกิด "การเคลื่อนย้ายเงินทุน" ออกจากพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ไปยังพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นได้
2
นอกจากนี้ในบางกองทุนเฮดจ์ฟันด์ อาจมีการปรับเปลี่ยนพอร์ตการลงทุนของตัวกองทุนเอง
1
เนื่องจากการปรับลดความน่าเชื่อถือของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ จาก AAA เป็น AA+ อาจผิดกับเงื่อนไขของกองทุนหรือเงื่อนไขทางการเงินอื่นๆ
ตัวอย่างเช่น
บางกองทุนอาจมีเงื่อนไขว่ากองทุนจะลงทุนในพันธบัตรระดับ AAA เท่านั้น จึงจำเป็นต้องมีการปรับพอร์ตของกองทุน
1
ประจวบเหมาะกับเหตุการณ์การปรับลดความน่าเชื่อถือ ของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ที่เกิดขึ้นใน "เวลาไล่เลี่ยกัน"
1
สิ่งเหล่านี้เลย "อาจจะ" เป็นสาเหตุที่ว่า ทำไม Hedge Fund ถึง Short Sell ในพันธบัตรสหรัฐฯ ในช่วงนี้
แต่การขายชอร์ตในพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ของกองทุนเฮดจ์ฟันด์นั้นคงเป็นแค่ "เหตุการณ์ชั่วคราว" เท่านั้น
เพราะหาก Fed คาดการณ์และทำการปราบเงินเฟ้อได้ตามแผนของพวกเขา และบวกกับเมื่อลองพิจารณาพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ในช่วงนี้แล้ว
ผลที่ได้ก็คือ พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ก็ยังคงน่าสนใจอยู่ดี ทั้งในด้านราคาและอัตราผลตอบแทน เมื่อเทียบกับสถานะกาารณ์เศรษฐกิจในภาพใหญ่ตอนนี้
แต่ถึงกระนั้นแล้ว พวกเราก็ยังคงต้องติดตามการปราบปรามเงินเฟ้อของ Fed ต่อไปอย่างใกล้ชิด
เพื่อประเมินสถานะการณ์อย่างสม่ำเสมอ และปรับเปลี่ยนพอร์ตการลงทุนของเรา เมื่อพบเจอกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต
เพื่อนๆ หรือนักลงทุนที่สนใจ สามารถศึกษาเพิ่มเติมโดยละเอียด และประเมินความเสี่ยงได้ด้วยตัวเอง ไม่ใช่คำแนะนำในการลงทุน

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา