Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
สองข้างทาง
•
ติดตาม
8 ธ.ค. 2023 เวลา 08:35 • หนังสือ
20 ปี สึนามึ ตอน 3
๑๒. ในกรณีที่ทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิของประเทศไทยใช้งานไม่ได้ เนื่องจากหลุดออกจากตำแหน่งหรือไม่ส่งสัญญาณ จะมีผลทำให้ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติไม่ได้รับข้อมูลจากทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิโดยตรง แต่ระบบเฝ้าระวังและแจ้งเตือนภัยสึนามิของประเทศไทยยังคงดำเนินการได้ตามปกติ ซึ่งติดตาม เฝ้าระวัง และแจ้งเตือนสึนามิได้ โดยการนำข้อมูลการเกิดแผ่นดินไหวในทะเลและการเกิดคลื่นสึนามิในแถบมหาสมุทรอินเดียจากหน่วยงานในประเทศและต่างประเทศมาใช้ประกอบการวิเคราะห์และแจ้งเตือนได้
เนื่องจากการติดตามเฝ้าระวัง แจ้งเตือนภัยการเกิดสึนามิของประเทศไทยนั้นเป็นการใช้และประมวลข้อมูลจากหลายหน่วย
โดยข้อมูลจากทุ่นสึนามิของไทยเป็นหนึ่งในแหล่งข้อมูลที่ใช้ร่วมมือกับข้อมูลจากเครื่องมือเฝ้าระวังของหน่วยงานภาคเครือข่ายที่มีความเชี่ยวชาญทั้งภายในและต่างประเทศ ได้แก่ หน่วยงานบริหารสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา (National Oceanic and Atmospherpic Administration : NOAA ) ข้อมูลสถานีวัดระดับน้ำทะเลจากเว็บไซต์ของ The Intergovernmental Oceanographic Commission : IOC ) เป็นต้น โดยเฉพาะข้อมูลระดับน้ำจากสถานีวัดระดับน้ำทะเลของประเทศอินเดีย และประเทศอินโดนีเซีย
๑๒. นอกจากนี้ ยังมีการใช้ข้อมูลจากติดตามการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำทะเลบริเวณสถานีเกาะเมียง จังหวัดพังงา ของกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ และสถานีเกาะราชาน้อย จังหวัดภูเก็ต ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ซึ่งข้อมูลทั้งหมดนี้จะนำมาใช้ประกอบการวิเคราะห์กับแบบจำลองการเกิดสึนามิของประเทศไทยที่ได้ออกแบบไว้ล่วงหน้า
เพื่อชี้เป้าพื้นที่เสี่ยงที่อาจจะได้รับผลกระทบจากสึนามิที่แสดงข้อมูลเชิงลึกได้ถึงพื้นที่ ช่วงเวลาในการเกิดคลื่นสึนามิ และความเร็วของคลื่นที่จะเข้าสู่ฝั่ง ซึ่งสามารถติดตามข้อมูลและแจ้งเตือนภัยสึนามิแก่ประชาชนตามขั้นตอนที่กำหนดได้เพื่อให้ประชาชนเตรียมพร้อมอพยพหนีภัยสึนามิได้อย่างทันห่วงที
๑๓. ในการเตรียมความพร้อมเพื่อรับกับการเกิดภัยพิบัติสึนามินั้น นอกจากการดำเนินการของหน่วยงานต่างๆ แล้ว การสร้างความพร้อมให้กับคนในชุมชนตามแนวคิดการจัดการภัยพิบัติโดยอาศัยชุมชนเป็นฐาน (Community based Disaster Risk Management) หรือที่เรียกโดยย่อว่า CBDRM เป็นเรื่องที่จำเป็นต้องดำเนินการเพื่อให้คนในทุกหมู่บ้าน/ชุมชน ที่มีความเสี่ยงต่อการรับผลกระทบจากคลื่นสึนามิ ตระหนักรู้ถึงการเกิดสึนามิและการปฏิบัติเมื่อเกิดสึนามิ รวมทั้งต้องรู้เส้นทางอพยพไปยังที่ปลอดภัยของหมู่บ้าน/ชุมชนตนเอง
เนื่องจากพื้นที่ 6 จังหวัดอันดามันเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง มีนักท่องเที่ยวจากภายนอกเดินทางเข้าไปเป็นจำนวนมาก สิ่งที่ผู้ประกอบการโรงแรมที่พักควรดำเนินการคือ การมีระบบรับข้อมูลข่าวสารการแจ้งเตือนจากทางราชการที่มีระบบอยู่แล้ว เพื่อให้รับรู้และแจ้งเตือนผู้พักอาศัยได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งควรมีเอกสารแนะนำการปฏิบัติตัวให้นักท่องเที่ยวได้รับทราบไว้หากมีเหตุเกิดขึ้น
สำหรับคนทั่วไปที่เดินทางเข้าไปในพื้นที่เสียงต่อสึนามิ จะต้องรับรู้และตระหนักเสมอว่า พื้นที่นั้นมีความเสี่ยงต่อสึนามิหรือไม่ และต้องเรียนรู้ว่าจะต้องปฏิบัติหากเกิดสึนามิขึ้น โดยเฉพาะควรจะรู้และสังเกตหาป้ายเส้นทางอพยพ (evacuation route) ซึ่งจะเป็นป้ายสีน้ำเงิน มีสัญลักษณ์คลื่นสึนามิ และมีลูกศรบอกเส้นทางและระยะทางที่จะไปยังจุดปลอดภัย
๑๔. สึนามิ แม้จะเป็นภัยพิบัติที่อาจจะมีโอกาสเกิดขึ้นน้อย และใช้เวลานานถึงจะเกิดขึ้นสักครั้ง แต่การเกิดขึ้นในแต่ละครั้งจะส่งผลกระทบและสร้างความเสียหายและความสูญเสียเป็นอย่างมาก
ดังนั้น การสร้างความตระหนักรู้และการเตรียมความพร้อม การพัฒนาระบบการแจ้งเตือนภัย รวมไปจนถึงการฝึกซ้อมอยู่เป็นประจำจึงเป็นเรื่องที่ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและหน่วยงานในพื้นที่ตั้งแต่จังหวัดไปจนถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหมู่บ้าน/ชุมชนในพื้นที่เสี่ยงจะต้องให้ความสำคัญเพื่อลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย ซึ่งเป็นแนวคิดหลักในแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติฉบับปัจจุบันของประเทศเรา
โดย นาย Bt
https://www.blockdit.com/bntham
๘ ธันวาคม ๒๕๖๖
ติดตามอ่านเรื่องต่างๆ และ ร่วมกด follow ได้ที่
# สองข้างทาง
https://www.blockdit.com/bntham
#รอยเท้าที่ก้าวผ่าน
https://www.blockdit.com/bntham2
และติดตามซีรีย์ disaster ได้ที่
https://www.blockdit.com/series/65262b5af363005c5fce7edd
และ
ซีรีย์ @อำเภอ ได้ที่
https://www.blockdit.com/series/652aa201a7b7eabb6b5e1144
เรื่องเล่า
ความรู้รอบตัว
บันทึก
4
5
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
disaster
4
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย