Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
OnePoverty
•
ติดตาม
29 ส.ค. 2023 เวลา 14:42 • ท่องเที่ยว
ดงสาร
วิถีคนดงสารกับระบบนิเวศ “ป่าบุ่งป่าทาม”
อย่างที่เห็นในภาพ ผู้คนแถวนี้มีบ้านอาศัยในเขตน้ำท่วมอยู่กับสถานการณ์นี้มาตั้งแต่เกิด มีวลีพูดเล่นเชิงประชดว่า “ถ้าปีไหนพื้นที่นี้น้ำไม่ท่วม นาโคกแล้งแน่นอน” ชาวบ้านเข้าใจภูมิศาสตร์ที่ตั้งถิ่นอาศัยเป็นอย่างดี เมื่อเลือกเกิดไม่ได้จึงไม่มีทางเลือกอื่นมาก ต้องยอมรับและหากลยุทธ์ปรับวิถีดำรงชีพใหม่ เตรียมตัวให้ครอบครัวอยู่รอดจากภัยธรรมชาติทุกปี เป็นอีกปัจจัยที่เหนี่ยวรั้งความยากจน
7
■
จุดเปลี่ยนความคิดพลิกวิกฤตหาโอกาสใหม่
ให้คิดว่าคุณกำลังอยู่บริเวณลุ่มน้ำสงคราม (ตอนกลาง) จะพาไปสัมผัสกับวิถีชุมชนบ้านดงสาร ต.โพนงาม อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร อยู่ห่างกับริมน้ำสงคราม 3 - 5 กิโลเมตร ผ่านสถานการณ์น้ำท่วม “น้ำแก่ง” มากกว่า 100 ปีก่อนตั้งหมู่บ้าน เอ่ยได้ว่าเป็นวิถีที่อยู่ร่วมกันระหว่างคนกับน้ำ ในการมาครั้งนี้มาพร้อมกับ Local Alike บริษัทการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน (ธุรกิจเพื่อสังคม) โดยคุณไผ สมศักดิ์ บุญคำ CEO มาเอง และผู้ติดตามคุณเปรม ณนภ ม่วงเกลี้ยง Product Manager ร่วมเป็นแมวมองติดดาวท่องเที่ยวชุมชน
จุดนัดพบขอเรียกว่า “โฮมสเตย์” บ้านครูแดง (ในอนาคต) ถือเป็นผู้นำที่ชาวบ้านเคารพ ชุมชนมองเห็นพื้นที่มีศักยภาพสูงต้องการอยากพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ จึงเป็นที่มาของวันนี้เพื่อนำผู้เชี่ยวชาญการท่องเที่ยวมาสัมผัสวิถีชีวิตของชุมชนโดยตรง หลังจากที่ได้แนะนำทำความรู้จักกันทุกคนแล้ว ชาวบ้านได้เซอร์ไพรส์รอบแรกด้วยการผูกผ้าขาวม้าให้ทีมงานทุกคน ถือเป็นวัฒนธรรมการต้อนรับด้วยมิตรไมตรีความฮักแพ
■
วิถีชีวิตของผู้คนบ้านดงสารกับ "ป่า ปลา ข้าว"
ความหลากหลายของพรรณพืชพรรณไม้ ยางนามีแต่ต้นใหญ่ ๆ มีเซอร์ไพรส์รอบสองคืนมีต้นยางนาใหญ่ 7 คนโอบน่าจะมีอายุหลายร้อยปี ดินอุดมสมบูรณ์ขนาดนี้เป็นไปไม่ได้เลยถ้าไม่มีเห็ด นอกจากนี้ยังมี หน่อไม้ มันแซง เป็นแหล่งอาหารในหน้าแล้ง
วิถีคนกับปลา ย้อนกลับไป 20 กว่าปี ช่วง พ.ศ.2542 ชาวบ้านดงสารได้สร้างพื้นที่ขยายและอนุรักษ์พันธุ์ปลา 2 วัง คือ วังอนุรักษ์หนองหมากแซว มีพื้นที่ 125 ไร่ และวังอนุรักษ์กุดสิ้ว พื้นที่ 12 ไร่ โดยชุมชนมีกติกาธรรมนูญร่วมกันปฏิบัติ ช่วงน้ำท่วมนี้จะมีวิถี ใส่ดาง(มอง)จับปลา พายเรือจับหนูนาตามต้นไผ่ ในฤดูแล้งชวนกัน “ผ่าปลา” การกุศล ชาวบ้านเล่าให้ฟังว่าปลาแม่น้ำสงครามอร่อย อาจเป็นเพราะลำน้ำสงครามมีบ่อน้ำเค็มใต้ดิน ปลาได้กินน้ำเกลือจึงเนื้อแน่นและรสชาติดี
วิถีคนกับนาปรัง มองดูรอบๆ บริเวณน้ำท่วม พื้นที่โล่งกว้างแห่งนี้คือ “ทุ่งพันขัน” หลังน้ำลดลงเป็นสัญญาณบอกชาวบ้านทุกปีได้เวลาทำนาปรังแล้ว ฤดูแล้งจะมีสีเขียวขจีจากใบข้าวเต็มพื้นที่มากกว่า 4,000 ไร่ (ที่สาธารณะประโยชน์ นสล.) ช่วงเดือนธันวาคม – เมษายน มีเกษตรกรในหมู่บ้านและนอกหมู่บ้านมาใช้ประโยชน์ประมาณ 200 คน คิดเป็นมูลค่าจากผลผลิตมากกว่า 10 ล้านต่อปี
นี่คือวิถีชีวิตของคนในระบบนิเวศ “ป่าบุ่งป่าทาม” ยังมีอีกหลายอย่างที่ไม่ได้เอ่ยถึง เช่น ควายทาม แพสะดุ้งใหญ่ เป็นต้น ถือได้ว่ามีแหล่งผลิตอาหารจากธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์มาก จนรู้สึกหิวขึ้นมา อาหารบ้านดงสารแต่ละเมนูมีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น นำวัตถุดิบที่หาได้จากป่าบุ่งป่าทามมาประกอบอาหาร ในระหว่างทานข้าวอยู่นั้นมีนักร้อง นักเล่าเรื่อง คอยสร้างบรรยากาศให้แต่ละเมนูอร่อยมากขึ้น
รู้สึกอบอุ่นสนุกสนานจนลืมเรื่องน้ำท่วมแม้ว่าจะเป็นอุปสรรคต่อการดำรงชีพ เมื่อน้ำลดจากไปได้ฝากความอุดมสมบูรณ์ไว้หล่อเลี้ยงชุมชน หลายคนอาจได้คำตอบแล้วว่าคนจนมีรายได้น้อยถึงดำรงชีพอยู่ได้ ทรัพยากรธรรมชาติจึงสำคัญมากกับคนยากจน
■
เชื่อมโยงบริบทสู่การพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยว
“ค่ำค่ำแลงลงมือจกถุงแล้วย่างเลาะบ้าน” (ร้องเพลง) เลาะไปดูพระอาทิตย์ตกดินบนสะพานดอนหลวงพัฒนา เป็นจุดที่มองเห็น “ทุ่งพันขัน” ได้ทั้งหมด ช่วงพระอาทิตย์จะลาลับขอบฟ้าแสงสีส้มสะท้อนกับน้ำท่วมสวยงามไม่แพ้ที่อื่น ในระหว่างรอสามารถกระโดดสะพานเล่นน้ำกับเด็กชาวบ้านได้
ถึงแม้พื้นที่จะอยู่ห่างไกลจากเมือง แต่ชุมชนมีบริการล่องแพไว้ต้อนรับทุกคน เป็นการเซอร์ไพรส์รอบสาม ช้างเผือกอยู่ในป่าลึกจริง ๆ พลาดไม่ได้แล้วขอใช้บริการเลยในช่วงฤดูฝนต้องได้นั่งเรือเข้าไปแพ บอกได้เลยว่าเพลงเพราะอาหารอร่อย
ลองวาดฝันเป็นนักท่องเที่ยวเข้ามาดงสารในหนึ่งวันมีอะไรทำบ้าง เริ่มต้นจากตื่นเช้าไปดูพระอาทิตย์ขึ้นที่หนองหมากแซว ใส่บาตรหน้าโฮมสเตย์ ช่วงสายพายเรือใส่มองจับปลาพร้อมกับงมหอยมาก้อยกินตอนเที่ยง บ่ายแก่ ๆ ไปตกเบ็ดนำปลามาปิ้งกินตอนเย็น จนถึงเข้านอน แต่ความฝันนี้เป็นวิถีชีวิตจริงของชาวบ้าน เหมาะสำหรับผู้ที่อยากใช้ชีวิตแบบเรียบง่ายวิถีชนบท น่าอิจฉาจน Local Alike ชวนวาดอนาคตท่องเที่ยว “พิพิธภัณฑ์วิถีเกษตรที่มีชีวิต” โดยชุมชนด้วยชุมชน เตรียมเสนอแหล่งทุนมาพัฒนาการท่องเที่ยว
สุดท้ายกิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยปฏิบัติการโมเดลแก้จนด้วยเกษตรมูลค่าสูงฯ โดยอาจารย์สายฝน ปุนหาวงศ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ที่ทำบทบาทเชื่อมโยงภาคีมาร่วมพัฒนาชุมชนและครัวเรือนเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน และท้ายที่สุดนี้นึกว่าหมดเซอร์ไพรส์แล้วเหลือรอบสี่ส่งท้ายให้คิดถึง จัดชุดใหญ่ไฟกระพริบโชว์มินิดนตรีจากนักเรียนโรงเรียนบ้านดงสาร ตามด้วยไฮไลท์เข้าพาขวัญผูกข้อต่อแขน ให้สายแนนฮักกันมั่นแก่นกับบ้านดงสารตลอดไป
ที่มา :
https://www.1poverty.com/2024/03/localalike.html
1poverty.com
วิถีชุมชนดงสาร บนระบบนิเวศป่าบุ่งป่าทาม
OnePoverty วิถีชุมชน เกษตรมูลค่าสูง โมเดลแก้จน หนึ่งเดียว
เรียบเรียงข้อมูลโดย : สมชาย เครือคำ
สนับสนุนจาก : โครงการพัฒนาระบบห่วงโซ่การผลิตเกษตรมูลค่าสูงด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรม เพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ปี 2566 โดยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)
แหล่งอ้างอิง/บทความที่เกี่ยวข้อง
1. บ้านดงสารวาดอนาคตท่องเที่ยวชุมชน
https://www.blockdit.com/posts/64e2f5e04ddf3ad90ea5ffc8
2. ทุ่งพันขันทรัพยากรอันล้ำค่า
https://www.blockdit.com/posts/657854d338c548a4d0494c8d
3. การอนุรักษ์ฟื้นฟูลำน้ำสงคราม
https://www.blockdit.com/posts/64e250c32553f8096fe4791e
4. ประวัติศาตร์หมู่บ้านดงสาร
https://www.blockdit.com/posts/6578b8abb5415074881bf320
1 บันทึก
3
1
12
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ท่องเที่ยวโดยชุมชน กับวิถีบ้านดงสาร
1
3
1
12
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย