12 พ.ค. เวลา 05:24 • ธุรกิจ

กรณีศึกษา Just in Time กลยุทธ์ดำเนินธุรกิจของ TOYOYA

จากโรงงานผลิตรถยนต์ธรรมดา สู่ตำนานยักษ์ใหญ่แห่งวงการยานยนต์
หลายคนคงคุ้นเคยกับชื่อเสียงอันโด่งดังของโตโยต้า แบรนด์รถยนต์จากประเทศญี่ปุ่นที่ครองใจผู้บริโภคทั่วโลก ซึ่งไม่ว่าจะไปที่ไหนเราก็จะเห็นรถยนต์แบรนด์นี้บนท้องถนนเสมอ
อีกทั้งโตโยต้ายังได้ขึ้นชื่อเรื่องระบบการผลิตที่มีประสิทธิภาพที่ทำให้พวกเขาสามารถเติบโตได้อย่างมั่นคงและต่อเนื่องตลอดเวลาที่ผ่านมา
กลยุทธ์อะไรกันที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จอันยิ่งใหญ่เหล่านี้ของโตโยต้า บทความนี้จะมาบอกเล่าเป็นกรณีศึกษาให้ได้รับรู้กัน
Just In Time กลยุทธ์สร้างสมดุลทางธุรกิจของโตโยต้า เป็นกลยุทธ์การบริหารจัดการสินค้าคงคลังที่มุ่งเน้นไปที่การผลิตหรือจัดส่งสินค้า "ในปริมาณที่ต้องการ ในเวลาที่ต้องการ และด้วยจำนวนที่ต้องการ" โดยต้องไม่มีสินค้าคงคลังไว้มากเกินไป
โดยหลักการสำคัญที่จะทำให้กลยุทธ์นี้ประสบความสำเร็จ ก็คือ
1. การผลิตแนวดึง
ระบบการผลิตจะถูกกระตุ้นโดยความต้องการของลูกค้าเท่านั้น ไม่ได้ผลิตสินค้าล่วงหน้าเพื่อรอขาย และสินค้าคงคลังระหว่างกระบวนการผลิตจะถูกควบคุมให้น้อยที่สุด
2. การลดสินค้าคงคลัง
พยายามลดปริมาณสินค้าคงคลังให้น้อยที่สุด ซึ่งช่วยลดต้นทุนในการเก็บรักษาสินค้า ลดความเสี่ยงจากสินค้าคงคลังล้น และป้องกันสินค้าเสื่อมสภาพหรือล้าสมัยในขณะที่รอการใช้งาน
3. ความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับซัพพลายเออร์
ต้องมีความสัมพันธ์ที่ดีกับซัพพลายเออร์ เนื่องด้วยซัพพลายเออร์จะต้องจัดส่งวัตถุดิบและชิ้นส่วนได้ทันในเวลาตามต้องการ และนำไปสู่การสร้างความไว้วางใจและความร่วมมือที่ดีในระยะยาว
4. การปรับปรุงกระบวนการอย่างต่อเนื่อง
มุ่งเน้นไปที่การปรับปรุงกระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่อง พนักงานทุกคนและซัพพลายเออร์ จะมีส่วนร่วมในการเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงการดำเนินงาน ลดความสูญเสียและพัฒนาระบบการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ในกรณีของโตโยต้า พวกเขาควบคุมการผลิตและลดสินค้าคงคลังด้วยนวัตกรรมที่เรียกว่า คัมบัง (Kanban) ซึ่งในภาษาญี่ปุ่นนั้นมีความหมายว่า “ป้ายแสดง”
โดยในโรงงานผลิตของโตโยต้า จะมีป้ายคัมบังที่ค่อยส่งสัญญาญาณเตือนเวลาชิ้นส่วนประกอบกำลังจะหมด หรือส่งสัญญาญาณเตือนเวลาจะเริ่มกระบวนการผลิต
เช่น หากลูกค้าต้องการสินค้า 1,000 ชิ้น พนักงานรับออเดอร์ก็จะส่งป้ายคัมบังพร้อมรายละเอียดของสินค้า ชิ้นส่วนหรือวัตถุดิบที่ต้องการ ให้แผนกประกอบสินค้า
แล้วแผนกสินค้าก็จะส่งป้ายคัมบังต่อให้กับแผนกผลิตชิ้นส่วน จากนั้นก็จะส่งชิ้นส่วนให้แผนกประกอบสินค้า เเล้วนำป้ายคัมบังส่งต่อให้พนักงานรับออเดอร์พร้อมสินค้า
โดยหากไม่มีสัญญาญาณเตือนจากป้ายคัมบัง พนักงานในแผนกต่างๆจะไม่มีการผลิตสินค้าหรือดำเนินการใดๆ เนื่องด้วยพวกเขาจะถือว่าป้ายคัมบังนั้นเป็นคำสั่งซื้อตามความต้องการของลูกค้า หากไม่มีความต้องการซึ่งก็คือ ออเดอร์ของลูกค้า พวกเขาจะไม่ผลิตสินค้า
ซึ่งจะตรงกับหลัก Just in Time ที่ระบบการผลิตจะถูกกระตุ้นโดยความต้องการของลูกค้าเท่านั้น ไม่มีการผลิตสินค้าล่วงหน้าเพื่อรอการขาย และสินค้าคงคลังระหว่างกระบวนการผลิตจะถูกควบคุมให้น้อยที่สุด เพื่อลดต้นทุนการดำเนินงานต่างๆ
ด้วยนวัตกรรมในกระบวนการทำงานอย่างคัมบัง (Kanban) จึงทำให้โตโยต้าสามารถควบคุมการผลิตและลดสินค้าคงคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง
นอกจากนี้ ทางโตโยต้ายังมีการทำสัญญาระยะยาวกับซัพพลายเออร์ในระดับท้องถิ่นของแต่ละภูมิภาค เพื่อรับประกันการจัดหาชิ้นส่วนและวัสดุสินค้าตั้งแต่เบาะไปจนถึงยางและไปจนถึงกระจกหน้ารถ และเพื่อรับรองการบริการในภูมิภาคนั้นๆ และเพื่อให้แน่ใจว่าชิ้นส่วนและวัสดุสินค้าจะเข้าสู่กระบวนการผลิตได้รวดเร็วและทันต่อความต้องการของลูกค้า
ดังนั้นชิ้นส่วนส่วนใหญ่ในกระบวนการผลิตของโตโยต้า จะได้รับมาจากซัพพลายเออร์ระดับท้องถิ่นในแต่ละภูมิภาคนั่นเอง
อีกทั้งโตโยต้ายังมีการปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่อง โดยโตโยต้ามีการพัฒนาความร่วมมือกับซัพพลายเออร์หลายราย
เช่น บริษัท Tesla Motors เพื่อจัดหาและพัฒนาระบบส่งกำลังสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าอย่าง RAV4 EV, Bridgestone Americas จะจัดหายางที่เหมาะสมสำหรับรุ่น Toyota FJ Cruiser และ Cypress Semiconductor เพื่อจัดหาและพัฒนาหน้าจอสัมผัสสำหรับ Toyota Avalon เป็นต้น
จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าโตโยต้านั้นสามารถดำเนินธุรกิจได้ตรงตามหลักของกลยุทธ์ Just In Time ทุกประการอย่างไร้ที่ติ จึงไม่แปลกเลยหากเราจะเห็นว่าโตโยต้าสามารถควมคุมต้นทุนขาย (COGS) ได้ในเกณฑ์ที่ดีและสอดคล้องกับการเติบโตของรายได้มาตลอด
นอกจากนี้ด้วยกระบวนการทำงานอย่างคัมบัง (Kanban) ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การผลิตสินค้าเมื่อมีความต้องการเท่านั้นของโตโยต้า
การมุ่งเน้นไปที่ การสั่งซื้อสินค้าคงคลังหรือชิ้นส่วนและวัสดุประกอบเพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า สินค้าคงคลังจะถูกส่งตรงไปยังสายการผลิตในปริมาณที่เหมาะสมกับความต้องการในช่วงเวลานั้น
ทำให้โตโยต้ามี Inventory Turnover ratio หรืออัตราที่ใช้วัดว่าธุรกิจมีสินค้าคงคลังหมุนเวียนกี่รอบต่อปีอยู่ที่ 2.18 ในปี 2023
ซึ่งสะท้อนว่าโตโยต้าไม่ได้มีสินค้าคงคลังหมุนเวียนเข้าออกบ่อย นั่นก็เพราะว่าโตโยต้ามีการสั่งซื้อสินค้าคงคลังหรือชิ้นส่วนและวัสดุประกอบไว้ในระดับที่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้าแล้วนั่นเอง
ด้วยกลยุทธ์ Just in Time ทำให้โตโยต้าได้ขึ้นชื่อเรื่องความแม่นยำในการประเมินความต้องการของลูกค้า ซึ่งทำให้พวกเขาสามารถดำเนินงานได้สอดคล้องกับความต้องการเหล่านั้นได้อย่างดีเสมอมา
ดังนั้นกลยุทธ์ Just in Time ของโตโยต้า จึงเป็นกรณีศึกษาที่ดีที่แสดงให้เห็นว่า ธุรกิจต่างๆ สามารถนำกลยุทธ์นี้มาช่วยในการบริหารจัดการสินค้าคงคลังให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร ธุรกิจจึงจะประสบความสำเร็จนั่นเอง
ขอบคุณรูปภาพจาก Photo by HY ART on Unsplash

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา