ด้วยปฏิบัติการโมเดลแก้จนเกษตรมูลค่าสูง สอดคล้องกับโมเดลธุรกิจ Local Alike จึงเป็นโอกาสที่จะเชื่อมโยงความร่วมมือเพื่อเตรียมส่งต่องานพัฒนา โดยเฉพาะการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากข้าวนาปรังให้เป็น Local Rice
เป็นโอกาสสำหรับ Local Alike มากกว่า ได้มาเจอชุมชนบ้านดงสารที่มีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์มาก ยังคงวิถีชีวิตการดำรงชีพและการเกษตรตั้งแต่เช้าจนถึงค่ำ เป็นพิพิธภัณฑ์เกษตรกรรมที่มีชีวิต...ก่อนหน้านี้แอบกังวลว่าชุมชนดงสารจะคาดหวังกับ Local Alike แต่จากการสำรวจทุนด้านต่างๆ ของดงสารสองวันที่ผ่านมานี้ Local Alike จะนำพาความหวังและความฝันมาสู่ชุมชนดงสารเอง
คุณสมศักดิ์ บุญคำ
เป็นช่วงที่เหมาะสมพร้อมทุกด้าน พื้นที่อนุรักษ์ทรัพยากรพร้อมให้ความรู้เหมาะสำหรับผู้คนที่อยากเข้ามาศึกษาวิถีการอยู่รอดในชุมชน งานวิจัยเดินหน้าแก้ไขปัญหาระบบผลิตที่สำคัญจัดการให้มีมูลค่าสูงร่วมกับหน่วยงานกลไกพัฒนาในพื้นที่ พร้อมทั้งเตรียมส่งต่อการพัฒนาร่วมกับ Local Alike จิ๊กซอว์ภาคีสำคัญที่มีเครือข่ายอีกมากมาย
มีเป้าหมายเดียวกัน คือ แก้ปัญหาความยากจนให้ครัวเรือนเลื่อนระดับฐานะทางสังคมได้ เป็นนวัตกรรมแก้จนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ ซึ่งในอนาคตไม่เกิน 10 ปี อาจได้เห็นพาดหัวข่าวว่า เที่ยวเมืองไทย “ไปไส...ไปดงสาร (Pai Sai Pai Dongsarn)”