3 ก.ย. 2023 เวลา 12:00 • ประวัติศาสตร์

Mario Tamagno: สถาปนิกผู้ออกแบบสยามด้วยสถาปัตยกรรม

ในเดือนกันยายนของทุกปีจะมีงานสำคัญของซีกโลกตะวันตกที่เรียกกันว่า “วันมรดกวัฒนธรรมยุโรป” ซึ่งเป็นวันสำคัญทางด้านศิลปวัฒนธรรม
3
ที่สถานที่ราชการต่าง ๆ ในยุโรปที่ไม่ได้เปิดให้บุคคลทั่วไปเข้าชมเป็นประจำจะเปิดให้เข้าชมได้เป็นกรณีพิเศษ เช่นเดียวกันกับในประเทศไทยช่วงก่อนวิกฤตการณ์โรคระบาดก็ได้มีการเปิดสถานทูตต่าง ๆ ให้บุคคลทั่วไปสามารถเข้าชมได้เป็นกรณีพิเศษเช่นที่บ้านทูตฝรั่งเศส
ซึ่งเป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์ที่น้อยคนนักจะได้มีโอกาสเข้าไปยลโฉม เนื่องในเดือนแห่งมรดกยุโรปนี้เอง
Bnomics จะขอพาทุกท่านไปดู “มรดกวัฒนธรรมยุโรปในประเทศไทย” ผ่านสายตาของชาวตะวันตกที่ได้เข้ามาอาศัยและมีส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศไทยตลอดจนทิ้งมรดกทางวัฒนธรรมที่ฝากฝังไว้ในสังคมไทยจนถึงปัจจุบัน
2
วัด วัง กระทรวง นานาสถาปัตยกรรมเก่าแก่ในกรุงเทพมหานครที่ได้รับอิทธิพลมาจากยุโรปจำนวนไม่น้อยล้วนแต่เป็นผลงานที่รังสรรขึ้นจากฝีมือของเหล่านายช่างฝรั่งทั้ง
หลายผู้มีความสามารถและได้เดินทางมาแสวงโชคในดินแดนเล็ก ๆ ที่ห่างไกลอย่างสยามพร้อมกับฝากฝังคุณค่าทางศิลปกรรมที่ยังคงยืนยงตั้งตระหง่านมาจนถึงทุกวันนี้
โดยหนึ่งในนั้นนายช่างฝรั่งที่มีความสำคัญต่อศิลปกรรมในไทยก็คือ
“มาริโอ ตามาญโญ” สถาปนิกจากตูรินผู้ฝากฝังผลงานสถาปัตยกรรมสุดคลาสสิคทั่วกรุงเทพมหานคร
📌 จากตูรินสู่สยาม
มาริโอ ตามาญโญ เกิดเมื่อวันที่ 19 มิถุนายนในปี 1877 ไม่มีข้อมูลปรากฏแน่ชัดว่าสภาพครอบครัวในวัยเด็กของเขาเป็นอย่างไร ประวัติของเขาก็ข้ามมาอยู่ในช่วงวัยหนุ่มโดยได้ศึกษาในสาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์ ที่สถาบันศิลปะอัลแบร์ตีน
ในเมืองตูริน โดยเขาเป็นนักเรียนดีเด่นที่ได้รับรางวัลและทุนการศึกษาเสียหลายครั้ง เมื่อเขาสำเร็จการศึกษาก็ได้เป็นอาจารย์สอนอยู่ที่วิทยาลัยเทคนิคตูรินในรายวิชาทัศนียภาพวิทยา ซึ่งก็ได้แสดงความสามารถของเขาให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ต่อคนในสถาบัน จนกระทั่งได้รับคำแนะนำจาก คาร์โอ เซปปี
อดีตสถาปนิกที่เคยอยู่ในสยาม ให้เดินทางมาทำงานยังสยาม ดินแดนตะวันออกที่เขาเองก็ไม่เคยพบเห็นมาก่อนในชีวิต ตามาญโญ เดินทางมายังสยามด้วยเรือโคนิก อัลเบิร์ตของเยอรมัน ในปี 1900 และได้เซ็นสัญญาเป็นสถาปนิกในสังกัดกรมโยธาธิการนานถึง 25 ปีด้วยกัน
5
📌 สยามใหม่ในสถาปัตยกรรมกับการก้าวสู่ความเป็นสากล
เมื่อมาถึงกรุงเทพฯ ได้ไม่นาน เขาก็ได้รับมอบหมายงานแรกคือการก่อสร้างสะพานมัฆวานรังสรรค์ ที่สร้างขึ้นมาด้วยหินอ่อน และเหล็กดัด
2
ก่อนที่จะได้รับมอบหมายงานในการออกแบบพระที่นั่งอัมพรสถานร่วมกับวิศวกรและสถาปนิกอย่างกอลโล และอัลเลกรี และออกแบบภายในโดยเซซาเร่ แฟร์โร
2
ก่อนที่จะได้ไปออกแบบท้องพระโรงในพระที่นั่งอภิเษกดุสิต, ผังวัดเบญจมบพิตร ซึ่งออกแบบเป็นผังกางเขนแบบโบสถ์คริสต์ และประดับประดาด้วยหินอ่อนอิตาเลียนไปจนถึงการปูพื้นด้วยหินแกรนิต
3
นอกเหนือจากผลงานภายในประเทศแล้ว ในต่างประเทศเองตามาญโญก็ได้ออกแบบสถาปัตยกรรมของไทยด้วยเช่นเดียวกัน ศาลาสยามในงานมหกรรมโลกปี 1904 ที่จัดขึ้นในเซ็นต์หลุยส์เองก็เป็นผลงานของตามาญโญที่ได้ไอเดียมาจากพระดำริในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์และควบคุมดูแลการก่อสร้างโดยเจรินี
3
ผลงานในช่วงสิบปีแรกในสยามของตามาญโญมีอยู่มากมาย นอกจากนี้ยังมีผลงานสร้างซุ้มประตูชัยรับเสด็จในสไตล์จีนต้อนรับการเสด็จกลับมาจากการประพาสยุโรปของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในปี 1907 ใกล้กับสะพานผ่านฟ้าลีลาศด้วย
โดยในขณะเดียวกันก็มีการบูรณะสะพานผ่านฟ้าลีลาศใหม่ด้วย ซึ่งในปีนี้เองที่ตามาญโญได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าช่างสถาปนิกจากผลงานมากมายในช่วงสิบปีของเขา
ผลงานการผสมผสานระหว่างตะวันออกกับตะวันตกของตามาญโญเองก็มามีส่วนสำคัญในการออกแบบความศิวิไลซ์แบบสยามที่หยิบเอาความศิวิไลซ์ของตะวันตกมารวมกัน และเป็นก้าวสำคัญในการแสดงให้โลกตะวันตกเห็นว่า สยามเองก็มีอย่างที่ยุโรปมีเหมือนกัน
3
📌 สถาปนิกผู้เงียบขรึม
ตามาญโญมีลักษณะอุปนิสัยเป็นคนที่ไม่ค่อยสังสรรค์และไม่มีเวลาสำหรับงานรื่นเริงเท่าไหร่นัก อีกทั้งยังเป็นคนที่ขี้อายอยู่หน่อย ๆ โดยตลอดระยะเวลาที่อยู่ในสยาม
มีบันทึกงานรื่นเริงของตามาญโญเพียงครั้งเดียวคือในวันแต่งงานของเขากับมาเรียนนีนา ซุกกาโร ซึ่งเป็นอดีตเพื่อนร่วมสถาบันของเขาที่ตูรินผู้ผันตัวจากเพื่อนมาเป็นเจ้าสาว ด้วยชื่อเสียงของเขาเองทำให้ของขวัญวันแต่งงานถูกส่งมาให้เขาอย่างไม่ขาดสาย ไม่ว่าจะเป็นแจกันเซรามิคระบายสี ชุดซ้อนส้อม โถกาแฟ เหยือกนม หีบซิการ์ ฯลฯ ที่ทำออกมาเป็นเครื่องเงินงดงาม
2
ในวันแต่งงานตัวเจ้าสาวเองก็สวมชุดผ้าซาตินสีขาว ชายกระโปรงยาว มีผ้าคลุมหน้าและช่อดอกส้มตามแบบฉบับของเจ้าสาวชาวยุโรป เธอนั่งรถม้าไปยังโบสถ์เพื่อพบกับตามาญโญและแขกผู้ร่วมงานจำนวนมาก ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ รวมไปถึงทูตจากประเทศต่าง ๆ
1
📌 ชายผู้ออกแบบสยามด้วยสถาปัตยกรรม
ชีวิตหลังแต่งงานของตามาญโญก็ยังคงเป็นไปอย่างเรียบง่าย ห้องทำงานของตามาญโญเป็นเพียงแค่ห้องเล็ก ๆ ที่ไม่ได้มีของหรูหราตั้งไว้มากมาย แต่ถึงอย่างนั้นห้องทำงานเล็ก ๆ นี้เองที่เป็นสถานที่ที่ให้กำเนิดโครงการสถาปัตยกรรมใหญ่ ๆ ในไทยที่ยังคงตั้งตระหง่านมาจนถึงทุกวันนี้ตั้งแต่ตำหนักในพระราชวังพญาไท พระที่นั่งอนันตสมาคม สถานีรถไฟหัวลำโพง ไปจนถึงห้องสมุดเนลสันเฮส์
5
นอกจากนี้ในงานมหกรรมนานาชาติที่ตูรินเอง ตามาญโญ ก็ได้ออกแบบศาลาไทยเพื่อนำไปจัดแสดง รวมไปถึงศาลาไทยที่นำไปจัดแสดงที่ซาน ฟรานซิสโกด้วย ตามาญโญจึงกลายเป็นชาวต่างชาติคนสำคัญที่นำเอารูปแบบของสถาปัตยกรรมไทยไปสู่สายตาชาวโลก
5
ในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 1 ตามาญโญได้ออกแบบงานสถาปัตยกรรมชิ้นใหญ่เพิ่มขึ้นอีกอย่างบ้านนรสิงห์และบ้านพิษณุโลก ซึ่งหยิบเอาสไตล์สถาปัตยกรรมแบบเวนิช มาประยุกต์ใช้ รวมไปถึงการสร้างสนามกีฬา สนามม้า และที่พักชายทะเลของพระบรมศานุวงศ์ด้วย
3
สถาปัตยกรรมฝีมือของตามาญโญนั้นมีมากมายยากที่จะกล่าวออกมาได้ครบหมด ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ก็สะท้อนให้เห็นถึงการทุ่มเทในการงานของเขา และความขยันหมั่นเพียร ซึ่งก็มีส่วนสำคัญอย่างมากในการพัฒนาประเทศไทยให้ก้าวไปข้างหน้าในเรื่องของศิลปวัฒนธรรม และการผังเมือง
เขาได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งจากรัฐบาลสยาม รัฐบาลอิตาลี และรัฐบาลฝรั่งเศส รวมไปถึงได้รับการแต่งตั้งเป็นราชบัณฑิตด้านสถาปัตยกรรมโดยสถาบันศิลปะอัลแบร์ตีน
3
ซึ่งเป็นสถาบันที่มอบความรู้ด้านสถาปัตยกรรมให้กับเขาเมื่อครั้งเยาว์วัย ซึ่งหลังจากหมดสัญญาจ้างกับทางสยามแล้ว เขาก็ได้เดินทางกลับอิตาลีซึ่งอยู่ในช่วงต้นของรัฐบาลฟาสซิสต์ และยังคงประกอบอาชีพสถาปนิกอยู่จนถึงแก่กรรมในปี 1941 ด้วยโรคมะเร็ง
เรื่องราวของตามาญโญอาจจะไม่ได้ดูหวือหวามากนักในแง่มุมของชีวประวัติ และอาจจะดูน่าเบื่อด้วยซ้ำไป แต่ในขณะเดียวกันชีวประวัติที่ไม่หวือหวานี้เองก็ได้สะท้อนให้เห็นถึงอุปนิสัยของตัวตามาญโญที่เป็นคนเงียบ ๆ และขี้อาย
3
แต่ในขณะเดียวกันมันก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการทำงานของเขาแต่อย่างใด โดยมีผลงานต่าง ๆ ของเขาที่ยังคงตั้งตระหง่านอยู่ท่ามกลางความเป็นไปของโลกปัจจุบันเป็นตัวพิสูจน์ถึงคุณค่าในความสามารถของเขา
3
ซึ่งเป็นมรดกยุโรปที่ตกทอดมาจนถึงปัจจุบันและเป็นร่องรอย “ฝรั่งในสยาม” ซึ่งเป็นอีกหนึ่งหมุดหลักของการก้าวไปสู่สากลของสยามประเทศในขณะนั้น
4
อ้างอิง :
Piazzardi, Paolo, and Alberto Cassio. Italiani alla corte del siam = Italians at the Court of Siam = ชาวอิตาเลี่ยนในราชสำนักไทย: On the occasion of the 140th anniversary of diplomatic relations between the Kingdom of Thailand and Italy. Bangkok, Thailand: The Embassy of Italy and the Ministry of Culture of the Kingdom of Thailand, 2010.
โฆษณา