29 ก.ย. 2023 เวลา 02:00 • ดนตรี เพลง
หนานจิง

ขับ “บุหลันลอยเลื่อน”รำ “อาภรณ์ปุยเมฆของรุ้งกินน้ำ”|中秋节:泰国《月转曲》与中国《霓裳曲》

Table of content · 内容
1、เทศกาลไหว้พระจันทร์พอสังเขป|中秋节简介
1.1 ที่มาของชื่อ “จงชิว”|中秋节别称来源
1.2 ตำนานเรื่องเล่า|中秋节中传说
1.3 พระจันทร์และสัญลักษณ์ในวัฒนธรรมจีน|中国的月亮及其艺术的象征
1.4 ประเพณีนิยมในเทศกาลไหว้พระจันทร์|中秋节习俗
2、จันทราคืนนั้นในพระสุบิน|皇上梦中之月
2.1 ประวัติเพลง “บุหลันลอยเลื่อน”|泰国《月转曲》来历
2.2 ประวัติเพลง “อาภรณ์ปุยเมฆของรุ้งกินน้ำ”|中国《霓裳曲》来历
3、บทวิเคราะห์: ความเหมือนในความต่าง|对比分析
4、ตัวอย่างวีดีโอจะอยู่ในช่องคอมเมนต์
หากใครที่เป็นนักดนตรีไทยคงจะหุ้นหูคุ้นตากับเพลงที่ชื่อว่า “บุหลันลอยเลื่อน” แน่นอน เพราะเนื่องด้วยมรท่วงทำนองที่ไพเราะเสนาะหูแล้ว เพลงนี้ก็มีสตอรี่ที่มาที่ไปที่น่าสนใจเช่นกัน ซึ่งเพลงดังกล่าวเป็นผลงานพระราชนิพนธ์ใน “รัชกาลที่ 2” นั่นเอง
เรื่องมีอยู่ว่า ครั้งหนึ่งร.2 กำลังว่าราชการอยู่ก็ได้รวบรวมเหล่ากวีชื่อดังหลายท่าน (สุนทรภู่ก็ติดในแรงค์ด้วย) มาช่วยกันแต่งบทละคร ทั้งยังให้มีคนร้อง คนรำ เพื่อทดสอบความเหมาะสมไปพร้อมกับบทละครที่แต่ง โดยปกติคนเราเวลาจดจ่ออะไรสักอย่างก็จะเก็บไปฝันต่าง ๆ นานา ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร……
ในคืนหนึ่ง ร.2 ก็ได้ฝันว่าตนเห็นดวงจันทร์เต็มดวงลอยอยู่กลางท้องฟ้า พร้อมกับมีดสียงเพลงเพราะ ๆ เป็นแบ็คกราวด์เคล้ากับแสงจันทร์ที่สาดส่อง แต่น่าเสียดายที่ท่านกลับตื่นขึ้นมากลางดึกเสียก่อน แต่ยังดีที่เสียงเพลงเหล่านั้นยังติดหูติดใจอยู่ ครั้นแล้วก็คว้าเอาซอมสามสายคู่ใจที่ชื่อ “ซอสายฟ้าฟาด” ขึ้นมาบรรเลงเพลงเหล่านั้น นั่นจึงเป็นที่มาของที่เพลง “บุหลันเลื่อนลอยฟ้า”
แต่รู้หรือไม่ สตอรี่ความฝันของร.2 กลับละม้ายคล้ายคลึงกับนิทานเรื่อง “พระเจ้าถังเสวียนจงประพาสดวงจันทร์《唐明皇游月宫》” ของจีนเลยทีเดียว แล้วเรื่องราวจะเป็นอย่างไร เดี๋ยวเราจะเล่าให้ฟัง!
เทศกาลไหว้พระจันทร์พอสังเขป|中秋节简介
“เทศกาลไหว้พระจันทร์” หรือ “จงชิวเจี๋ย(中秋节)” มีวิวัฒนาการมาจากการบูชาปราฏการณ์ทางธรรมชาติและท้องฟ้าโบราณ ในสมัยโบราณเทศกาลไหว้พระจันทร์(祭月节)จะจัดในช่วงอนุฤดูชิวเฟน(秋分;วันศารทวิษุวัต)
อย่างไรก็ตาม เมื่อประวัติศาสตร์มีการพัฒนาอยู่เรื่อยๆ จึงทำให้เทศกาลนี้ถูกรวมเข้าไปในปฏิทินเซี่ยลี่(阴历;夏历)ต่อมาก็มีการปรับห้วงเวลาของเทศกาลไหว้พระจันทร์มาเป็นวันที่ 15 เดือน 8(农历八月十五)ตามปฏิทินการเกษตรแทนแทน
แต่เมื่อเวลาผ่านไป การไหว้พระจันทร์ก็ยังคงมีเช่นเดิม หากแต่ถูกประดับตกแต่งด้วยเรื่องราวของตำนานมากขึ้น เพื่อให้เทศกาลนี้มีกิมมิคที่น่าค้นหาอีกด้วย
เทศกาลนี้เริ่มต้นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ถัง(唐朝)เจริญรุ่งเรื่องในสมัยราชวงศ์ซ่ง(宋朝)แล้วมีเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน กล่าวกันว่าพระจันทร์ในเทศกาลนี้สวยที่สุดในฤดูใบไม้ร่วงและมีนัยยะของการกลับมาเจอกันอีกครั้งของคนในครอบครัวและความสมัครสมานสามัคคีกลมเกลียวกัน
🔹ที่มาของชื่อ “จงชิว”|中秋节别称来源
ตามหลักปฏิทินจีน เดือน 8 เมื่อเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วงจะถือเป็นเดือนที่สองของฤดูใบไม้ร่วง เรียกว่า “จ้งชิว(仲秋)” และวันที่ 15 เดือน 8 ก็อยู่กลางเดือนจ้งชิวพอดีจึงเรียกว่า “จงชิว(中秋)” นั่นเอง แต่ก็ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น
  • “เทศกาลไหว้พระจันทร์(祭月节)” มีที่มาจากในสมัยโบราณมีกิจกรรมในคืนชิวเฟน(秋分夕月)
  • “เทศกาลเดือนแปด(八月节)” หรือ “ครึ่งเดือนแปด(八月半)” มีที่จากเทศกาลไหว้พระจันทร์จะจัดขึ้นในวันที่ 15 เดือน 8
  • “ถวนหยวน(团圆节;เทศกาลแห่งความกลมเกลียว)” มีที่มาจากพระจันทร์ในวันนี้จะเต็มดวง ซึ่งมีนัยยะของการกลับมาพร้อมหน้าพร้อมตากันของคนในครอบครัว
  • “วันเกิดของแสงจันทร์(月光诞)” เป็นคำเรียกท้องถิ่นในมณฑลกว่างตง เขตกว่างฝู(广东广府地区)
  • “จันทร์สกาวพอดี(端正月)” มีที่มาจากพระจันทร์ในวันที่ 15 เดือน 8 นั้นส่องสว่างที่สุด
🔹ตำนานเรื่องเล่า|中秋节中传说
1. ฉางเอ๋อเหินสู่ดวงจันทร์《嫦娥奔月》
2. กระต่ายหยกตำสมุนไพร《玉兔捣药》
3. อู๋กังโค่นต้นหอมหมื่นลี้《吴刚折桂/吴刚伐桂》
4. พระเจ้าถังเสวียนจงประพาสวังจันทรา《唐明皇游月宫》
5. กบฎขนมไหว้พระจันทร์《月饼起义》
🔹พระจันทร์และสัญลักษณ์ในวัฒนธรรมจีน|中国的月亮及其艺术的象征
▶️คำนิยาม
.
สัญลักษณ์(象征)หรือ Symbol โดยพื้นฐานหมายถึง สิ่งที่ใช้แทนความหมายของอีกสิ่งหนึ่ง หรือถ้าจะกล่าวให้ลึกลงไปอีก สัญลักษณ์ หมายถึง วัตถุ อักษร รูปร่าง หรือสีสัน ซึ่งใช้ในการสื่อความหมายหรือแนวความคิดให้มนุษย์เข้าใจไปในทางเดียวกัน อาจจะเป็นรูปธรรมหรือนามธรรมก็ได้ ในทางปรัชญามักมีคำนิยามว่า ทุกสิ่งทุกอย่างในธรรมชาติ หรือแม้ในจักรวาล สามารถแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ทั้งสิ้น
▶️พระจันทร์กับสัญลักษณ์ของจีน
.
นับแต่โบราณนานมา พระจันทร์มีความสำคัญเป็นพิเศษต่อวัฒนธรรมจีนอย่างยิ่ง ที่ซึ่งเชื่อมโยงในทุกด้านของภูมิปัญญา จิตวิทยาและศิลปะ ดังปรากฎในงานวรรณกรรมหรือบทเพลงต่าง ๆ ของจีน
ความหมายเชิงสัญลักษณ์ของพระจันทร์ประการแรก:
การจุติของผู้เป็นมารดาและผู้หญิง ซึ่งสะท้อนถึงการให้เคารพต่อเพศหญิง ทั้งยังแสดงถึงความสงบสุขและความปรองดองของสังคมที่อยู่ในระบบ “สังคมอำนาจฝ่ายมารดา(母系制度;Matrilineal society)” ในทางกลับกันก็สะท้อนความคับข้องใจและความทุกข์ผู้หญิง
ความหมายเชิงสัญลักษณ์ของพระจันทร์ประการที่สอง:
บางครั้งสลัว ๆ บางครั้งก็ส่องแสง บ้างครั้งก็กลม ๆ บางครั้งก็เป็นเสี้ยว ซึ่งดวงจันทร์ไม่เพียงเป็นตัวแทนของการเคลื่อนไหวเท่านั้น แต่ยังเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นนิรันดร์อีกด้วย ดังนั้น จึงหมายถึงการชี้นำให้ผู้คนแสดงความเคารพต่อจิตวิญญาณแห่งปรัชญาอันไม่มีที่สิ้นสุด เป็นแรงบันดาลใจให้ผู้คนคิดถึงความเป็นนิรันดร์ของจักรวาล และเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้คนรับรู้ความยิ่งใหญ่ของเกี่ยวกับสวรรค์และชีวิต
🔹ประเพณีนิยมในเทศกาลไหว้พระจันทร์|中秋节习俗
1. ไหว้พระจันทร์(拜月)
2. การชมจันทร์(赏月)
3. ร่ำสุราดอกหอมหมื่นลี้(饮桂花酒)
4. ลอยโคมไฟ(燃灯)
5. ทานขนมไหว้พระจันทร์(食月饼)
จันทราคืนนั้นในพระสุบิน|皇上梦中之月
🔹ประวัติเพลง “บุหลันลอยเลื่อน”|泰国《月转曲》来历
เพลง “บุหลันลอยเลื่อนฟ้า” เป็นผลงานพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 ซึ่งพระองค์เป็นศิลปินที่ชำนาญทั้งศาสตร์แห่งกวีและสังคีต ซึ่งยากจะหาใครมาเปรียบได้ ทั้งโปรดซอสามสายเป็นพิเศษ จนกระทั่งมีการโปรดให้ยกหรืองดเก็บภาษีอากรส่วนใดก็ตามที่มีต้นมะพร้าวชนิดพิเศษที่ใช้ทำกะโหลกซอสามสาย โดยมีซอคู่ใจที่ชื่อ “ซอสายฟ้าฟาด”หากไม่มีผู้มาร่วมวงด้วยพระองค์ก็จะเดี่ยวซอสามสายเอง
ครั้งหนึ่ง ร.2 กำลังออกว่าราชการอยู่ก็ได้รวบรวมเหล่ากวีลือชื่อทั่วแผ่นดิน (สุนทรภู่ท็อปฟอร์มแบบไม่ต้องถาม) มาช่วยกันแต่งบทละคร ทั้งยังโปรดให้มีคนขับร้อง คนรำ เพื่อทดสอบความเหมาะสมไปพร้อมกับบทละครที่ได้แต่ง โดยปกติคนเราเวลาจดจ่ออะไรสักอย่างก็จะเก็บไปฝันต่าง ๆ นานา ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร……
ในคืนหนึ่ง ร.2 ได้เข้าบรรทมแล้วพระสุบินว่า พระองค์เสด็จไปในสถานที่แห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นสถานที่ที่สวยงามอย่างยิ่งจนไม่มีที่ใดในโลกเสมอเหมือน แล้วทอดพระเนตรเห็นพระจันทร์ที่สว่างไสวค่อย ๆ เคลื่อนเข้ามาใกล้ แล้วสาดแสงทั่วบริเวณ ทันใดนั้น ก็ปรากฏเสียงทิพยดนตรีจากแห่งหนใดก็ไม่ทราบ แว่วดังกังวานไพเราะเสนาะหอย่างยิ่ง พระองค์เคลิบเคลิ้มเพลิดเพลินไปกับเสียงนั้นอย่างสมฤทัย จากนั้น พระจันทร์นั้นก็ค่อย ๆ เคลื่อนลอยห่างออกไปในท้องฟ้า พร้อม ๆ กับเสียงทิพย์นั้นค่อย ๆ เลือนหายไป
พลันตื่นจากบรรทม แม้ตื่นแล้วแต่เสียงแว่วสำเนียงดนตรีในฝันก็ยังกังวานอยู่ จึงเร่งให้ตามหามหาดเล็กเจ้าพนักงานสังคีตเข้ามาต่อเพลงในคืนนั้น โดยพระราชทานนามว่า “บุหลันลอยเลื่อน” หรือ “บุหลันลอยเลื่อนฟ้า”
🔹ประวัติเพลง “อาภรณ์ปุยเมฆของรุ้งกินน้ำ”|中国《霓裳曲》来历
“เพลงอาภรณ์ปุยเมฆของรุ้งกินน้ำ《霓裳羽衣曲》” หรือ “ระบำอาภรณ์ปุยเมฆของรุ้งกินน้ำ《霓裳羽衣舞》” เดิมชื่อ “เพลงแห่งพราหมิณ《婆罗门曲》” ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากประเทศอินเดีย เพลงนี้เป็นผลงานกระประพันธ์ของพระเจ้าถังเสวียนจง(唐玄宗李隆基)แห่งราชวงศ์ถัง โดยถือว่าเป็นเพลงสำคัญประจำราชสำนักคือ เป็นบทเพลงที่แต่งสำหรับศาสนาเต๋า และใช้ในการแสดงในอารามบรมวิสุทธิ์หรือไท่ชิงกง(太清宫)เพื่อถวายแด่บรมศาสดาเล่าจื๊อ(老子)โดยมีพระสนมคนโปรดอย่าง “หยางอวี้หวน(杨玉环)” หรือ “หยางกุ้ยเฟย์(杨贵妃)” เป็นคนแสดงหลัก
เนื้อหาในเพลงพรรณนาถึงชีวิตเทพเซียนบนสรวงสวรรค์ รวมถึงตำนานต่าง ๆ จากศาสนาเต๋า ซึ่งช่วยยกระดับวรรณกรรมทางศาสนาเต๋าให้สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม หลังเกิดกบฎอันสื่อ(安史之乱)เพลงนี้ก็หายสาบสูญ ต่อมาในสมัยราชวงศ์ถังใต้ หลี่อวี้(李煜)และพระราชินีโจวเอ๋อหวง(周娥皇)ได้แต่งกลับมาเกือบเสร็จสมบูรณ์ แต่ขณะนั้นนครจินหลิง(金陵城)ถูกตีแตก หลี่อวี้จึงสั่งเผาเมืองทิ้งเสีย
ในหนังสือเกร็ดประวัติศาสตร์ราชวงศ์ถัง《唐逸史》ระบุไว้ว่า พระเจ้าถังเสวียนจงเป็นฮ่องเต้ที่ปรีชาสามารถในศาสตร์ดนตรีและเล่นเครื่องดนตรีได้หลากหลายชนิด ณ คืนจงชิวในรัชศกไคหยวน(开元年中秋夜) นักพรตหลัวกงหยวน(罗公远道士)ได้เชิญพระเจ้าถังเสวียนจงไปประพาสวังจันทรา ทันทีที่โยนไม้คทาขึ้นไปในอากาศก็เกิดเป็นสะพานเงินทอดยาวลงมา
หลังข้ามสะพานเงินและเดินไปหลายสิบลี้ก็มาถึงหน้าประตูวิมานขนาดใหญ่ เหนือประตูมีแผ่นป้ายอักษรขนาดใหญ่เขียนว่า “กว่างหานชิงซวีจือฝู่(广寒清虚之府;วิมานไพศาลยะเยือก)” นักพรตจึงบอกกับพระเจ้าถังเสวียนจงว่า “นี่คือวังจันทรา『此乃月宫也』” พระองค์เห็นเทพธิดานับร้อยคนสวมเสื้อผ้าที่เรียบ ๆ แต่พลิ้วไหวและสง่างามกำลังร่ายรำตามเสียงเพลงในลานนั้น พระเจ้าถังเสวียนจงรู้สึกฉงนกับภาพเหล่านั้นและจดจำเพลงเต้นรำอันไพเราะของเทพธิดาอย่างเงียบ ๆ
ครั้นตื่นจากความฝันและกลับมายังโลกมนุษย์ พระองค์จึงสั่งให้เจ้าพนักงานการสังคีตเข้ามาแต่งเพลงที่ไพเราะตามทำนองที่ได้ยิน แล้วเพิ่มการเต้นรำเพื่อเลียนแบบการร่ายรำของเทพธิดาเหล่านั้น ซึ่งบทเพลงนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อ “เพลงอาภรณ์ปุยเมฆของรุ้งกินน้ำ《霓裳羽衣曲》” อันโด่งดังที่สืบทอดกันมา
การประพาสวังจันทราของพระเจ้าถังเสวียนจงกลายเป็นตำนานที่ถกกล่าวขานในทุกยุคทุกสมัย วังจันทรานั้นจึงเป็นที่รู้กันในชื่อ “วังไพศาลยะเยือก(广寒宫)” นั่นเอง
🔹บทวิเคราะห์: ความเหมือนในความต่าง|对比分析
ในหนังสือ “เทศกาลจีนและการเซ่นไหว้ (สำนักพิมพ์ศิลปวัฒนธรรม, 2557)” ของอ.ถาวร สิกขโกศล สุดยอดผู้รอบรู้ด้านจีนศึกษา ได้อ้างอิง บันทึกประพาสเมืองมังกร หมวดพระเจ้าหมิงหวงสุบินประพาสวิมานไพศาลยะเยือก《龙城录·明皇梦游广寒宫》ว่ามีการบันทึกไว้ว่า:
“รัชศกไคหยวนปีที่ 6 องค์ฮ่องเต้พร้อมด้วยเทวาจารย์เซินเทียนซือและนักพรตหงโตวเค่อ เดือน 8 ชมจันทร์ในคืน ‘จงชิว’ ด้วยอิทธิฤทธิ์ของเทียนซือจึงพาทั้ง 3 เหาะไปยังดวงจันทร์ บนโลกพระจันทร์นั้นมีตำหนักแก้วงามระยับ อากาศหนาวยะเยือก น้ำค้างมากจนเสื้อผ้าชุ่มไปหมด ที่ตำหนักมีป้ายชื่อพาดขวางระบุคำว่า ‘กว่างหานชิงซวีจือฝู่ (วิมานไพศาลยะเยือก/วิศาลสีตลวิมาน)’ แต่หน้าตำหนักหรือวิมานที่ว่า มีทหารถืออาวุธเฝ้าอยู่จึงทำให้พระเจ้าถังเสวียนจงและพวกทั้งสามเสด็จเข้าไปข้างในไม่ได้
เซินเทียนซือจึงนำพระองค์เสด็จเข้าไปในหมู่เมฆ แล้วก็ได้กลิ่นหอมโชยมา ท้องฟ้าเบื้องต่ำลงไปมีเหล่าเซียนมากมาย บ้างขี่เมฆ บ้างขี่นกกระเรียน ท่องอยู่ในอากาศ จากนั้นก็มีแสงพร่างพรายนัยน์เนตร มาพร้อมกับไอหมอกพัดโชยหนัก จนไม่อาจเสด็จต่อไปได้ ในขณะเดียวกันนั้นเอง นางกำนัลของเทพธิดาบนสรวงสวรรค์สิบกว่านาง สวมผ้าขาวชายแขนยาวพลิ้ว ขี่หงส์มาจับระบำรำฟ้อนที่ใต้ต้นกุ้ยฮวา (ดอกหอมหมืนลี้) พระองค์ก็ประทับใจอย่างยิ่ง ครั้นเมื่อตื่นจากบรรทมก็เริ่มประพันธ์บทเพลงในชื่อ ‘หนีฉางอวี่อีชวี (อาภรณ์ปุยเมฆของรุ้งกินน้ำ)’”
『开元六年,上皇与申天师、道士鸿都客,八月望日夜,因天师作术,三人同在云上游月中。过一大门,在玉光中飞浮,宫殿往来无定,寒气逼人,露濡衣袖皆湿。顷见一大宫府,榜曰“广寒清虚之府”。其守门兵卫甚严,白刃粲然,望之如凝雪。时三人皆止其下,不得入。天师引上皇起跃,身如在烟雾中。下视王城崔巍,但闻清香霭郁,视下若万里琉璃之田。其间见有仙人道士,乘云驾鹤,往来若游戏。少焉,步向前,觉翠色冷光,相射目眩,极寒不可进。下见有素娥十余人,皆皓衣乘白鸾往来,舞笑于广陵大桂树之下。又听乐音嘈杂,亦甚清丽。上皇素解音律,熟览而意已传。顷天师亟欲归,三人下若旋风。忽悟,若醉中梦回尔。次夜,上皇欲再求往,天师但笑谢而不允。上皇因想素娥风中飞舞袖,被编律成音,制《霓裳羽衣舞曲》。自古洎今,清丽无复加于是矣。』
จุดเหมือนระหว่างพระเจ้าถังเสวียนจงกับรัชกาลที่ 2 คือ เจนจบดุริยางคศาสตร์ ซึ่งบทเพลงที่พระเจ้าถังเสวียนนำมาสอนในราชสำนักก็ไม่ต่างอะไรไปจากตำนานเพลงบุหลันเลื่อนลอยฟ้าเลย
แต่เพลงที่พระองค์นำมาสอนให้มนุษย์โลกรู้จักกันนั้น ทรงพระราชทานชื่อเอาไว้ว่า “หนีฉางอวี่อีชวี《霓裳羽衣曲》” ซึ่งแปลว่า “อาภรณ์ปุยเมฆของรุ้งกินน้ำ” ไม่ได้มีส่วนไหนในชื่อที่พาดพิงชื่อพระจันทร์ตรง ๆ เหมือนกับเพลงบุหลันลอยเลื่อนของไทย
คนไทยยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ฯ ก็รู้จักตำนานของเพลงจีนดังกล่าวแตกต่างไปจากสำนวนข้างต้น ทั้งสองสำนวน เพราะในนิยายอิงพงศาวดารจีนเรื่อง ซุยถัง (หมายถึงเรื่องของราชวงศ์สุยละราชวงศ์ถัง ซึ่งฉบับแปลไทยสะกดว่า ส้วยถัง) ได้กล่าวถึงตำนานเพลงนี้ไว้ว่า
“เมื่อพระองค์ได้ราชสมบัตินั้นทรงพระสุบินว่าพระองค์เสด็จเที่ยวไปในวิมานจันทร์แล้วฟังนางฟ้าขับเสียงไพเราะ พระเจ้าเหียนจงเม้งเต้ (พระเจ้าถังเสวียนจง) จึงถามนางฟ้านั้นว่า เพลงนี้เรียกชื่อเพลงอันใด นางฟ้าบอกว่าชื่อ “หงีเสียงอูอีเค็ก” (หนีฉางอวี่อีชวี) ครั้นพระองค์ตื่นจากบรรทมก็จำกลอนเพลงนั้นไว้ได้ พระองค์จึงสอนพวกพนักงานให้ขับ”
จะเห็นไดว่ารายละเอียดในสำนวนที่คนไทยนำมาแปลนั้น มีรายละเอียดใกล้เคียงตำนานเพลงบุหลันลอยเลื่อนไม่มีผิด อย่างไรก็ตาม ก็มิอาจทราบได้แน่ชัดว่า ตำนานเพลงบุหลันลอยเลื่อนจะถูกแต่งขึ้นภายหลังจากที่มีการแปลหนังสือสุยถังของจีน ออกมาเป็นหนังสือส้วยถัง ฉบับภาษาไทย และก็อาจจะเกี่ยวข้องกับประเพณีไหว้พระจันทร์ของชาวจีนที่เข้ามาอยู่ในสยามเมื่อต้นกรุงรัตนโกสินทร์ก็เป็นได้
สามารถสนับสนุนเพจเพื่อเป็นทุนการศึกษาได้ที่
💵PromptPay: 0954289757
ติดตามและอ่านเพิ่มเติมได้ที่
อ้างอิง|参考
[10] ถาวร สิกขโกศล. (2557). เทศกาลจีน และการเซ่นไหว้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.
โฆษณา