27 ส.ค. 2023 เวลา 01:34

EP. 4 the king never smile

ตํานานเรื่องราวของกษัตริย์ มีเพิ่มเติมมากขึ้นเรื่อยๆ ในปี 2503 กษัตริย์ภูมิพลกับราชินีสิริกิต์ เดินทางออกเยี่ยมประเทศต่างๆ อย่างประสพผลสำเร็จ เป็นอาคันตุกะของผู้นําประเทศในยุโรป และได้รับการต้อนรับด้วยขบวนพาเหรดในนิวยอร์ก
ส่วนในประเทศไทย ผู้ที่เลื่อมใสในระบบของราชวงศ์ ต่างพากันฟื้นฟูประเพณีของกษัตริย์ครั้งหนึ่ง คนไทยดูเหมือนจะนิยมยึดถือติดอยู่กับค่านิยมเก่าๆจากอดีต ในขณะที่ค่านิยมของตะวันตกและลัทธิคอมมิวนิสต์ได้แผ่กระจายเข้ามาในเขตอินโดจีนแล้ว
ภูมิพลละทิ้งค่านิยมในยุโรป หันมาปกครองประเทศในระบบโบราณพันล้านปีอย่างธรรมราชา กษัตริย์ที่ปกครองประเทศด้วยความเป็นธรรม ตามหลักศีลธรรมทางพุทธศาสนา ท่านได้ทําการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ ขจัดรัฐบาลโกงกิน และนักการเมืองให้เดินถูกทาง ในกรณีที่ฉุกเฉิน อย่างในปี 2535 ท่านได้ตัดสินใจอย่างเด็ดขาด เข้าไปช่วยให้สถานการณ์ของประเทศให้พ้นจากความสับสนอลหม่าน
ในทุกหัวเลี้ยวหัวต่อ ยิ่งเพิ่มอํานาจบารมีให้กับท่านมากขึ้น ซึ่งมีรากฐานมาจากคุณลักษณะที่นิ่งสงบและมีสง่าราศี ชาวไทยที่เชื่อถือในโชคลาภและกฎแห่งกรรม ต่างพากันคิดว่าเป็นบุญหล่นทับ ที่มีกษัตริย์ที่มีศุภนิมิตรเช่นนี้
ท่านทํางานอย่างไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อยเพื่อประชาชนโดยไม่หวังผลตอบแทนใดๆ การเสียสละของท่านเป็นที่เห็นกันดี ขณะที่คนไทยเป็นคนช่างยิ้มและชอบเรื่องตลกโปกฮา และปล่อยชีวิตให้เป็นเรื่องของโชคชะตา แต่ตัวกษัตริย์ภูมิพลเองต้องเอาจริงเอาจัง ทนทรมานแบกภาระต่างๆของชาติเพิ่มมากขึ้น นับตั้งแต่วันที่พี่ชายตายไปอย่างน่าสงสัย ดูเหมือนท่านไม่เคยยิ้มอีกต่อไป
ลักษณะของท่านเหมือนติดอยู่ในกับดักภารกิจการกอบกู้ราชบัลลังก์ สําหรับชาวไทยทั่วไป นี่คือสัญลักษณ์ของจิตวิญญาณที่สูงส่ง ในประเพณีทางพุทธศาสนา ไม่ว่าจะเป็นการยิ้ม และการแสดงออกทางสีหน้าต่างๆคือการแสดงออกของความโลภและกิเลส กษัตริย์ภูมิพลจึงตีสีหน้าได้อย่างแน่นิงสนิท เพื่อสร้างความเชื่อถือยึดมั่นออกสู่สายตาประชาชน ดังเช่นกษัตริย์องค์ก่อนๆที่แสดงกันมา อย่างเช่นในสมัยธรรมราชาในศตวรรษที่สิบสามของอาณาจักรสุโขทัย ที่ชาวบ้านต่างเรียกกษัตริย์ว่าเจ้าแผ่นดินหรือเจ้าชีวิต
จนแม้นกระทั่งชาวไทยที่ส่วนมากเปรียบเทียบกษัตริย์ของเขาเหมือนดังเช่น พระพุทธเจ้ากลับชาติมาเกิด นี่คือวิสัยทัศน์หนึ่งของรัชกาลที่ 9 แต่ก็ยังมีอีกเรื่องหนึ่งที่ไม่เคยมีใครพูดถึงมาก่อน ในการที่กษัตริย์ภูมิพลสร้างอํานาจและบารมีของราชวงศ์ขึ้นมาได้นั้น มันไม่ใช่เรื่องง่ายและบังเอิญ
มันเป็นการหว่านพืชเพื่อหวังผล และความตั้งใจแน่วแน่มานมนาน จนในบางครั้งก็มีความอํามหิตปะปนรวมอยู่ด้วย ที่ต้องต่อสู้เพื่อเอาสิทธิของสายเลือดโดยกําเนิดของราชวงศ์กลับคืนมา อันเป็นการแก้เผ็ดต่อการปฏิวัติรัฐประหารในปี 2475 นี่คือผลพวงที่กษัตริย์ภูมิพลสร้างสะสมเอาไว้
เริ่มต้นจากการสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่สอง บรรดาเจ้าฟ้าที่หลงเหลืออยู่น้อยนิด ต่างพากันหว่านโรยรากฐานวัฒนธรรมของระบบราชาธิปไตยทิ้งไว้ โดยใช้ภูมิพลเป็นเครื่องมือในการสืบทอดและสถาปนาราชวงศ์ให้มั่นคงกลับขึ้นมาใหม่ โดยได้กําจัดพวกหัวก้าวหน้าประชาธิปไตย และบรรดาพวกนิยมลัทธิคอมมิวนิสต์ ร่วมมือเป็นพันธมิตรกับใครก็ตามที่จะช่วยให้ภายในวังมีอํานาจมากขึ้น ดังเช่น พวกบรรดานายพลที่โหดเหี้ยมเห็นแก่ได้ พวกพ่อค้ายาเสพติด นายธนาคาร นายทุนหน้าเลือด ที่มีสายใยใกล้ชิดกับรัฐบาลอเมริกันและ C.I.A.
เพื่อเป็นรื้อฟื้นและสถาปนาระบบกษัตริย์ให้เข้มแข็ง จึงมีระเบียบการบริหารที่ทําการควบคุมการศึกษา ศาสนา การตีความและการบันทึกประวัติศาสตร์ และปลูกฝังค่านิยมด้วยคําว่า ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ให้ชาวบ้านท่องจํากันทุกๆวัน กษัตริย์คือสิ่งสําคัญที่สุดขององค์ประกอบทั้งสาม
อย่างไรก็ตาม ในโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็นบทเรียนในประวัติศาสตร์ หนังสือ รวมทั้งสื่อมวลชน ต่างถูกคุกคามและควบคุม ไม่มีนักการเมือง นายกรัฐมนตรี ผู้นําสังคม คนใด ที่จะได้รับการจารึกเอาไว้ในความสําเร็จต่างๆ นอกจากกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีและบรรดาราชวงศ์ทั้งหลาย เพื่อเป็นการปกป้องราชวงศ์ วันหยุดต่างๆคือวันหยุดที่ให้เกียรติ์ต่อราชวงศ์ ชื่อ สถาบันต่างๆ โรงเรียน โรงพยาบาล ต่างพากันตั้งชื่อเพื่อให้เป็นเกียรติคุณต่อราชวงศ์จักรีเท่านั้น
สิ่งที่ยอมรับกันดีในสังคมไทยก็คือ ในช่วงที่ภูมิพลขึ้นครองราชย์นั้น ประเทศไทยได้หันเหไปสู่เส้นทางประชาธิปไตยแล้ว แต่คนจํานวนสี่ส่วนห้าของพลเมือง 18 ล้านคน ยังอยู่ในชนบทและป่าเขา มีวัดเป็นศูนย์กลางของหมู่บ้าน การทําไร่ไถ่นาตามฤดูกาลต่างขึ้นอยู่กับความเชื่อทางพุทธศาสนา
เมื่อชาวบ้านมีการศึกษาน้อย และมีความเชื่อถืออยู่กับวัดวาอารามในศาสนา ดังนั้นคุณงามความดีต่างๆที่เกิดขึ้นได้นั้นก็เพราะกษัตริย์ เริ่มจากฤดูฝน ไปจนถึงการช่วยเหลือผู้ประสพภัยต่างๆ การค้นคว้าทางด้านวิทยาศาสตร์ ชาวบ้านต่างคิดว่ามาจากในหลวง หาใช่มาจากภาครัฐบาล หรือตัวแทนของประชาชน หรือกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งอันเป็นเรื่องที่น่าเศร้าใจอย่างยิ่ง
ความตั้งใจมั่นฝึกฝนในเชิงประเพณีและวัฒนธรรมไทย ทําให้ผู้คนในประเทศมองเห็นกษัตริย์ภูมิพลว่ามีความชอบธรรม ฉลาด และเมตตาปราณี อย่างที่ชาวบ้านเห็นกันกับตากันอยู่เรื่อยๆว่า แม้นแต่นายพลผู้มีอํานาจ บรรดานายธนาคาร ข้าราชการ รวมทั้งพระก็ยังต้องก้มลงกราบเบื้องพระบาทของพระองค์ท่าน ซึ่งตามกฎหมายได้ยกเลิกกันไปนานหลายร้อยปีแล้ว แม้นกระทั่งได้เปรียบเทียบกษัตริย์ที่มีรูปลักษณะที่สงบนิ่งคล้ายกับได้บรรลุโสดาบันถึงขั้นอุเบกขา
บรรดาพวกข้าทาสในวังต่างปกป้อง ไม่ยอมอนุญาตให้ตีพิมพ์รูปภาพ รูปเขียน ของกษัตริย์ที่มีรอยยิ้ม เพื่อเป็นการโฆษณาชวนเชื่อต่อชาวบ้านให้เคารพบูชากษัตริย์และราชวงศ์ให้สูงส่งอยู่เหนืออํานาจใดๆทั้งมวล รวมทั้งประชาธิปไตย รัฐสภา รัฐธรรมนูญ และกฎหมายต่างๆของประเทศ
เป็นเรื่องที่น่าทึ่งว่า ตามเส้นทางชีวิตที่ผ่านมา กษัตริย์ภูมิพลเกิดในอเมริกา ได้รับการศึกษาที่มี ฝเหตุมีผลจากสวิสเซอร์แลนด์ ได้กลับกลายเป็นผู้มีความเลื่อมใสเชื่อถือในการปรกครองระบอบ ธรรมราชา โดยได้ทําการศึกษาจากความสําเร็จของบรรพบุรุษเช่นกษัตริย์องค์ก่อนๆ เรียนรู้พิธี ราชกรณียกิจ ศึกษาค้นคว้าพุทธปรัชญา และบําเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน ภายใต้การแนะนําของผู้ เชี่ยวชาญ เรียนรู้วิธีการทําธุรกิจที่เฉียบขาด โดยได้เรียนรู้ทุกอย่างครอบจักรวาล เพื่อเป็นผู้คงแก่เรียนและตัดความเห็นแก่ตัวออกไป
ผลลัพธ์ก็คือ
กษัตริย์กลายเป็นผู้ที่เพียบพร้อมแข็งแกร่ง และยังสามารถนําประเทศชาติและประชาชน ให้พ้นภัยได้ด้วยความเชื่อมั่นในตัวเอง กษัตริย์ภูมิพลได้ก้าวเดินไปไกลเกินกว่าความคาดหวัง ของเหล่าคณะที่ปรึกษาองคมนตรี และบรรพบุรุษที่ได้ตั้งใจเอาไว้เป็นอย่างมาก

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา