26 พ.ย. 2023 เวลา 02:00 • ธุรกิจ

การจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management)

ทั้งธุรกิจที่ผลิตสินค้าและให้บริการ ย่อมมีการจัดหาวัตถุดิบและวัสดุอุปกรณ์​ เพื่อดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ​ สามารถสร้างความได้เปรียบคู่แข่งขัน และ ให้ลูกค้าได้รับสินค้าและบริการที่ดีที่สุด ธุรกิจจึงต้องมีระบบในการจัดการห่วงโซ่อุปทานของตนที่ดี และ สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์​ต่างๆที่อาจเปลี่ยนแปลงไป
การจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) หมายถึง คือ กระบวนการวางแผน การจัดการ และ การไหลของวัตถุดิบ สินค้า และ บริการจากผู้ผลิตไปยังผู้จำหน่ายหรือลูกค้า ห่วงโซ่อุปทานประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ดังนี้
1. การออกแบบสินค้า
2. การจัดหาวัตถุดิบ
3. การผลิตสินค้า
4. การจัดเก็บสินค้า
5. การกระจายสินค้าสู่ร้านค้าปลีก
6. การขายให้ลูกค้า
ุ7. การจัดส่งสินค้าให้ลูกค้า
8. บริการหลังการขาย
ห่วงโซ่อุปทานจะเชื่อมโยงกันระหว่างบริษัทต่างๆ หลายบริษัท ได้แก่
1. บริษัทต้นน้ำ (Upstream) เช่น ผู้ผลิตวัตถุดิบ
2. บริษัทกลางน้ำ (Midstream) เช่น ผู้ผลิตสินค้า
3. บริษัทปลายน้ำ (Downstream) เช่น ร้านค้าปลีก
ปัจจัยที่ส่งผลต่อห่วงโซ่อุปทาน ได้แก่
1. ความต้องการสินค้าและบริการ
2. ราคาวัตถุดิบ
3. ต้นทุนการผลิต
4. สภาพเศรษฐกิจ
5. เทคโนโลยี
6. การแข่งขัน
ธุรกิจสามารถปรับปรุงห่วงโซ่อุปทาน ได้แก่
1. พัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีกับซัพพลายเออร์
2. ลงทุนในเทคโนโลยี
3. บริหารจัดการความเสี่ยง
4. ปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน
รูปแบบห่วงโซ่อุปทานมักจะขึ้นกับประเภทของธุรกิจ ได้แก่
C2C (Consumer to Consumer) คือ การขายสินค้าหรือบริการจากผู้บริโภคไปยังผู้บริโภคโดยตรง ตัวอย่างเช่น แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ เช่น eBay และ Craigslist อนุญาตให้ผู้บริโภคขายสินค้าหรือบริการให้กับผู้บริโภครายอื่นได้ มักเกี่ยวข้องกับการขายสินค้าหรือบริการมือสอง
C2B (Consumer to Business) คือ การขายสินค้าหรือบริการจากผู้บริโภคไปยังธุรกิจ ตัวอย่างเช่น แพลตฟอร์มการจ้างงานอิสระ เช่น Upwork และ Fiverr อนุญาตให้ผู้บริโภคจ้างงานอิสระเพื่อทำงานต่างๆ เช่น เขียนบทความ ออกแบบเว็บไซต์ หรือสร้างกราฟิก
C2G (Consumer to Government) คือ รูปแบบธุรกิจที่ผู้บริโภคขายสินค้าหรือบริการให้กับรัฐบาล โดยทั่วไปแล้ว รัฐบาลจะซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้บริโภคผ่านกระบวนการประมูลหรือการจัดซื้อจัดจ้าง รัฐบาลอาจซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้บริโภคเพื่อใช้ในราชการหรือเพื่อให้บริการสาธารณะแก่ประชาชน ตัวอย่างเช่น การประมูลงานก่อสร้าง การประมูลจัดซื้อจัดจ้างสินค้าอุปโภคบริโภค และ การประมูลการให้บริการสาธารณะ เป็นต้น
B2C (Business to Consumer) คือ การทำธุรกิจระหว่างธุรกิจกับผู้บริโภค ตัวอย่างเช่น ร้านค้าปลีกออนไลน์ที่ขายสินค้าให้กับผู้บริโภคทั่วไป
B2B (Business to Business) คือ การทำธุรกิจระหว่างธุรกิจกับธุรกิจ ตัวอย่างเช่น บริษัทผู้ผลิตที่ขายสินค้าให้กับบริษัทอื่นเพื่อนำไปผลิตสินค้าอีกต่อหนึ่ง
B2G (Business to Government) คือ การขายสินค้าหรือบริการจากธุรกิจไปยังรัฐบาล ตัวอย่างเช่น บริษัทที่ให้บริการด้านไอที ขายซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ให้กับรัฐบาล
G2C (Government to Consumer) คือ การขายสินค้าหรือบริการจากรัฐบาลไปยังผู้บริโภค ตัวอย่างเช่น รัฐบาลขายตั๋วรถไฟ ตั๋วเครื่องบิน และตั๋วคอนเสิร์ต​
G2B (Government to Business) คือ การขายสินค้าหรือบริการจากรัฐบาลไปยังธุรกิจ ตัวอย่างเช่น รัฐบาลขายที่ดินและสิ่งก่อสร้างให้กับธุรกิจ
G2G (Government to Government) คือ ธุรกิจที่ดำเนินการระหว่างหน่วยงานภาครัฐของสองประเทศหรือมากกว่านั้น ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ ตัวอย่างเช่น การจัดซื้อจัดจ้าง การพัฒนาโครงการ การแลกเปลี่ยนข้อมูล การร่วมมือด้านเทคโนโลยี ความร่วมมือด้านการศึกษา ความร่วมมือด้านสาธารณสุข และ ความร่วมมือด้านความมั่นคง เป็นต้น
นอกจากนี้ สามารถแบ่งประเภทการธุรกิจอื่นๆที่ซับซ้อนมากขึ้น เช่น B2B2C, C2G2B, B2G2C และ ฯลฯ ซึ่งประเภทการขายที่ดีที่สุดสำหรับธุรกิจจะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น ประเภทของธุรกิจ ขนาดของธุรกิจ และ เป้าหมายทางการตลาดของธุรกิจ
ประโยชน์ของการจัดการห่วงโซ่อุปทาน ได้แก่
1. สามารถช่วยธุรกิจลดต้นทุนได้หลายวิธี เช่น โดยการลดต้นทุนการขนส่ง ต้นทุนการจัดเก็บ และต้นทุนการผลิต
2. สามารถช่วยธุรกิจเพิ่มประสิทธิภาพได้หลายวิธี เช่น โดยการลดเวลาในการขนส่ง เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บ และเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต
3. สามารถช่วยธุรกิจตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดีขึ้น เช่น โดยการทำให้สินค้าและบริการมีจำหน่ายได้มากขึ้น เพิ่มคุณภาพของสินค้าและบริการ และ ลดเวลาในการขนส่งสินค้าและบริการ
การจัดการห่วงโซ่อุปทานเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนและมีหลายขั้นตอน ธุรกิจควรมีระบบการจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ดีเพื่อช่วยให้ธุรกิจสามารถลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพ และ ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดีขึ้น
สุดท้าย เพื่อให้โมเดลธุรกิจมีความชัดเจนและสามารถคำนวณต้นทุนได้แม่นยำ ควรที่จะมีการสร้างแผนภาพห่วงโซ่อุปทานของธุรกิจ ดังตัวอย่าง ห่วงโซ่อุปทานธุรกิจผลิตอาหาร (The Food Production Chain) ที่ดำเนินธุรกิจแบบ B2B2C และ B2C
โดยเริ่มจากจัดหาวัตถุดิบจากฟาร์มเลี้ยงสัตว์ นำเข้าสู่โรงงานแปรรูป นำมาเก็บที่ศูนย์กระจายสินค้า แล้วจำหน่ายสู่ร้านอาหารและร้ายค้าปลีก และ ปรุงเป็นอาหารให้กับลูกค้าในร้านอาหารและผู้บริโภคในครัวเรือน ถ้าสามารถระบุจำนวนวันในแต่ละขั้นตอนได้ ก็จะช่วยคำนวณอายุของผลิตภันฑ์​ในการเก็บรักษาได้ด้วย
ห่วงโซ่อุปทานธุรกิจผลิตอาหาร (The Food Production Chain)
สารตั้งต้น หวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกคน เพราะคำว่า "ไม่รู้" ทำคนเสีย "น้ำตา" มามากแล้ว
ถ้าเนื้อหาถูกใจ ช่วยกดติดตาม กดไลท์ กดแชร์ เพื่อเป็นกำลังใจ
แลกเปลี่ยนความเห็น ติชม สอบถาม แนะนำเนื้อหาได้นะครับ
#สารตั้งต้น #SupplyChainManagement #C2C #C2B #C2G #B2C #B2B #B2G #G2C #G2B #G2G
โฆษณา