17 พ.ย. 2023 เวลา 10:25 • การตลาด

ภาษาไทยน่ารู้ : อเนกประสงค์ หรือ เอนกประสงค์

คุ้นมากทายเลยใช่มั้ยคะ แต่เลือกใช้ถูกหรือเปล่า
การจะเข้าใจและแยก 2 คำนี้ได้ เราต้องมาที่คำว่า เอก กับ อเนก ก่อนค่ะ
เอก ใช้ได้หลายความหมาย เช่น
1 จำนวนหนึ่ง เช่น 1
2 ชั้นที่1 เช่น ร้อยเอก ปริญญาเอก
3 ไม้เอก
4 ดีเลิศ สำคัญที่สุด เช่น กวีเอก ตัวเอก
5 ใช้เรียกลูกผู้หญิงคนที่เจ็ดว่า ลูกเอก
ขณะที่ เอนก แปลได้ความหมายเดียวคือ มาก หลาย เช่น อเนกประสงค์ อเนกประการ มักสะกดผิดเป็น เอนก
คำว่า เอนก ไม่มีความหมายในภาษาไทยนะคะ จำง่ายๆ เลยค่ะ ให้ออกเสียงคำนี้ว่า เอ-นก
แค่นี้เราก็เขียนคำว่า "อเนกประสงค์" ถูกกันแล้วนะคะ
แต่ทำไมเราเห็นบางคนใช้ชื่อ เอนก แต่อ่านว่า อะ-เหนก ล่ะ
นี่คงต้องเป็นกรณียกเว้นค่ะ มันเป็นชื่อคน เป็นวิสามานยนาม
กัณฑ์เอนก ศรีอนุชา พรรคก้าวไกล
เราเห็นกันแล้วนะคะ เอก แปลว่า หนึ่ง เราใส่ "อ" หรือ "อน" เข้าไป จะได้ความหมายว่า ไม่
เช่น เอก→อเนก
ธรรม→อธรรม
ใส่ อน เข้าไป อน+อาจาร→อนาจาร
อน+อาทร→อนาทร
ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยถาน 2542 มีคำเดียวที่มีสระเอนำหน้า อ แล้วออกเสียง อะ คือ คำว่า "เอร็ดอร่อย" (อะ-เหร็ด) คำเดียวเท่านั้น
จบแล้วนะคะ อ่านจบแล้ว ช่วยกดไลค์ กดติดตาม เพื่อเป็นกำลังใจให้กันด้วยนะคะ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา