Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Mr.BlackCatz. Academy
•
ติดตาม
18 พ.ย. 2023 เวลา 05:25 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม: ลักษณะเด่น ลักษณะด้อย | Biology with JRItsme.
🕕เวลาที่ใช้ในการอ่าน 6 นาที
ภาพแสดงแอลลีลแต่ละคู่บนโครโมโซม แอลลีลแต่ละจะควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมต่างกัน ที่มา: https://www.quora.com/What-is-an-allele-4
จากตอนที่แล้ว หลายคนคงยังไม่เข้าใจว่าอะไรคือลักษณะเด่นหรือด้อยกันแน่ ก็จะมาขยี้ให้รู้มากขึ้นกันครับ สำหรับมนุษย์และสัตว์โดยทั่วไปแล้ว จะมีโครโมโซมทั้งหมดสองชุดที่ควบคุมลักษณะพันธุกรรมเดียวกัน ซึ่งแต่ละชุดจะมีกลุ่มยีนที่ควบคุมลักษณะเดียวกันเรียกว่า “แอลลีล” [Allele] ในที่นี้คือ 2 แอลลีลต่อการควบคุมหนึ่งลักษณะทางพันธุกรรมนั่นเอง
สีตาคล้ำดำน้ำตาลเป็นลักษณะเด่น และสีตาฟ้าถึงเขียวเป็นลักษณะด้อย ที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Eye_color#/media/File:Farbverlauf_Augenfarben.jpg
กลับมาที่ลักษณะเด่นกับด้อย “ลักษณะเด่น” [Dominance trait] เป็นลักษณะที่จะมีโอกาสแสดงออกมามากที่สุด อย่างเช่น สีตาน้ำตาลถึงดำ ลักษณะ 1 สมองสองมือสองเท้าของมนุษย์ สังเกตได้จากประชากรส่วนใหญ่จะพบลักษณะนั้นมาก ส่วน “ลักษณะด้อย” [Recessive trait] จะเป็นลักษณะที่มีโอกาสแสดงออกน้อยที่สุด อย่างเช่นผิวเผือก ตาสีฟ้า ซึ่งจะพบแค่ในกลุ่มประชากรส่วนน้อยเท่านั้น
ที่เป็นเช่นนั้นเพราะว่าในระดับโครโมโซม แอลลีลที่ควบคุมให้ลักษณะเด่นนั้นแสดงออกมาเรียกว่า “แอลลีลเด่น” [Dominace allele] ส่วนแอลลีลที่ควบคุมลักษณะเด่นไม่ให้แสดงเรียกว่า “แอลลีลด้อย” [Recessive allele] เมื่อหนึ่งลักษณะที่ถูกควบคุมด้วย 2 แอลลีลด้วยกัน จึงเกิดกรณีเหล่านี้...
ลักษณะพันธุ์แท้จะมีแอลลีเหมือนกัน ส่วนลักษณะพันธุ์ทางจะมีแอลลีลต่างกัน ที่มา: https://www.careerpower.in/school/biology/difference-between-homozygous-and-heterozygous
กรณีที่พบแอลลีลทั้งสองเป็นแอลลีลเด่น จะแสดงลักษณะเด่นออกมา เราเรียกว่า “ลักษณะเด่นพันธุ์แท้” [Homozygous dominance] หากแอลลีลทั้งสองเป็นแอลลีลด้อย จะแสดงลักษณะด้อยออกมา เรียกว่า “ลักษณะด้อยพันธุ์แท้” [Homozygous recessive]
แล้วถ้าหากว่ามันคละกันล่ะ... เด่นอันด้อยอันจะเกิดอะไรขึ้น... กรณีที่แอลลีลเป็นแอลลีลเด่นและอีกหนึ่งเป็นแอลลด้อย จะแสดงลักษณะเด่นออกมา (ขอแค่มีแอลลีลเด่นตัวเดียวก็เพียงพอต่อการแสดงลักษณะเด่น) เราเรียกว่า “ลักษณะเด่นพันทาง” [Heterozygous dominance] หรืออีกชื่อว่า “พาหะ” [Carrier]
ตัวอย่างการแยกของแอลลีล (หัวคอลัมน์และหัวแถว) กับความเป็นไปได้ในการรวมแอลลีล (สี่ช่อง) ตามกฎของเมนเดล
จากกฎของเมนเดลข้อแรก “กฎการแบ่งแยก” จะสามารถอธิบายได้ว่าโครโมโซมที่ประกอบด้วยสองแอลลีล จะถูกแบ่งครึ่งเป็นหนึ่ง ๆ เนื่องจากการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสของเซลล์สืบพันธุ์ไม่ว่าจะเป็นสเปิร์มหรือไข่ ต่อมาตาม “กฎการรวมตัวอย่างอิสระ” จะเกิดการปฏิสนธิขึ้นทำให้โครโมโซมครบชุด แอลลีลกลับมาทำงานได้อีกครั้งและควบคุมการแสดงออกของลักษณะทางพันธุกรรมของเซลล์และร่างกายลูกต่อมา
แอลลีลที่ได้รับมานั้น หากทั้งคู่เป็นแอลลีลเด่นหรือด้อยเหมือน จะทำให้ลูกออกมาเป็นเด่นหรือด้อยพันธุ์แท้ อารมณ์เหมือนพ่อคนไทยแม่คนไทย ลูกก็ต้องมีเชื้อไทย 100% แต่หากได้รับแอลลีลเด่นกับด้อยคละกัน จะได้ลูกที่เป็นพันทางหรือพาหะ ที่แม้จะแสดงลักษณะเด่นแต่จะสามารถส่งต่อลักษณะด้อยสู่รุ่นต่อ ๆ ไปได้
ในวงการเลี้ยงสัตว์หรือการเกษตร จะมีการทำฟาร์มเพื่อผสมพันธุ์เพื่อให้ได้พันธุ์แท้ที่มีลักษณะเหมือนต้นพันธุ์บ้าง หรือพันทางที่มีลักษณะของพันธุ์นี้พันธุ์นั้นผสมกันบ้าง แต่การทำอย่างนั้นไม่ได้ง่าย... เพราะต้องรู้ว่าตัวที่มีมีแอลลีลเด่นด้อยอย่างไรบ้าง ทำให้ต้องใช้วิธีเดียวกับเมนเดล คือผสมทดสอบไปเรื่อย ๆ แล้วสังเกตจากลักษณะภายนอกเอา
แต่หลายลักษณะเราไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า เช่น โรคธาลัสซีเมีย [Thalassemia] เป็นโรคเลือดจางที่ส่งต่อผ่านพันธุกรรม พ่อแม่ที่เป็นโรคต่างกังวลว่าลูกจะเป็นไหมหรือเป็นพาหะหรือเปล่า กฎของเมนเดลที่แม้จะไม่ได้ให้คำตอบชัดเจน เพราะไม่รู้ว่าเซลล์สืบพันธุ์ มีแอลลีลอะไรบ้าง แล้วจะรวมกันอย่างไรบ้าง แต่ยังสามารถหาความน่าจะเป็น ซึ่งจะช่วยพยากรณ์เบื้องต้นได้
แต่เทคโนโลยีทุกวันนี้ไม่จำเป็นต้องให้เราผสมกับคนอื่นเพื่อทดสอบว่าเรามียีนอะไรบ้าง เพียงแค่เจาะเลือดก็สามารถรู้ทุกยืนของร่างกายเราได้ การพยากรณ์จึงแม่นยำขึ้น ใช้เวลาและทรัพยากรน้อยลงนั่นเอง ในตอนต่อไปจะกล่าวถึงลักษณะที่ควบคุมด้วยโครโมโซมต่าง ๆ อย่าลืมติดตามเพจ Mr.BlackCatz. Academy ไว้ในอ้อมอกอ้อมใจ เพื่อไม่พลาดเนื้อหาชีววิทยาฉบับคนทั่วไปเข้าใจง่ายนะครับ 😺
ความรู้
วิทยาศาสตร์
ความรู้รอบตัว
บันทึก
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Biology with JRItsme.
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย