Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
OnePoverty
•
ติดตาม
6 ก.พ. 2024 เวลา 13:11 • ข่าว
มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
ม.ราชภัฏสกลนคร ขนสินค้าชุมชนโมเดลแก้จน ร่วมงาน MOU ไทย-จีน
นักวิจัย ม.ราชภัฏสกลนคร นำสินค้าจากชุมชนที่เข้าร่วมปฏิบัติการอาชีพแก้จน 3 โมเดล เห็ด ข้าว สบู่ ยอดช่วยเหลืออาชีพแล้ว 385 ครัวเรือน โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมแก้จน 11 ชิ้น ผู้คนสนใจเข้าชมผลงานทั้งไทย-จีน ผอ.บพท. ขอบคุณชาวบ้านเชื่อมั่นแก้จนด้วยความรู้งานวิจัย
ที่ ม.กาฬสินธุ์ ผศ.ดร.ก้องภพ ชาอามาตย์ รองอธิการบดีฯ ม.ราชภัฏสกลนคร หัวหน้าโครงการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อยกระดับแพลตฟอร์มขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำในจังหวัดสกลนคร นำเสนอนิทรรศการผลการดำเนินงานวิจัย พร้อมด้วยหัวหน้าโครงการย่อยและทีมนักวิจัย ในพิธีลงนานบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการแก้ไขปัญหาความยากจน ระหว่าง หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาพื้นที่ (บพท.) แห่งราชอาณาจักรไทย กับ มหาวิทยาลัยกว่างซี แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
วันที่ 17-18 ม.ค.2567 ณ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
อ.สายฝน ปุนหาวงศ์ หัวหน้าโครงการวิจัยย่อย ทีมปฏิบัติการโมเดลแก้จนเกษตรมูลค่าสูง ได้เล่าความสำเร็จในการสร้างโอกาสทางสังคมครั้งนี้ว่า มีผู้ได้รับผลประโยชน์ครั้งนี้จำนวน 385 ครัวเรือน ในพื้นที่อำเภออากาศอำนวยครอบคลุมทั้งหมด และอำเภอพรรณานิคม ต.ไร่ นำองค์ความรู้และเทคโนโลยีเข้าไปใช้ในกระบวนการผลิตจำนวน 11 ชิ้น โดยร่วมมือกับหน่วยงานภาคีในพื้นที่ และนักศึกษาวิศวกรสังคม ในปฏิบัติการ ประกอบไปด้วย 3 โมเดล ได้แก่
1) โมเดลชุมชนเห็ดเศรษฐกิจ เป็นอาชีพระยะสั้น ยกระดับธุรกิจชุมชนเพาะเห็ด ได้เงินเร็วหนึ่งเดือนมีรายได้แก้ปัญหาไม่มีงานทำและลดรายจ่าย มีรายได้เพิ่มขึ้น 892 บาท/คน/เดือน สร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนในอำเภออากาศอำนวย มูลค่า 1,814,000 บาท
2) โมเดลสมุนไพรบรู เป็นอาชีพระยะกลาง พัฒนาการแปรรูปสบู่จากสมุนไพรในชุมชน เพื่อยกระดับรายได้ครัวเรือน สร้างโอกาสทางสังคมโดยใช้ทุนวัฒนธรรม สร้างรายได้ให้กลุ่มแล้วมากกว่า 10,000 บาท มีกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนคือโรงเรียนบ้านคำแหว
3) โมเดลคลังเมล็ดพันธุ์ข้าว เป็นอาชีพระยะยาว พัฒนาอาชีพทำนาปรังแก้ปัญหาขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ ช่วยลดต้นทุนการผลิต และมีโอกาสใหม่เตรียมพัฒนาเป็นท่องเที่ยวชุมชน “พิพิธภัณฑ์เกษตรกรรมที่มีชีวิต” ร่วมกับ Local Alike (กิจการเพื่อสังคม) ลดรายจ่ายประมาณ 1,083 บาทต่อครัวเรือน ปริมาณเมล็ดพันธุ์ที่ได้มากถึง 55,000 กิโลกรัม คิดเป็นมูลค่า 715,000 บาทต่อปี
ภายหลัง ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผอ.บพท. แหล่งทุนวิจัย ได้ฝากขอบคุณกลุ่มเป้าหมายที่เชื่อมั่น เปิดโอกาส เปิดใจ ให้ทีมนักวิจัยเข้าไปค้นหาวิธียกระดับรายได้ แก้จนด้วยงานวิจัยและองค์ความรู้ จนเกิดผลงานอย่างมีศักดิ์ศรีจากพี่น้องชาวบ้านทุกคน ทั้งนี้ อ.สายฝน ได้มอบสบู่สมุนไพรบรูให้กับ ผอ.บพท. และผู้ทรงคุณวุฒิที่เข้าเยี่ยมชม นอกจากจะสร้างความปลื้มปิติให้กับนักวิจัยในงานแล้ว ยังสร้างกำลังใจให้กลุ่มเป้าหมายได้ตระหนักเห็นคุณค่าในสิ่งที่กำลังทำ
ทีมปฏิบัติการโมเดลแก้จนเกษตรมูลค่าสูง ได้นำผลิตภัณฑ์สินค้าของกลุ่มเป้าหมายผู้มีรายได้น้อยในชุมชน มาจัดแสดงในงานอาทิ เห็ดสวรรค์ แหนมเห็ด ก้อนเชื้อเห็ด ดอกเห็ดสด สบู่สมุนไพรบรู และเมล็ดพันธุ์ข้าว สร้างความสนใจให้กับผู้เข้าชมผลงานทั้งไทยและจีน สอบถามรายละเอียดกระบวนการวิจัยจำนวนมาก นอกจากนี้ภายในงานมีนิทรรศการแก้จนมากกว่า 20 จังหวัดทั่วประเทศ
แก้จน
บันทึก
4
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
โมเดลแก้จนสกลนคร
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย