Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
OnePoverty
•
ติดตาม
23 ก.ย. 2023 เวลา 00:37 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
อยากเพาะเห็ด ต้องรู้ระบบผลิตและมูลค่าเศรษฐกิจ
”เห็ด“ เป็นแหล่งอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ และมีคุณค่าทางโภชนาการสูง เสนอเป็น Soft Power ด้านวัฒนธรรมการกินของคนภาคอีสาน การเพาะ “เห็ดเศรษฐกิจ” แนวโน้มมีความต้องการบริโภคมากขึ้น
3
เมื่อปี 2563 ตลาดผลผลิตเห็ดในประเทศไทยมีมูลค่าทางเศรษฐกิจ 9,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 300% (สวทช.,2564) นอกจากนั้น “เห็ดป่า” ที่เกิดตามธรรมชาติ ยังเป็นความมั่นคงทางอาหารให้กับชาวบ้านโดยเฉพาะคนฐานราก เห็ดเป็นแหล่งอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ และมีคุณค่าทางโภชนาการสูง เสนอเป็น Soft Power ด้านวัฒนธรรมการกินของคนภาคอีสาน
[รู้หรือไม่] ประเทศจีน เมื่อปี 2560 มีผลผลิตเห็ดมากที่สุดในโลก มูลค่าการตลาดสูงถึง 325,217 ล้านบาท
การศึกษาข้อมูลการผลิตแต่ละขั้นตอนให้เข้าใจ วิเคราะห์ข้อมูลต้นทุน รายได้ และส่วนแบ่งกำไรที่คาดว่าจะได้ อย่าเพิ่งตัดสินใจตามกระแส เนื่องจากการลงทุนมีความเสี่ยงสูง จึงได้รวบรวมข้อมูลการเพาะเห็ดเศรษฐกิจ (ในถุงพลาสติก) ตระกูลเห็ดนางรม นางฟ้า เพื่อเป็นสารตั้งต้นประกอบการตัดสินใจ วางแผนลงทุนให้เหมาะสมและรับความเสี่ยง สู่วิถี "เส้นทางนางฟ้า"
การเพาะเห็ดมีระบบผลิตที่สำคัญ 4 ขั้นตอน ได้แก่ การผลิตหัวเชื้อเห็ดในอาหารวุ้น การขยายเชื้อเห็ดในเมล็ดข้าวฟ่าง การผลิตก้อนเห็ด และการเปิดดอกเห็ด มีรายละเอียดดังนี้
1. การผลิตหัวเชื้อเห็ดในอาหารวุ้น
เป็นขั้นตอนผลิตหัวเชื้อเห็ดบริสุทธิ์รุ่นแรก เพื่อเตรียมขยายพันธุ์ มีวิธีการผลิต ได้แก่ การคัดเลือกแม่พันธุ์เห็ดสุขภาพดี การเตรียมอาหารวุ้นจากมันฝรั่ง(PDA) และการตัดเชื้อเห็ดลงในอาหารวุ้น มีระยะเวลาบ่มให้เส้นใยเดินเต็ม 7-10 วัน
[ข้อควรรู้] หัวเชื้อเห็ดทำได้ 2 แบบ คือ การตัดเชื้อเห็ดเอง หรือนำพันธุ์มาจากธนาคารเชื้อเห็ด (NBMB และ NBT) ห้ามขยายพันธุ์ในอาหารวุ้นเกิน 5 รุ่น จะส่งผลให้คุณภาพเชื้อเห็ดไม่แข็งแรง เกิดเชื้อราง่าย ต้องมีห้องทดลองพื้นที่ปิดหรือตู้ที่สามารถควบคุมอากาศได้
2. การขยายเชื้อเห็ดในเมล็ดข้าวฟ่าง
เป็นขั้นตอนการตัดเชื้อเห็ดจากอาหารวุ้น ไปขยายพันธุ์ลงในอาหารเมล็ดข้าวฟ่าง มีวิธีการผลิต ได้แก่ การเตรียมเมล็ดข้าวฟ่างในขวด และการตัดเชื้อเห็ดลงในขวดเมล็ดข้าวฟ่าง มีระยะเวลาบ่มให้เส้นใยเดินเต็ม 15-30 วัน ต้นทุนผลิตประมาณ 5-7 บาทต่อขวด ราคาจำหน่ายขวดละ 10-15 บาท
[ข้อควรรู้] เชื้อเห็ดในเมล็ดข้าวฟ่าง 1 ขวดจะขยายพันธุ์ลงในก้อนเห็ดได้ 30-35 ก้อน ต้องมีห้องทดลองพื้นที่ปิดหรือตู้ที่สามารถควบคุมอากาศได้
3. การผลิตก้อนเห็ด (ในถุงพลาสติก)
ขั้นตอนการบรรจุก้อนจากขี้เลื่อยไม้ยางพารา (ในถุงพลาสติก) เพื่อขยายเชื้อเห็ดจากเมล็ดข้าวฟ่างลงในก้อนเห็ด มีวิธีการผลิต ได้แก่ การผสมสูตรอาหารเห็ด การบรรจุอัดก้อน การนึ่งก้อนฆ่าเชื้อรา และการหยอดเชื้อเห็ดลงในก้อน มีระยะเวลาบ่มให้เส้นใยเดินเต็ม 30-60 วัน ต้นทุนผลิตประมาณ 5 บาทต่อก้อน ราคาจำหน่ายก้อนละ 10-15 บาท
[ข้อควรรู้] การนึ่งก้อนฆ่าเชื้อราเริ่มนับเวลาเมื่ออุณหภูมิสูงที่ 100 องศาเซลเซียส นาน 4 ชั่วโมงขึ้นไป แนะนำเทคโนโลยีหม้ออบแรงดันไอน้ำนึ่ง และการหยอดเชื้อเห็ดลงก้อนควรทำในพื้นที่ปิด
4. การเปิดดอกเห็ด
ขั้นตอนการเปิดดอกเห็ดหรือเลี้ยงให้เกิดดอก มีวิธีการผลิต ได้แก่ การทำโรงเรือน การทำระบบน้ำ การเปิดหน้าก้อนเห็ด การเก็บเกี่ยวผลผลิต และการดูแล มีระยะเวลาเส้นใยเชื้อเห็ดเดินให้เกิดดอกประมาณ 4-6 เดือน ได้ผลผลิตเฉลี่ย 200-400 กรัมต่อก้อน มีต้นทุนผลิตประมาณ 10-15 บาทต่อก้อน
[ข้อควรรู้] สร้างโรงเรือนขนาดที่เหมาะสมกับชนิดเห็ดและจำนวนก้อน ดูแลโรงเรือนให้สะอาด ถ้ามีก้อนเห็ดเกิดเชื้อราให้แยกของทันที
การเพาะเห็ดตั้งแต่ต้นจนกระทั่งเกิดดอก รวมระยะเวลาประมาณ 2 เดือน เห็ดมีวงจรชีวิตที่กำหนด “แผนการผลิต” เอง ในแต่ละขั้นตอนมีเวลาคงอยู่ ขยายพันธุ์ และดับสูญ การสร้างความสมดุลให้เหมาะสมกับระบบนิเวศน์ของเห็ด ได้แก่ เวลา ฤดูกาล แหล่งอาหาร แสง อากาศ และความชื้น มีผลต่อการเกิดดอก
หัวใจสำคัญในการเพาะเห็ดคือ “กำจัดราเสีย เติมราดี” หมั่นสังเกตการเปลี่ยนแปลง เชื้อเห็ดที่มีคุณภาพเดิน “เส้นใยสีขาว” บ่งบอกถึงความพร้อมจะเกิดดอกหรือขยายพันธุ์ในแต่ละขั้นตอนผลิต ถือเป็นรหัสควบคุมการผลิตเห็ด ต้องลองสัมผัสกับความมหัศจรรย์นี้เอง แต่ความจริงวงจรเห็ดสู้ชีวิตมาก ถึงแม้จะทิ้งก้อนไปแล้วแต่เมื่ออากาศเหมาะสมก็พร้อมจะเกิดดอกตลอดเวลา
ในขั้นตอนผลิตที่ 1 และ 2 ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการหรือบริษัท ที่ได้รับใบอนุญาตให้ผลิตเชื้อเห็ดและจำหน่วย ใช้ทักษะเชี่ยวชาญและความประณีต มีเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการผลิต และต้องซื่อสัตย์ต่ออาชีพโดยเฉพาะการทำหัวเชื้อเห็ดบริสุทธิ์ ถ้านำแม่พันธุ์ไม่ดีผลิตจะส่งให้ผู้ประกอบการ ในขั้นตอนผลิตที่ 3 และ 4 ได้รับความเสี่ยงเจอกับปัญหาเชื้อเห็ดเดินช้า ก้อนเห็ดเกิดราดำและราเขียวได้ง่าย ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ผลิตเป็นวิสาหกิจชุมชน กลุ่มอาชีพเกษตรในชุมชน และเกษตรกรรายย่อย
มีห่วงโซ่อุปทานดำเนินการผลิต 3 กลุ่มกิจการ ได้แก่ ผู้ผลิตหัวเชื้อเห็ด ผู้ผลิตก้อนเห็ดและเปิดดอกจำหน่าย และผู้เปิดดอกจำหน่าย
ภาพบรรยากาศ
เยี่ยมชม
youtube.com
อยากเพาะเห็ดหารายได้เพิ่ม ต้องเข้าใจระบบผลิต รู้ต้นทุนและกำไร
อ่านบทความเพิ่มเติม https://www.blockdit.com/posts/650e31a906b23f388e2175d1.ภายโครงการวิจัย การพัฒนาระบบห่วงโซ่การผลิตเกษตรมูลค่าสูงด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรม เพ…
การเพาะเห็ด
บันทึก
3
2
22
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
คลังเรื่องเล่าชุมชน
ชุมชนเห็ดเศรษฐกิจ
3
2
22
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย