30 ก.ย. 2023 เวลา 12:00 • ประวัติศาสตร์

4 สิ่งประดิษฐ์อันยิ่งใหญ่ของจีนที่ ‘ปฏิวัติอารยธรรมโลก’

ประวัติศาสตร์กระแสหลักมักจะพูดถึงความเจริญและอารยธรรมอันสูงส่งจากฟากตะวันตก ไม่ว่าจะเป็นการเดินเรือรอบโลก การล่าอาณานิคม การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ หรือการปฏิวัติอุตสาหกรรม หากแต่นวัตกรรมอันยิ่งใหญ่ของโลกที่ถูกพัฒนาและมีประโยชน์กับผู้คนก็มาจากฝั่งตะวันออกโดยเฉพาะ ‘จีน’ ไม่ใช่น้อย
1
ก่อนที่เราจะมีไอแพด เราใช้กระดาษในการจดบันทึก และจากที่มนุษย์ใช้มือขีดเขียนสิ่งต่างๆ มนุษย์ก็เริ่มรู้จักการพิมพ์เพื่อให้บันทึกสิ่งต่างๆได้รวดเร็วขึ้น ก่อนที่จะมี Google map เราก็ใช้เข็มทิศนำทางมาก่อน และก่อนที่โลกจะมีอาวุธอย่างนิวเคลียร์ ก็มีการพัฒนาจากวัสดุธรรมชาติอย่างกำมะถัน ดินประสิว ผงถ่าน
กระดาษ แท่นพิมพ์ เข็มทิศ และดินปืน จีนเป็นผู้คิดค้นสิ่งประดิษฐ์อันยิ่งใหญ่เหล่านี้และได้เปลี่ยนแปลงอารยธรรมของโลกไปตลอดกาล จนเรียกว่าเป็น ‘4 สิ่งประดิษฐ์อันยิ่งใหญ่ของโลก’ (the Four Great Inventions)
1. กระดาษ (Papermaking)
การคิดค้นกระดาษเกิดขึ้นในปี 105 โดย Cai Lun เจ้าหน้าที่ราชสำนักในราชวงศ์ฮั่น ก่อนหน้า มนุษย์ขีดเขียนคำต่าง ๆ ผ่านใบไม้ หนังสัตว์ ก้อนหิน แผ่นดินเผา ชาวจีนโบราณใช้แผ่นไผ่ แท่งไม้ กระดองเต่า สะบักวัวในการบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ
หากแต่วัสดุเหล่านี้มีความหนักและพกพาลำบาก จึงมีการใช้วัสดุที่น้ำหนักเบาเช่น ไหม (silk) มาทำเป็นแผ่นบางสำหรับบันทึก ซึ่งมีราคาแพงและถูกจำกัดเฉพาะในราชสำนักเท่านััน
เพื่อให้ราคาถูกลง Cai Lun เจ้าหน้าที่ราชสำนักได้ไอเดียใหม่โดยการนำเอาวัสดุเหลือใช้อย่างผ้าขี้ริ้ว อวนจับปลา เศษป่าน เส้นใยจากผลไม้อาหาร เช่น ผลมัลเบอร์รี่ ขนมปัง จนได้กระดาษที่น้ำหนักเบาและราคาถูก และเหมาะสำหรับการเขียนพู่กันจันอย่างมาก ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง (618–907) ไปจนถึงราชวงศ์หมิง (1368–1644)
1
เทคนิคการทำกระดาษของจีนแพร่กระจายไปทั่วโลก โดยเฉพาะ ‘มาร์โค โปโล’ นักเดินทางผู้ยิ่งใหญ่ของโลกได้นำเทคนิคทำกระดาษาของจีนไปเผยแพร่ยังตะวันตกอีกด้วย
1
2. การพิมพ์ (Printing Techniques)
ก่อนที่จะมีการพิมพ์ นักวิชาการต้องใช้มือในการเขียนซึ่งใช้เวลานานและผิดพลาดได้ง่าย เพื่อจะแก้ไขปัญหานี้ Bi Sheng นักศิลปะ วิศวกร และนักประดิษฐ์ในสมัยราชวงศ์ซ่ง ได้คิดค้นเทคนิคการพิมพ์จนเรียกว่าเป็น ‘บิดาแห่งการพิมพ์’ ของจีน
ใช่ว่าจีนไม่เคยมีแท่นพิมพ์มาก่อน หากแต่เป็นลักษณะแบบบล็อคเป็นคำแกะสลักบนไม้เพื่อพิมพ์ด้วยหมึกบนกระดานหรือกระดาษ การพิมพ์แบบบล็อคใช้แผ่นไม้จำนวนมาก และไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีก นอกจากนี้ยังไม่สามารถแก้ไขข้อความได้เลย
ตอนนั้น Bi Sheng จึงคิดค้นใหม่จากใช้แผ่นสลักบล็อคไม้มาเป็นสลักที่ละตัวอักษรซึ่งแกะสลักด้วยวัสดุจากดินเหนียวอย่างละเอียด ซึ่งสามารถนำมาใช้พิมพ์ซ้ำได้อีกหลายครั้ง ถือเป็นนวัตกรรมล้ำหน้าในยุคนั้น
หลังจากนั้น เทคนิคนี้แพร่กระจายไปยังเกาหลี ญี่ปุ่น เวียดนาม และยุโรป ซึ่งการพิมพ์แบบดินเหนียวมีประโยชน์กับโลกตะวันตกมากเพราะตัวอักษรที่มีความซับซ้อนน้อยกว่าจีน
1
นอกจากนี้ เทคนิคการพิมพ์ยังมีส่วนช่วยอย่างมากต่ออารยธรรมตะวันตก เพราะสามารถพิมพ์หนังสือได้เร็วและจำนวนมากขึ้นหลายเท่า นำไปสู่การพัฒนาการศึกษา ความรู้ และการสื่อสารในวงกว้างมากขึ้น
1
3. ดินปืน (Gunpowder)
ดินปืนถูกประดิษฐ์โดยนักเล่นแร่แปรธาตุชาวจีนในยุคราชวงศ์ถัง พวกเขาได้ค้นพบว่ากำมะถัน ดินประสิว และผงถ่านสามารถสร้างแรงระเบิดที่รุนแรงได้
ในช่วงแรกเริ่ม ดินปืนถูกใช้เป็นพลุสำหรับเฉลิมฉลองในเทศกาลสำคัญต่าง ๆ หลังจากนั้น จึงเริ่มใช้ในกองทัพ เช่น cannons ลูกธนูไฟ และอาวุธอื่นๆ
ในสมัยราชวงศ์ซ่งและหยวน (ปี 908-1368) ดินปืนเป็นที่ต้องการอย่างมากเพราะมีการทำสงครามดินแดนบ่อยครั้ง และเริ่มเผยแพร่ไปยังอาหรับ และประเทศต่าง ๆ ในยุโรป
4. The Compass
เข็มทิศถือเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมที่เปลี่ยนแปลงโลก ให้ผู้คนเดินทางกว้างไกลได้มากกว่าที่คิด ย้อนไปช่วง 476-221 ปีก่อนคริสตกาลปี ชาวจีนใช้อุปกรณ์นำทางที่เรียกว่า ‘สีหนาน’ หลังจากนั้นมีการพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
ในสมัยราชวงศ์ มีการประดิษฐ์เข็มทิศที่มีเข็มเล็กๆ ที่ทำจากแม่เหล็ก ปลายด้านหนึ่งของเข็มเล็กๆ ชี้ไปทางทิศใต้ และอีกด้านชี้ไปทางทิศเหนือ และถูกเผยแพร่ให้อาหรับและยุโรปในช่วงปี 960-1127
ก่อนจะมีเข็มทิศ มนุษย์อาศัยอ่านตำแหน่งของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวฤกษ์เพื่อบอกทิศทางการไปยังดินแดนต่างๆที่ไม่คุ้นเคย อุปสรรคคือในช่วงที่ฟ้าฝนไม่เป็นใจจะทำให้การเดินทางต้องหยุดชะงัก หลังจากมีเข็มทิศ มนุษย์เดินทางได้ง่ายขึ้นนำไปสู่การล่องเรือเพื่อสำรวจดินแดนใหม่ ซึ่งนำไปสู่การค้นพบโลกใหม่อย่างอเมริกา
1
ผู้เขียน : ขัตติยาภรณ์ ด้วงแก้ว Political Analyst, Bnomics
ภาพประกอบ : บริษัท ก่อการดี จำกัด
════════════════
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
════════════════
References:

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา