25 ม.ค. 2024 เวลา 07:24 • การศึกษา
มหาวิทยาลัยมหิดล

พี่ ปันปัน นศ. ป.เอก ICT Mahidol โครงการแลกเปลี่ยนการวิจัย Mahidol-Macquarie Cotutelle Programme

โครงการนี้พี่ปันปัน ไปแลกเปลี่ยนด้านงานวิจัย ในสาขาคอมพิวเตอร์ Ai ณ. Macquarie University ประเทศออสเตรเลีย ระหว่าง 1 Jul 2022 – 31 Dec 2023 รวมระยะเวลา 1ปีครึ่ง และ ทุน iMQRES จากMacquarie University ที่ไม่มีภาระผูกพัน
มาทำความรู้จักพี่ปันปันคร่าวๆกันก่อนครับ
พี่ปันปัน, นายกฤตณัฐ สุทัศนานนท์ จบการศึกษา ป.ตรี ที่ ICT มหิดล
ได้ศึกษาต่อ ป.โท สาขา Data Science ที่ University of Glasgow ประเทศอังกฤษ
และปัจจุบัน ศึกษา ป.เอก Doctor of Philosophy in Computer Science (Mahidol-Macquarie Cotutelle Programme) คณะ ICT มหิดล
https://www.linkedin.com/in/krittanat-sutassananon
กิจกรรมกับมหาวิทยาลัยมหิดลช่วงจบการศึกษาปริญญาตรี
“คุยกันง่ายๆ สบายๆกับ คุณ กฤตณัฐ สุทัศนานนท์
อดีตประธานสภานักศึกษา ปี2557
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหิดล รหัส 55 รุ่น 123
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ”
"Mahidol Alumni Talk Episode 46 คุณ กฤตณัฐ สุทัศนานนท์"
มาในส่วนของ โครงการ Mahidol-Macquarie Cotutelle Programme
พี่ปันปัน กฤตณัฐ สุทัศนานนท์
🎤 ทำไมถึงได้ไปทำงานวิจัย Macquarie University (MQ)
ได้รับการสนับสนุนจากอาจารย์ที่ปรึกษา (อ.วรพันธ์ – MU) ภายใต้ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดล กับ Macquarie University ที่ Sydney, Australia ในลักษณะ Cotutelle Programme หรือการทำวิจัยร่วมกัน สำหรับนักศึกษาปริญญาเอก โดยเมื่อเรียนจบแล้วจะได้วุฒิปริญญาเอกร่วมจากทั้งสองมหาวิทยาลัย
ทาง MQ ค่อนข้างให้ความสนใจการพัฒนาความร่วมมือกับเรา ในด้าน IT และด้านการแพทย์ประยุกต์ครับ
ผมเองตอนที่ได้ไปแลกเปลี่ยน ก็เจอเพื่อนนักเรียนมหิดลจากคณะเทคโนโลยีการแพทย์ มาศึกษาทำวิจัยต่อเหมือนกัน
School of Computing ที่ Macquarie เอง มีการขยายศักยภาพทางการวิจัยและคุณภาพของการสอน สังเกตได้จาก Ranking ที่ขยับสูงขึ้นในทุกปี และมีผู้เชี่ยวชาญและหน่วยงานที่พร้อมให้การสนับสนุนงานวิจัยอยู่จากหลายสาขาครับ
🎤 การทำงานที่ MQ เป็นงานวิจัยหัวข้อไหน แตกต่างจากที่ไทยอย่างไร
ทำงานวิจัยด้าน AI ในหัวข้อ Medical Image Analysis ครับ โจทย์คือพัฒนาโมเดล Computer Vision เพื่อทำการวิเคราะห์และระบุตำแหน่งที่ชัดเจนของหัวใจทั้งสี่ห้อง จากภาพ CT Scan เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงการแพทย์ต่อไป
ส่วนตัวรู้สึกว่า การมีอาจารย์ที่ปรึกษาที่มีประสบการณ์จากต่างประเทศเข้ามาช่วยให้คำแนะนำในการทำวิจัย ช่วยให้เราได้มองงานวิจัยในหลายมุมมองมากขึ้น บางครั้งเราอาจเคยชินกับการศึกษาที่ไทย อาจจะทำให้เรามีมุมมองแบบนึงในบางเรื่อง ตรงนี้เองที่มุมมองและความคิดเห็น การขัดเกลา จากอาจารย์ที่มีวัฒนธรรมที่ต่างจากเรา จะช่วยให้เรามองได้รอบด้านมากขึ้น และได้เรียนรู้และเข้าใจความแตกต่างในวิธีคิด วิถึการดำเนินชีวิตในหลากหลายวัฒนธรรมมากขึ้นครับ
ที่ Faculty of Science and Engineering ที่เป็นเหมือนบ้านใหญ่ที่ครอบคลุม School of Computing อยู่ จะมีทุนสนับสนุนวิจัยให้ได้ไปพรีเซนต์งานที่ Conference ต่างประเทศ หรือให้จัดซื้ออุปกรณ์วิจัยได้เพิ่มเติม และในส่วนของ School of Computing เอง จะมี Machine Learning Reading Group ที่ในทุกสัปดาห์จะมีการแชร์ความรู้จากผลงานวิจัยที่น่าสนใจ เพื่อมาถกเพื่อให้เข้าใจและเผื่อนำไปปรับใช้กับงานตัวเองครับ
นอกจากนี้ ทาง MQ ยังเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยเครือข่ายของ National Computational Infrastructure (NCI) ของออสเตรเลีย ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สนับสนุนทรัพยากรสำหรับการพัฒนาโมเดลครับ
🎤สภาพแวดล้อมโดยรอบมหาวิทยาลัย และความเป็นอยู่
Macquarie University เป็นอีกหนึ่งมหาวิทยาลัยที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล มีแคมปัสหลักอยู่ที่ North Ryde เขตซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย โดยสามารถนั่งรถไฟจากใจกลางเมืองซิดนีย์ไปถึงแคมปัสได้ในเวลาประมาณ 40 นาที
บริเวณแคมปัสหลัก จะไม่ได้พลุกพล่านวุ่นวายเหมือนในตัวเมืองซิดนีย์ แต่ก็มีสิ่งอำนวยสะดวกอยู่ครบครัน ทั้งเรื่องอาหารการกิน ที่อยู่อาศัย การรักษาพยาบาล (MQ มีโรงพยาบาลเป็นของตัวเอง อยู่ในแคมปัสเลย!)
ที่แคมปัสนี้เอง เราจะมีโอกาสได้เจอเพื่อนนักศึกษาที่มาจากหลากหลายวัฒนธรรม มีหลายชมรมให้เราเข้าร่วมทำกิจกรรม ในจำนวนนี้เองก็มีชมรมคนไทยที่จะช่วยให้เราได้รู้จักนักเรียนไทย ทั้งในระดับปริญญาตรี โท และเอกเพิ่มเติม ทั้งจากใน MQ เองและจากมหาวิทยาลัยชั้นนำอื่นในรัฐ New South Wales (UNSW, UTS, USYD, UoW)
มีพื้นที่ให้มานั่งทำงาน หรือ hang out กับเพื่อนภายในมหาวิทยาลัย และมีหน่วยสนับสนุน Student Wellbeing ด้วยครับ
ความร่มรื่นภายในแคมปัสหลักของมหาวิทยาลัย
🎤 อยากได้รับทุนบ้าง ต้องทำอย่างไร
ติดต่ออาจารย์ที่ปรึกษา และทางกองวิเทศสัมพันธ์ของมหิดลเลยครับ
เนื่องจากเราเป็นพันธมิตรกับทาง Macquarie University อยู่แล้ว เขาจะเริ่มคุยกันเพื่อตกลงแผนการวิจัยร่วม ระหว่างคณาจารย์และหน่วยงานจากทั้งสองฝ่าย โดยขั้นตอนนี้จะใช้ระยะเวลาประมาณหนึ่งปี หลังจากได้
แผนการวิจัยที่ชัดเจนแล้ว เขาจะออกเอกสารประกอบ ให้เราสามารถดำเนินการขอวีซ่านักเรียนกับทางสถานฑูตได้ครับ
นอกเหนือจากนี้ คือทาง Macquarie อาจพิจารณาให้ทุนสนับสนุนชื่อ iMQRES ที่ครอบคลุมทั้งค่าเรียนที่ออสเตรเลีย และค่าใช้จ่ายส่วนตัวจำนวนหนึ่งเพิ่มเติมด้วยครับ
นักศึกษาที่ต้องการเข้าร่วมโครงการ COTUTELLE & JOINT SUPERVISION PROGRAM ของ มหาวิทยาลัยมหิดล ศึกษาเพิ่มเติมที่หน้า Website ของ กองวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ https://op.mahidol.ac.th/ir/cotutelle/
ซึ่งมีควา่มร่วมมือกับหลายมหาวิทยาลัย เช่น Macquarie University, University of Southern Queensland, James cook University, Swinburne University of Technology, University of Bremen
Mahidol University COTUTELLE & JOINT SUPERVISION PROGRAM

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา