Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
librinybook
•
ติดตาม
29 เม.ย. 2024 เวลา 11:30 • สุขภาพ
ฮอร์โมนช่วยผอม : ตัวปรับสมดุลและควบคุมน้ำหนัก มีอะไรบ้าง
การควบคุมน้ำหนักมักถูกมองเป็นเรื่องของการควบคุมอาหารและการออกกำลังกายเพียงเท่านั้น แต่ความจริงแล้วฮอร์โมนก็มีบทบาทสำคัญต่อกระบวนการควบคุมน้ำหนักของร่างกาย
โคร้งสร้าของฮอร์โมน
ฮอร์โมนเป็นสารเคมีที่ช่วยปรับสมดุลในร่างกาย ช่วยในการเผาผลาญพลังงาน
และเป็นอีกหนึ่งเหตุผลสำคัญที่ถ้ามีมากหรือน้อยจนเกินไปก็จะก่อให้เกิดโรคอ้วน
เพราะฉะนั้นเราจึงต้องรักษาสมดุลของฮอร์โมนให้เหมาะสมอยู่เสมอ
ฮอร์โมนช่วยผอม
■
ฮอร์โมนที่มีผลต่อน้ำหนัก
ฮอร์โมนที่ควบคุมน้ำหนักมีอะไรบ้างฮอร์โมนที่ช่วยปรับสมดุลของร่างกายนั้นมีหลายชนิด
แต่วันนี้เราจะพามารู้จักเพียงบางตัวก่อน
จากหนังสือ ลำไส้ดี ชีวิตยืนยาว ซึ่งเขียนโดย ดร.ไช่อิงเจี้ย ได้อธิบายว่า
ความอยากอาหารของคนเรานั้น ถูกความคุมด้วยลำไส้ เซลล์ไขมัน ตับอ่อน และฮอร์โมนหลายชนิด ฮอร์โมนเหล่านี้มีปริมาณต่ำบ้างสูงบ้าง ทำหน้าที่ควบคุมพฤติกรรมการดื่มกินของเรา
ซึ่ง ดร. ได้ให้ฮอร์โมนที่สำคัญไว้ 2 ชนิด คือ
✓
ฮอร์โมนเลปติน (leptin) หรือฮอร์โมนความอิ่ม
เป็นฮอร์โมนที่ทำให้เรารู้สึกอิ่ม ควบคุมโดยสมองส่วนไฮโปทาลามัส
ทำหน้าที่กดความรู้สึกอยากอาหาร เพิ่มการเผาผลาญพลังงาน
และลดการสะสมของไขมันในร่างกาย
สรุปคือ ทำหน้าที่ลดความอยากอาหารและกระตุ้นการเผาผลาญพลังงาน
แต่ก็ต้องมีในปริมาณที่เหมาะสม ถ้ามีน้อยไปจะทำให้เกิดความอยากอาหาร
ถ้ามีเยอะก็จะส่งผลให้กลายเป็นโรคอ้วน เนื่องจากร่างกายมีภาวะดื้อต่อเลปติน
ต่อให้มีเลปตินปริมาณมาก ก็ไม่สามารถส่งสารสื่อประสาทถึงสมองได้
✓
ฮอร์โมนความอิ่ม peptide YY (PYY)
ฮอร์โมนความอิ่มอีกชนิดหนึ่งที่คอยควบคุมความหิวและความอิ่มของเรา
ซึ่งหลั่งมาจากลำไส้คือ ฮอร์โมน PYY เป็นฮอร์โมนความอิ่มที่ได้รับความสนใจสูงสุด
สามารถส่งสารสื่อประสาทถึงสมองเช่นเดียวกับเลปติน
นอกจากนี้ ยังมีฮอร์โมนอีกชนิดที่สำคัญ ซึ่งได้ศึกษาเพิ่มเติมจากคลิป รู้ลึกเรื่องฮอร์โมนไขมัน
วิธีพิชิตโรคอ้วน กับหมอแอมป์ ได้แก่
รู้ลึกเรื่องฮอร์โมนไขมัน วิธีพิชิตโรคอ้วน กับหมอแอมป์ | BDMS Wellness Club
หมอแอมป์
youtube.com
รู้ลึกเรื่องฮอร์โมนไขมัน วิธีพิชิตโรคอ้วน กับหมอแอมป์ | BDMS Wellness Club
รู้ลึกเรื่องฮอร์โมนไขมัน วิธีพิชิตโรคอ้วน กับหมอแอมป์🔹 รู้หรือไม่ว่า...ฮอร์โมนส่งผลต่อน้ำหนักตัวของเราหรือความอ้วนด้วยเช่นกัน เพราะฮอร์โมนหลายชนิดมีส่วนเกี่…
✓
Adiponectin
เป็นฮอร์โมนที่ผลิตมาจากไขมัน หมอแอมป์กล่าวว่า
คนที่แข็งแรงออกกำลังกายดี กินอาหารที่ดีมีประโยชน์
ก็จะทำให้มี Adiponectin เยอะ แสดงว่ามีสุขภาพร่างการดี
ดังนั้น คนที่มีฮอร์โมนตัวนี้น้อยจึงทำให้อ้วน
ฮอร์โมนนี้ยังสามารถเป็นตัวชี้วัดการเกิดโรคได้
เพราะการมีในปริมาณสูงมักช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน
ภาวะเสี่ยงต่อโรคหัวใจ และภาวะโรคอ้วน
นอกจากนี้ ยังมีฮอร์โมนอีก 2 ชนิดที่สำคัญ ซึ่งจะลืมไปไม่ได้เลย นั้นก็คือ
✓
ฮอร์โมนเอสโตรเจน
ฮอร์โมนนี้เป็นฮอร์โมนเพศที่มีสำคัญมาก โดยเฉพาะกับผู้หญิง
ในผู้หญิงที่ยังไม่หมดประจำเดือนมีส่วนช่วยให้รอบเดือนมาปกติ
ดังนั้นผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนจึงมีระดับฮอร์โมนเอสโสโตรเจนที่ลดลง
ซึ่งส่งผลให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้
✓
ฮอร์โมนอินซูลิน
ฮอร์โมนอินซูลินผลิตจากตับอ่อน หลักการโดยพื้นฐานก็คือ
เมื่อร่างกายมีระดับน้ำตาลสูง ฮอร์โมนอินซูลินจะหลั่งออกมาเพื่อนำน้ำตาลเข้าสู่เซลล์
ส่งผลต่อการเก็บไขมันและการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
ทำให้ร่างกายรู้สึกอิ่มและช่วยลดความอยากอาหาร
ดังนั้นการมีระดับฮอร์โมนอินซูลินสูง
จึงช่วยให้ร่างกายมีความต้านทานต่อการมีน้ำหนักเกิน
อย่างไรก็ตามในผู้ป่วยโรคเบาหวานจะมีการทำงานของฮอร์โมนอินซูลินที่ต่างออกไป
ซึ่งเราจะยังไม่กล่าวถึงในตอนนี้
■
วิธีการสมดุลฮอร์โมนเพื่อลดน้ำหนัก
วิธีการง่าย ๆ ที่จะช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนร่างกาย เพื่อการลดน้ำหนัก ได้แก่นอนหลับ
ควบคุมระดับความเครียดและการนอนหลับ สามารถช่วยลดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่ส่งผลต่อน้ำหนักได้
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและเหมาะสม
ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนและกระตุ้นการเผาผลาญพลังงาน
ควบคุมอาหาร เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน
โดยการรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม
และรับประทานเท่าที่จำเป็น ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมน
และการควบคุมน้ำหนัก
การรักษาสุขภาพด้วยการควบคุมระดับฮอร์โมนเหล่านี้ให้อยู่ในระดับ
ที่สมดุลเป็นสิ่งจำเป็นต่อการควบคุมน้ำหนัก
เมื่อน้ำหนักตัวของเราสมส่วนไม่เกินมาตรฐานก็จะช่วยลดความเสี่ยง
ต่อโรคอ้วนและโรคอื่นๆ ดังนั้นหากใครกำลังมีปัญหาเรื่องน้ำหนักตัว
ควรรีบปรึกษาแพทย์หรือนักโภชนาการเพื่อขอคำแนะนำที่เหมาะสมกันนะคะ
เครดิตภาพ :
ภาพปก 1 และ ภาพประกอบ : 1, 2, 3, 4 และ 5 / website :
rawpixel.com
[แก้ไขโดย วาฬสีนิล]
health
healthmenow
healthcare
บันทึก
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย