28 เม.ย. เวลา 02:00 • ธุรกิจ

การวิเคราะห์ทางการเงินสำหรับนักลงทุน (Financial Analysis for Investors)

ถ้าคุณเป็นหนึ่งในนักลงทุน (Investors) ของกลุ่มทุน (Venture Capital: VC) ที่กำลังมองหาธุรกิจเพื่อลงทุนในธุรกิจทั้งเก่าและใหม่ นอกเหนือจากแนวคิดของธุรกิจ (Busniness Model) แล้ว นักลงทุนที่เข้าไปลงทุนในธุรกิจจำเป็นต้องวิเคราะห์การเงิน (Financial Analysis) หลายรายการ เพื่อประเมินศักยภาพและความเสี่ยงของธุรกิจนั้นๆ รายการการเงินที่สำคัญที่ต้องวิเคราะห์ ได้แก่
1. การวิเคราะห์งบดุล (Balance Sheet) เป็นงบที่แสดงสถานะทางการเงินของกิจการ ณ ช่วงเวลาหนึ่ง ข้อมูลในงบดุลสามารถใช้วิเคราะห์เพื่อประเมินสภาพคล่อง ความมั่นคง และความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจได้ ประกอบด้วย
  • สินทรัพย์ (Asset) แบ่งออกเป็นสินทรัพย์ถาวรและสินทรัพย์หมุนเวียน โดยสินทรัพย์ถาวรเป็นสินทรัพย์ที่มีอายุการใช้งานมากกว่า 1 ปี เช่น ที่ดิน อาคาร เครื่องจักร เป็นต้น ส่วนสินทรัพย์หมุนเวียนเป็นสินทรัพย์ที่มีอายุการใช้งานไม่เกิน 1 ปี เช่น เงินสด สินค้าคงเหลือ เงินลงทุนระยะสั้น เป็นต้น
  • หนี้สิน (Debt) แบ่งออกเป็นหนี้สินระยะยาวและหนี้สินระยะสั้น โดยหนี้สินระยะยาวเป็นหนี้สินที่ครบกำหนดชำระเกิน 1 ปี เช่น เงินกู้ระยะยาว เงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน เป็นต้น ส่วนหนี้สินระยะสั้นเป็นหนี้สินที่ครบกำหนดชำระไม่เกิน 1 ปี เช่น เงินเชื่อการค้า เงินกู้ระยะสั้นจากสถาบันการเงิน เป็นต้น
  • ส่วนของเจ้าของ (Equity) ประกอบด้วยทุนจดทะเบียน กำไรสะสม และ ส่วนเกินทุนจากการตีราคาทรัพย์สิน
การวิเคราะห์งบดุลที่สำคัญ ได้แก่
1.1 การคำนวณอัตราส่วนสภาพคล่อง (Liquidity Ratio)
  • อัตราส่วนหมุนเวียน (Current Ratio) แสดงถึงความสามารถในการชำระหนี้สินระยะสั้นของกิจการ ยิ่งสูงยิ่งดี ยิ่งมีสภาพคล่องสูง คำนวณจาก
อัตราส่วนหมุนเวียน = สินทรัพย์หมุนเวียน / หนี้สินหมุนเวียน
  • อัตราส่วนเร็ว (Quick Ratio) ไม่รวมสินค้าคงเหลือจากสินทรัพย์หมุนเวียน โดยเน้นสินทรัพย์ที่พร้อมสำหรับการชำระหนี้ทันที โดยอัตราส่วนสภาพคล่องควรมีค่าอย่างน้อย 2:1 และ อัตราส่วนสภาพคล่องด่วนที่สูงกว่า 1:1 บ่งชี้ว่ามีสภาพคล่องเพียงพอที่จะปฏิบัติตามภาระผูกพันระยะสั้น คำนวณจาก
อัตราส่วนเร็ว = สินทรัพย์หมุนเวียน - สินค้าคงเหลือ / หนี้สินหมุนเวียน
1.2 การคำนวณอัตราส่วนความมั่นคง (Stability Ratio)
  • อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ (Debt to Asset Ratio) แสดงถึง บริษัทมีหนี้เท่าใดเมื่อเทียบกับสินทรัพย์ทั้งหมดของบริษัท ซึ่งอัตราส่วนนี้สามารถสะท้อนถึงความมั่นคงทางการเงินของบริษัท ยิ่งอัตราส่วนสูงเท่าใด ก็จะยิ่งทำให้ความเสี่ยงในการลงทุนในบริษัทนั้นสูงขึ้นด้วย คำนวณจาก
อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ = หนี้สินรวม / สินทรัพย์รวม
  • อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (Debt to Equity Ratio) แสดงถึงความสามารถในการชำระหนี้ของกิจการ อัตราส่วนที่ต่ำกว่า 1.0 ยิ่งดี คำนวณจาก
อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน = หนี้สินรวม / ส่วนของเจ้าของ
2. การวิเคราะห์งบกำไรขาดทุน (Income Statement) เป็นงบที่แสดงผลการดำเนินงานของกิจการในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ข้อมูลในงบกำไรขาดทุนสามารถใช้วิเคราะห์เพื่อประเมินความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจได้ ประกอบด้วย
  • รายได้ (Revenue) หมายถึง เงินที่กิจการได้รับจากการขายสินค้าหรือบริการ
  • รายจ่าย (Expenses) หมายถึง เงินที่กิจการจ่ายไปเพื่อดำเนินธุรกิจ
  • กำไรสุทธิ (Net Profit) หมายถึง รายได้หักรายจ่าย
การวิเคราะห์งบกำไรขาดทุนที่สำคัญ ได้แก่
2.1 การคำนวณอัตราส่วนกำไร (Profit Ratio)
  • อัตราส่วนกำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin) แสดงถึงประสิทธิภาพในการผลิตและขายสินค้าหรือบริการ ยิ่งสูงยิ่งดี คำนวณจาก
อัตราส่วนกำไรขั้นต้น = (รายได้ - ต้นทุนขาย) / รายได้
  • อัตราส่วนกำไรสุทธิ (Net Profit Margin) แสดงถึงประสิทธิภาพในการดำเนินงานของกิจการ ยิ่งสูงยิ่งดี คำนวณจาก
อัตราส่วนกำไรสุทธิ = กำไรสุทธิ / รายได้
3. การวิเคราะห์งบกระแสเงินสด (Statement of Cash Flows) เป็นงบที่แสดงกระแสเงินสดเข้าและออกจากกิจการในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ข้อมูลในงบกระแสเงินสดสามารถใช้วิเคราะห์เพื่อประเมินความสามารถในการสร้างกระแสเงินสดของธุรกิจได้ ประกอบด้วย
  • กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน (Cash Flow from Operations) หมายถึง กระแสเงินสดที่เกิดจากการดำเนินงานปกติของกิจการ เช่น รายได้จากการขายสินค้าหรือบริการ รายจ่ายในการดำเนินงาน เป็นต้น
  • กระแสเงินสดจากการลงทุน (Cash Flow from Investment) หมายถึง กระแสเงินสดที่เกิดจากการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร เช่น เงินกู้ยืมเพื่อลงทุนในเครื่องจักร เงินลงทุนในกิจการอื่น เป็นต้น
  • กระแสเงินสดจากการจัดหาเงิน (Cash Flow from Financing) หมายถึง กระแสเงินสดที่เกิดจากการจัดหาเงิน เช่น เงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน เงินเพิ่มทุน เป็นต้น
การวิเคราะห์งบกระแสเงินสดที่สำคัญ ได้แก่
3.1 อัตราส่วนกระแสเงินสดอิสระ (Free Cash Flow) แสดงถึงค่าประมาณการกระแสเงินสดของธุรกิจหลังจากการดำเนินการและการลงทุนระยะยาว กระแสเงินสดอิสระเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดสำคัญที่มักจะนำมาใช้ในการคำนวณมูลค่าปัจจุบันของหลักทรัพย์หรือธุรกิจ ยิ่งมากยิ่งมีสภาพคล่องสูง
อัตราส่วนกระแสเงินสดอิสระ = กระแสเงินสดสุทธิจากการดำเนินงาน - การลงทุน
4. การวิเคราะห์การเงินอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น
4.1 อัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (Return on Assets Ratio: ROA) แสดงถึงความสามารถในการทำกำไรของกิจการ หรือ การวัดประสิทธิภาพของการใช้สินทรัพย์เพื่อสร้างผลกำไร ยิ่งสูงยิ่งดี คำนวณจาก
อัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ = กำไรสุทธิ / สินทรัพย์รวม
4.2 อัตราส่วนผลตอบแทนต่อทุน (Return on Equity Ratio: ROE) แสดงถึงประสิทธิภาพในการดำเนินการของบริษัท หรือ วัดผลตอบแทนที่เกิดจากการลงทุนของเจ้าของ ยิ่งสูงยิ่งดี ซึ่งควรตั้งเป้าให้สูงกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม คำนวณจาก
อัตราส่วนผลตอบแทนต่อทุน = กำไรสุทธิ / ส่วนของเจ้าของ
4.3 อัตราส่วนราคาต่อกำไร (Price to Earnings Ratio: P/E) แสดงถึงนักลงทุนยินดีจะลงทุนจ่ายเงินซื้อหุ้นนั้นเป็นกี่เท่าของทุกๆ 1 บาท ของกำไรสุทธิของบริษัท ซึ่งเป็นเครื่องมือที่นักลงทุนมักจะนำมาใช้ประเมินว่าหุ้นตัวไหน ถูก หรือ แพงกว่ากัน โดยหากซื้อหุ้น ณ ราคา P บาท ต้องใช้ระยะเวลานานกี่ปี กว่าจะทำกำไรได้ถึงจุดคุ้มทุน ถ้าตัวเลข P/E ยิ่งสูง ก็จะหมายความว่า ตลาดยอมให้ราคาที่แพง เมื่อเทียบกับกำไรสุทธิล่าสุดของบริษัท เพราะตลาดคาดหวังว่า กำไรของบริษัทนั้นจะเติบโตขึ้นมากในอนาคต คำนวณจาก
อัตราส่วนราคาต่อกำไร = ราคาหุ้น / กำไรต่อหุ้น
4.4 อัตราส่วนการหมุนเวียนสินค้าคงคลัง (Inventory Turnover Ratio) แสดงถึงประสิทธิภาพของธุรกิจจัดการสินค้าคงคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงใด อัตราการหมุนเวียนยิ่งสูงยิ่งดี สำหรับอุตสาหกรรมที่มีสินค้าเน่าเสียง่ายหรือเคลื่อนย้ายได้เร็ว ซึ่งยิ่งสูงยิ่งดี คำนวณจาก
อัตราส่วนการหมุนเวียนสินค้าคงคลัง = ต้นทุนขาย / สินค้าคงคลังเฉลี่ย
4.5 อัตราการเติบโตของรายได้ (Revenue Growth Rate) แสดงถึงประสิทธิภาพการเพิ่มขึ้นของรายได้เมื่อเวลาผ่านไป มองหาธุรกิจที่มีรายได้เติบโตสม่ำเสมอและยั่งยืน ซึ่งยิ่งสูงยิ่งดี คำนวณจาก
อัตราการเติบโตของรายได้ = ((รายได้ปีปัจจุบัน - รายได้ปีก่อนหน้า) / รายได้ปีก่อนหน้า)
นักลงทุนควรพิจารณาวิเคราะห์รายการการเงินอย่างรอบคอบและเปรียบเทียบกับธุรกิจในอุตสาหกรรมเดียวกัน เพื่อประเมินศักยภาพและความเสี่ยงของธุรกิจนั้นๆ ได้อย่างเหมาะสม
ปัจจัยเพิ่มเติมที่ควรพิจารณา ได้แก่
  • แนวโน้มอุตสาหกรรม (Industry Trends) วิเคราะห์ศักยภาพในการเติบโตโดยรวมและความเสี่ยงในอุตสาหกรรมที่ดำเนินธุรกิจอยู่
  • ภาพรวมการแข่งขัน (Competitive Landscape) ประเมินสภาพแวดล้อมการแข่งขันและความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจ
  • ทีมผู้บริหาร (Management Team) ประเมินประสบการณ์และคุณสมบัติของทีมผู้บริหาร
สารตั้งต้น หวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกคน เพราะคำว่า "ไม่รู้" ทำคนเสีย "น้ำตา" มามากแล้ว
ถ้าเนื้อหาถูกใจ ช่วยกดติดตาม กดไลท์ กดแชร์ เพื่อเป็นกำลังใจ
แลกเปลี่ยนความเห็น ติชม สอบถาม แนะนำเนื้อหาได้นะครับ
#สารตั้งต้น #FinancialAnalysis #Investors #CurrentRatio #QuickRatio #DebttoAssetRatio #DebttoEquityRatio #GrossProfitMargin #NetProfitMargin #FreeCashFlow #ReturnonAssetsRatio #ReturnonEquityRatio #PricetoEarningsRatio #InventoryTurnoverRatio #RevenueGrowthRate
โฆษณา