29 ม.ค. เวลา 04:32 • หุ้น & เศรษฐกิจ

รีวิว ETF ตอนที่ 5 IVV | by หนีดอย

💰 ETF แบบ Passive ลงทุนผ่าน iShares Core S&P 500 ETF อ้างอิงในดัชนี S&P 500 โดยจะเน้นลงทุนในบริษัทขนาดใหญ่ที่จัดตั้งในสหรัฐฯ ทำให้สามารถเข้าถึงหุ้นที่ใหญ่ที่สุด 500 ตัว ด้วยต้นทุนที่ต่ำ ไม่ว่าจะเป็น หุ้น Apple หุ้น Microsoft และ หุ้น Amazon เป็นต้น
💰 ก่อนหน้านี้เราได้พูดถึง ETF กันไปแล้วว่าคืออะไร มีจุดเด่นจุดด้อยที่ต่างจากหุ้นหรือกองทุนอย่างไร รวมไปถึงรีวิว IXJ ETF ที่ลงทุนในกลุ่ม Healthcare ในบทความนี้ ผมจะนำ ETF ที่น่าสนใจและทำผลงานได้ดีในช่วงภาวะดอกเบี้ยสูง มารีวิวให้อ่านกันต่อครับ
💰 Warrant Buffett กล่าวไว้ว่า “สิ่งที่ดีที่สุด คือ การเป็นเจ้าของกองทุนดัชนี S&P500” แถมยังบอกว่าหากนักลงทุนสามารถลงทุนยาว 10 ปีได้ ให้ซื้อกองทุนดัชนีไปเลย หากกูรูนักลงทุนระดับโลกบอกแบบนี้ แสดงว่า การลงทุนใน S&P500 ต้องมีอะไรดีจริงมั้ยครับ
💰ก่อนอื่นมาทำความรู้จักดัชนี S&P500 ก่อนว่ามันคืออะไร
S&P 500 คือ ดัชนีตลาดหุ้นที่ติดตามหุ้นของบริษัทขนาดใหญ่ในสหรัฐจำนวน 500 บริษัท ซึ่งแสดงถึงผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นของอเมริกากว่า 500 บริษัท
💰ข้อดีของ ETF passive index นี้ก็คือ
1. ค่าธรรมเนียมถูก (IVV มี fee 0.03% ต่อปี) ด้วยค่าธรรมเนียมที่ถูกต่อปี ทำให้ผลตอบแทนเมื่อระยะเวลาผ่านไปนานๆ สูงขึ้นได้มาก เพราะถูกหัก%ค่าจัดการน้อย
2. ผลตอบแทนล้อตามดัชนี S&P500 ไม่ต้องพึ่งผู้จัดการกองทุน
3. ความเสี่ยงต่ำกว่า กรณีหุ้นบางตัวมีปัญหา ก็มีผลกระทบน้อย
4. มีผลตอบแทนอดีตย้อนหลังที่นานให้ตรวจสอบ
5. ผลตอบแทนชนะกองทุน Active funds หรือ Active ETFs บางตัวเมื่อติดตามผลในระยะเวลายาวนานระะดับ 5 ปีขึ้นไป
6. ผลตอบแทนโดยภาพรวมในระยะยาวเอาชนะเงินเฟ้อได้
💰ข้อเสียและความเสี่ยงใน ETF passive index แบบนี้คือ
1. ยังคงผันผวนสูงเนื่องจากเป็นหุ้น
2. มีปัจจัยกดดันกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ แม้จะไม่มากเท่ากองทุน Active ก็ตาม
3. ผลตอบแทนอาจสู้บางกองทุน หรือ หุ้น ในระยะสั้นๆ หรือระยะกลางไม่ได้ เช่นหุ้นหรือกองทุนบางตัวสามารถทำผลงานได้หลายเด้งใน 1 ปี ในขณะที่ ETF ดัชนี อาจทำไม่ได้มากเท่านั้น
💰มาดูผลตอบแทน จากรูปข้างล่างกันครับ
...รูปแรกด้านล่างจะเป็นผลตอบแทนแบบปีต่อปี ตั้งแต่ปี 2015 - 2024 (ในช่วงเดือน ม.ค. 2024)
...รูปสองจะพาย้อนหลังไปดูผลตอบแทนตั้งแต่ช่วงราวๆปี 1930 ปีนี้ 2024 ก็ราวๆ 94-95 ปีเลยครับ จะเห็นว่าช่วงบวก ก็ไม่มีปีไหน ไปถึง 100% ได้ และกรณีติดลบหนัก ก็ทำเอาพอร์ทเสียหายไปพอสมควรเช่นกัน ซึ่งล่าสุดก็ในปี 2021 คือ -19.44% ในขณะปีที่เสียหายหนักสุดในภาพคือราวๆ -47% กันเลยทีเดียว
...รูปที่ 3 แสดงสัดส่วนหุ้นของ ETF นี้ หลักๆก็เป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ที่พวกเรารู้จักกันดีครับ ไม่ว่าจะเป็น Microsoft, Apple, Nvidia, Amazon, Alphabet, Meta เป็นต้น
...รูปที่ 4 ผลตอบแทนของ IVV ที่ถูกจัดตั้งขึ้นตั้งแต่ พ.ค. 2020 โดยบริษัท BlackRock มีอายุกองทุน ETF อยู่ราวๆ 23-24 ปี
💭 ETF นี้เหมาะกับใคร
1. คนที่เชื่อในประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้นำอันดับ 1 ทางเศรษฐกิจของโลก ณ ปัจจุบันนี้
2. คนที่ไม่อยากให้พอร์ทการลงทุนผันผวนมากเกินไป แต่ต้องการผลตอบแทนที่ดีคุ้มความเสี่ยงและชนะเงินเฟ้อได้
3. คนที่อยากได้หุ้นใหญ่ ที่มีความต้านทานได้ทั้งช่วงดอกเบี้ยขาขึ้นขาลง
4. คนที่ไม่ค่อยมีเวลาศึกษารายละเอียดเป็นหุ้นรายตัวมากนัก
💭 ช่องทางการลงทุน
1. เปิดบัญชีซื้อขายหุ้นต่างประเทศกับโบรกเกอร์ในไทย แบบนี้สามารถซื้อขายได้ทั้งหุ้นต่างประเทศ และ ETFs ต่างประเทศ เช่น Dime, Innovest X, Liberator ตอนนี้บางโบรกเกอร์สามารถซื้อได้ฟรีค่าคอมมิชชั่น 1 ไม้ต่อเดือน เช่น Dime, Liberator ครับ
2. เปิดบัญชีซื้อขายหุ้นต่างประเทศกับโบรกเกอร์ในต่างประเทศ หลักการคล้ายๆโบรกเกอร์ของไทย แต่ค่าธรรมเนียมการซื้อขายจะถูกกว่า ผมมีเขียนบทความเรื่องนี้ไว้เฉพาะสำหรับผู้ที่สนใจลงทุนหุ้นต่างประเทศว่ามีตัวเลือกโบรคเกอร์อย่างไร
3. เปิดบัญชีซื้อขายเฉพาะ ETFs กับ Jitta Wealth โดย Jitta Wealth ไม่ใช่โบรคเกอร์ แต่ Jitta Wealth จะเป็น กองทุนส่วนบุคคลที่ลงทุนในหุ้น บริหารจัดการโดย บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน จิตตะ เวลธ์ จำกัด ที่ได้รับอนุญาตบริหารจัดการกองทุนส่วนบุคคล จากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ไม่ได้ถูกจัดเป็นโบรกเกอร์ จึงไม่มีรายชื่ออยู่ในลิสต์บริษัทหลักทรัพย์
สามารถตรวจสอบข้อมูลจากเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ได้ที่ https://market.sec.or.th/public/idisc/th/companyprofile/Intermediaries/0000029621
💭หากใครสนใจลงทุนใน Jitta Wealth คลิกได้เลยที่ Link : https://link.jittawealth.co/6votzlub7h
หรือคลิกที่รูปด้านล่างเพื่อเปิดบัญชีลงทุน
โฆษณา