7 มี.ค. เวลา 12:17 • หนังสือ

logotherapy การหาความหมายของชีวิต และจิตวิญญาณวิเคราะห์ของคาร์ลจุง

logotherapy ของวิคเตอร์ สอดคล้องกับทฤษฏีของจุง เรื่องภารกิจเฉพาะตัวบุคคล ซึ่งจุงเสนอให้ค้นหาลงลึกภายในตัว แต่วิคเตอร์พยายามทำให้เป็นรูปธรรมด้วยการเสนอว่าให้เรา พยายามที่จะค้นหา 'ภารกิจ' ด้วยการ...
1) พยายามสร้างสรรค์ผลงานบางอย่างออกมาให้เป็นรูปธรรม เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้สึกว่าสามารถหลีกหนีจากความเจ็บปวดอันสุดจะทานทนได้ ที่พบเห็นง่ายสุดคือการพบว่าบรรลุผลสำเร็จในการทำบางอย่างให้เสร็จสิ้น (แต่อาจมีมากกว่าแค่นั้น การบรรลุความสำเร็จเป็นแค่ตัวอย่างเดียว)
2) เข้ามีประสบการณ์ตรงกับผู้คนในสังคม หรือเข้าร่วมในสถานการณ์ที่เป็นรูปธรรม (สัมผัสของจริง) ที่จะทำให้รำลึกถึง ความรัก ความดีงาม ความงดงาม สัจธรรม ไม่ว่าจะผ่านทางธรรมชาติ หรือ วัฒนธรรม (ศาสนา ความเชื่อ พิธีกรรม)
หลังจากรอดชีวิตในค่ายกักกันมาได้ เขาทำการทดลองทฤษฏีกับหลายคนทั่วโลก พบว่า ผู้คนมีความต้องการที่จะหลุดพ้นจากความรู้สึกหดหู่จำเจซ้ำซากในชีวิตมากกว่าการรู้สึกว่าได้หยุดพักผ่อนและหาความสุขแบบผิวเผิน นั่นคือ มนุษย์ต้องการหนีจากงานหรือภาระที่จำต้องทำในชีวิต แต่ไม่ต้องการหนีจาก 'ภารกิจ' หรือ 'งาน' ที่เขาอยากทำจริงๆ *เป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของจิตวิญญาณ แต่เพราะเขาไม่รู้ว่า งาน นั้นคืออะไร ผู้คนจึงยิงภาพไปที่การหยุดพักผ่อน หรือ สิ่งเสมือน เช่น ความสำเร็จในอะไรบางอย่าง ซึ่งไม่ใช่ความสำเร็จแท้จริง (เพราะมันไม่ได้มีความรู้สึกงดงาม และมีความรักแบบไร้เงื่อนไขรวมอยู่ด้วย) แต่ลงท้ายด้วยความเบื่อหน่ายหดหู่สิ้นหวัง ซึ่งความเบื่อหน่ายหดหู่สิ้นหวัง นี่เป็นประสบการณ์ที่รุนแรงกว่า การถูกกระทำให้เจ็บปวดโดยสถานการณ์ภายนอก แต่มันถูกกระทำออกมาจากจิตวิญญาณภายในของเขาเอง ทรรศนะส่วนหลังนี้เองที่สอดคล้องกับจุง ที่บอกว่า เราถูกผลักดันจากจิตไร้สำนึกภายในให้ทำอะไรสักอย่าง และถ้าเราไม่ตอบสนองสิ่งนั้น (จุงเรียกว่าพระประสงค์) ชีวิตก็จะไร้ซึ่งความหมาย

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา