14 ส.ค. 2023 เวลา 23:55 • ความคิดเห็น
เราจะใช้เหตุผลกับความเชื่อได้มั้ย ?
คำถามนี้ถูกลบ
เราคิดว่า "ได้" นะคะ
ตามความเข้าใจ "ของเรา"
คำว่า "เหตุผล" คือสิ่งที่มนุษย์เข้าใจตรงกันประมาณว่า 'เพราะมี A จึงมี B ถ้าไม่มี A ย่อมต้องไม่มี B' ซึ่งองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ก็ล้วนมีลักษณะนี้เป็นพื้นฐานทั้งสิ้น
ส่วน "ความเชื่อ"
ส่วนตัวเรามองว่าองค์ความรู้ "ทุกองค์ความรู้" ที่มีอยู่ในโลกใบนี้ ไม่ว่าจะเป็นวิทยาศาสตร์ ปรัชญา ศาสนา เศรษฐศาสตร์ ตรรกศาสตร์ ฯลฯ ล้วนเป็นความเชื่อค่ะ
ที่เรามองแบบนี้เป็นเพราะว่า เราไม่เคยเห็นโปรตอน อิเล็คตรอน นิวตรอนกับตาเนื้อของตัวเอง เราไม่เคยเห็นพระพุทธเจ้า นรก สวรรค์ เทวดากับตาเนื้อของตัวเอง เราไม่รู้ว่าสิ่งที่มนุษย์ในอดีตเคยเสนอขึ้นมามันมีอะไรที่เป็น "ความจริง" บ้าง
ระบบการศึกษาแค่สอนให้เราเชื่อว่าสิ่งนั้นมันเป็นจริง เพื่อที่เราจะได้ลงมือทำอะไรต่อไปได้บ้าง เพราะถ้านักวิทยาศาสตร์ไม่เชื่อว่าสสารมีหน่วยที่เล็กที่สุด พวกเขาคงไม่ลงมือค้นหาอะตอม ถ้าพระพุทธเจ้าไม่เชื่อว่าความจริงมีอยู่ ท่านคงไม่ออกแสวงหามันตั้งแต่แรก
ดังนั้น การผนวกเหตุผลกับความเชื่อเข้าด้วยกัน มันก็คือการเอาองค์ความรู้มาร้อยเรียงในรูปของ A -> B -> C -> ... แล้วนำเสนอมันออกมาเป็นรูปภาพหรือตัวอักษร
ซึ่งชุดความรู้ที่เรารู้สึกว่ามันชัดเจนตามหลักของความเป็นเหตุเป็นผลมากคือ "ปฏิจจสมุปบาท" เพียงแต่ว่ามนุษย์ไม่ค่อยให้ความสนใจมันสักเท่าไหร่ เพราะเราถูกองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในระบบการศึกษาปลูกฝังมาตั้งแต่เด็กว่า ความจริงจะต้องเห็นได้ด้วยตาเนื้อเท่านั้น 'นามธรรม' ที่เป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกันในปฏิจจสมุปบาทจึงโดนมองข้ามไป

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา