Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Mr.BlackCatz. Academy
•
ติดตาม
15 พ.ย. 2023 เวลา 07:54 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม 2: กฎของเมนเดล | Biology with JRItsme.
🕔 เวลาที่ใช้ในการอ่าน 5 นาที
ในตอนนี้เราจะมาดูกลไกการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมกัน จริง ๆ แล้ว การแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส การปฏิสนธิ และการสังเคราะห์โปรตีน ก็นับว่าเป็นหนึ่งในกลไกการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมแล้วนะ แต่เรื่องพวกนั้นถูกค้นพบภายหลังที่เกรเกอร์ เมนเดล [Gregor Mendel] ทดลองปลูกถั่วแถวโบสถ์จนเผยแพร่ “กฎของเมนเดล” [Mendel’s laws] ได้สำเร็จ
ทำให้กฎของเมนเดลจะโฟกัสเฉพาะลักษณะภายนอกที่แสดงออกมาให้เห็นเท่านั้น ไม่ได้ถึงเรื่องยีน ซึ่งอาจจะทำให้หลายคนเข้าใจกลไกการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมในภาพรวมได้ง่ายกว่า (มั้งนะ...) โดยกฎนี้ประกอบด้วย 2 ข้อสำคัญ ได้แก่...
กฏแห่งการแยกตัว ว่าด้วยการแบ่งแยกพันธุกรรมในการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส ที่มา: https://sites.google.com/site/celldisvisionandgenetics/kd-khxng
“กฎแห่งการแยกตัว” [Law of segregation] กล่าวว่า “สิ่งใดที่ควบคุมลักษณะพันธุกรรมเป็นคู่ ๆ จะแบ่งแยกออกจากกัน” นั่นคือการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส ที่มีการแบ่งครึ่งหนึ่งของชุดโครโมโซมลงไปในแต่ละเซลล์เซลล์สืบพันธุ์นั่นเอง ทำให้พันธุกรรมของเซลล์สืพันธุ์ถูกแบ่งครึ่งไปด้วย
กฎการรวมตัวอย่างอิสระ คือเซลล์สืบพันธุ์ที่ปฏิสนธิกับเซลล์ตัวใดก็ได้ และได้ผลลัพธ์ที่สุ่มอิสระออกมา ที่มา: http://academygenbioii.pbworks.com/w/page/36490940/Chaper%2016%20Blog%3A%20Simple%20Patterns%20of%20Inheritance
และ “กฎแห่งการรวมตัวอย่างอิสระ” [Law of independent assortment] กล่าวว่า “เซลล์สืบพันธุ์แต่ละเซลล์สามารถรวมตัวกับเซลล์สืบพันธุ์อื่นใดก็ได้อย่างอิสระ” นั่นคือการปฏิสนธิ ที่สเปิร์มตัวหนึ่งสามารถจับกับไข่เซลล์ไหนก็ได้ หรือเซลล์ไข่สามารถจับสเปิร์มตัวไหนก็ได้ เมื่อเกิดการอิสระในการปฏิสนธิ ทำให้พันธุกรรมของเซลล์ลูกที่ได้ออกมายากที่จะคาดเดาได้ถูกต้อง แต่ยังสามารถคำนวณหาความน่าจะเป็นได้
ถั่วสีเขียวลักษณะเด่นพันธุ์แท้ กับถั่วสีเหลืองลักษณะด้วยพันธุ์แท้ ผสมกันได้ลูกพันธุ์ทางทุกกรณี ตัวสีเขียวที่เป็นลักษณะเด่นจึงแสดงออกมาให้เห็นมากกว่าสีเหลือง ที่มา: https://www.thoughtco.com/monohybrid-cross-a-genetics-definition-373473
หลายคนอาจเคยได้ยินกฎข้อที่สาม ซึ่งอาจารย์บางคนสอนมาหรือหนังสือบางเล่มได้เขียนไว้ นั่นคือ “ลักษณะเด่นข่มลักษณะด้อย” กล่าวคือ ลักษณะใดที่พบเห็นได้มากในแต่ละรุ่นจะนับเป็น “ลักษณะเด่น” ในทางตรงกันข้ามลักษณะใดที่ไม่ค่อยปรากฏจะนับว่าเป็น “ลักษณะด้อย” เพราะยีนลักษณะเด่นจะข่มยีนลักษณะด้อยให้ทำงานน้อยลงจนแสดงออกมาไม่ได้นั่นเอง
ในสมัยของเมนเดล ต้องสังเกตจากลักษณะของรุ่นพ่อแม่ หรือรุ่นปู่ย่าตายาย แล้วใช้ความน่าจะเป็นทางคณิตศาสตร์ เสาะหาพันธุกรรม ดูว่าลักษณะไหนเป็นลักษณะเด่นหรือด้อยของรุ่นก่อนหน้า และพยากรณ์รุ่นต่อไปได้ ในปัจจุบันที่เทคโนโลยีทาง DNA ก้าวหน้ามาก ทำให้ไม่ต้องสุ่มผสมพันธุ์เพื่อพยากรณ์พันธุกรรมลูก เพียงแค่รู้รหัสพันธุกรรมก็สามารถจำลองโมเดลออกมาให้เห็นได้รวดเร็ว
ในตอนต่อไป จะมาขยี้เรื่องลักษณะเด่นและลักษณะด้อยให้มากขึ้น รวมถึงลักษณะที่นอกเหนือกฎของเมนเดลอีกด้วย อย่าลืมติดตามเพจ Mr.BlackCatz. Academy ไว้ในอ้อมอกอ้อมใจ เพื่อไม่พลาดเนื้อหาชีววิทยาฉบับคนทั่วไปเข้าใจง่ายนะครับ 😺
ความรู้รอบตัว
วิทยาศาสตร์
ความรู้
บันทึก
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Biology with JRItsme.
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย