Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Mr.BlackCatz. Academy
•
ติดตาม
28 ก.ย. 2023 เวลา 15:45 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
อาณาจักรเซลล์ 6 (ไร้เยื่อหุ้ม) | Biology with JRItsme.
เวลาที่ใช้ในการอ่าน 5 นาที
ตอนนี้มาเก็บตกหน่วยงานชนิดอื่นกันครับ เราได้เกรื่นในเรื่อง “ไรโบโซม” [Ribosome] ไปแล้วว่ามันจะผลิตโปรตีนโดยการแปลรหัสในร่างแหเอ็นโดพลาสมิกเหมือนแรงงานในโรงงาน แต่ไรโบโซมยังสามารถเป็นเป็นแม่ค้าผลิตโปรตีนออกมาขายข้างนอกโรงงานได้ด้วย
ไรโบโซมประกอบไปด้วยหน่วยย่อยขนาดเล็กและใหญ่ ที่มา: https://alevelbiology.co.uk/notes/ribosomes-structure-and-functions/
ไรโบโซม เป็นออร์แกนเนลที่ประกอบด้วยโปรตีนและ RNA ของตัวเอง ประกอบด้วยหน่วยย่อยขนาดเล็ก [Small subunit] และหน่วยย่อยขนาดใหญ่ [Large subunit] ประกบกัน สร้างจากนิวคลีโอลัสก่อนพัฒนาเป็นไรโบโซมที่พร้อมใช้งานทั้ง 2 บริเวณ ได้แก่ เกาะที่ผิวของร่างแหเอ็นโดพลาสมิกเพื่อสังเคราะห์โปรตีนส่งออกนอกเซลล์ และล่องลอยตามไซโตพลาสซึมอิสระเพื่อสังเคราะห์โปรตีนใช้ภายในเซลล์
นิวคลีโอลัสผลิตไรโบโซมอออมาใช้งานในกระบวนการแปลรหัส ที่มา: https://www.genome.gov/genetics-glossary/Nucleolus
ไรโบโซมมีบทบาทในการสังเคราะห์โปรตีนขั้นตอนการแปลรหัส [Translation] จาก mRNA ให้เป็นกรดอะมิโนแต่ละชนิดที่ต่อกันเป็นสายโพลิเปปไทด์ ซึ่งจะกลายเป็นเอนไซม์ โปรตีนขนส่ง สารพิษ อื่น ๆ ในอนาคต
ต่อไปคือหน่วยงานที่ทำหน้าที่เกี่ยวกบการแบ่งอาณาจักร นั่นคือ “เซนทริโอล” [Centriole] ที่จะช่วยโยกย้ายคำสั่งพระราชโองการ DNA ให้พร้อมสำหรับอาณาจักรใหม่ทั้งสอง
เซนทริโอลที่ทำหน้าที่แบ่งแยกโครโมโซม ที่มา: https://biologydictionary.net/role-centrioles-play-cell-division/
เซนทริโอล เป็นออร์แกนเนลที่ประกอบด้วยไมโครทูบูลเรียงตัวลักษณะรัศมี 9 กลุ่ม กลุ่มละ 3 แท่ง ทำหน้าที่สร้างเส้นใยยึดจับโครโมโซมและดึงแยกแท่งปาท่องโก๋ออกจากกันระหว่างการแบ่งเซลล์ ทำให้เซลล์ใหม่ทั้งสองที่ถถูกแบ่งมีโครโมโซมที่แบ่งเท่า ๆ กัน ความสามารถพิเศษคือมันสามารถจำลองตัวเอง หรือโคลนตัวเองออกมาได้ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นเมื่อเตรียมความพร้อมการแบ่งเซลล์ และพบได้เฉพาะเซลล์สัตว์เท่านั้น
เซนทริโอลอาจสามารถเป็นโครงสร้างของอวัยวะเคลื่อนที่พิเศษของเซลล์หรือโปรโตซัวบางชนิด ซึ่งเซนทริโอลที่ทำหน้าที่นี้จะมีความแตกต่างจากชนิดที่ใช้ในการแบ่งเซลล์ คือจากที่มีไมโครทูบูลเรียงตัวลักษณะรัศมี 9 กลุ่ม กลุ่มละ 3 แท่ง หรือ 9+0 (9 กลุ่ม 0 แท่งตรงกลาง) จะมีไมโครทูบูลเพิ่มบริเวณกึ่งกลางอีก 2 แท่ง เรียกลักษณะเช่นนี้ว่า 9+2 (9 กลุ่ม กับอีก 2 แท่ง)
โครงสร้างของเเบซัลบอดี (ด้านล่าง) ที่่เป็นเซนทริโอลชนืด 9+0 และที่เป็นอวัยวะเคลื่อนที่ (ด้านบน) ที่เป็นชนิด 9+2 ที่มา: https://pediaa.com/difference-between-cilia-and-flagella/
เซนทริโอลชนิด 9+0 จะยึดกับเยื่อหุ้มเซลล์เปรียบเหมือนเสาเข็มเรียกว่า “เบซัลบอดี” [Basal body] ส่วนเซนทริโอล 9+2 จะยึดออกมาเป็นอวัยวะที่กวัดแกว่งไปได้ ถ้ามีขนาดสั้นจะเรียกว่า “ซีเลีย” [Pilli] พบในพารามีเซียม และหากมีขนาดยาวมากจะเรียกว่า “แฟลกเจลลา” [Flagella] พบในเซลล์อสุจิ
แฟลกเจลลาของยูกลีนา (ด้านบน) และซีเลียของพารามีเซียม (ด้านล่าง) ที่มา: https://microbiologyinfo.com/differences-between-cilia-and-flagella/
ในตอนต่อไปจะเป็นเรื่องโครงร่างของอาณาจักรเซลล์ อย่าลืมติดตามเพจ Mr.BlackCatz. Academy ไว้ในอ้อมอกอ้อมใจ เพื่อไม่พลาดเนื้อหาชีววิทยาฉบับคนทั่วไปเข้าใจง่ายนะครับ
Note
- ไรโบโซม ไม่มีเยื่อหุ้มฟอสโฟลิพิด
- เซนทริโอล ไม่มีเยื่อหุ้มฟอสโฟลิพิด
ภาพปกคือไรโบโซม (ก้อนสีเหลือง) ที่ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราด (SEM) ที่มา:
https://fineartamerica.com/featured/1-ribosomes-sem-science-source.html
ความรู้
ความรู้รอบตัว
วิทยาศาสตร์
บันทึก
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Biology with JRItsme.
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย