22 พ.ค. เวลา 16:10 • ไลฟ์สไตล์
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร

*ขอบคุณ*

▪️ข่าวโบราณสถานโบราณวัตถุ ทั้งการขุดพบ และการได้รับมอบส่งคืนช่วงนี้ พาหัวใจฟ่องฟูกันทั้งสองฝั่งโขง แต่เรื่องพวกนี้ไม่เคยง่าย ตรงโน้นชาวบ่อแก้ว คงต้องออกแรงขุด ค้นหาเก็บกู้ กันอีกหลายยก
🔸
▪️ส่วนตรงนี้ภาครัฐ, นักวิชาการอิสระ, ภาคเอกชน ได้รวมพลังกันนานหลายปี จนออกดอกออกผลเป็นทั้งข่าวใหญ่ และข่าวการรับมอบคืนแบบเงียบๆ มีมาโดยตลอด▪️เรื่องพวกนี้ฟังเหมือนง่าย แต่เบื้องหลังสาหัสในการต่อสู้ ทั้งกฎหมายระหว่างประเทศ, ความเข้มแข็งของพิพิธภัณฑ์, กลุ่มทุนสนับสนุนสถาบัน และภัณฑารักษ์ระดับศาสตราจารย์เบอร์ใหญ่ทรงพลัง
🔸The Metropolitan Museum of Art🔸
🔸THE MET @ New York🔸
️▪️ไหนจะเป็นแหล่งฟอกเงินและเลี่ยงภาษีชั้นดี แถมยังเป็นเวทีให้มีหน้ามีตาได้ เมื่อส่งมอบโบราณวัตถุที่มีปัญหาจากต้นทาง ให้กับพิพิธภัณฑ์ในงานเลี้ยงระดมทุนที่บ้านเกิดตัวเอง แนวทางการต่อสู้สายนี้ จึงยืดเยื้อสาหัส และที่จริงมันก็สาหัส ตั้งแต่โบราณวัตถุถูกขโมยขนย้ายออกไป ตั้งแต่หนแรกนั่นแล้ว
🔸พระพุทธรูปปางมารวิชัย สุโขทัย @ THE MET🔸
▪️โบราณสถานโบราณวัตถุของบ้านเรานั้นสวย โดดเด่นมีเอกลักษณ์ สะท้อนอารยธรรมและวัฒนธรรม ลงในงานศิลปะ ในปฎิมากรรมทั้งเทวรูป, พระพุทธรูป และสถาปัตยกรรมศาสนสถาน ซึ่งล้วนคือภูมิปัญญา ที่ตกทอดมาอย่างเข้มแข็ง
▪️ขณะเดียวกัน ความสวยงามมีค่านี้เอง ได้กลายเป็นสิ่งล่อใจ ของนักขุดนักค้าและนักสะสม ที่จะสามารถสร้างรายได้ เป็นกอบเป็นกำ ตั้งแต่ลูกปัดเม็ดละไม่กี่ร้อยบาท ถึงปฎิมากรรมหลายสิบล้าน
▪️เศียรพระพุทธรูป และเศียรพระโพธิสัตว์กว่าสิบชิ้นราคารวม ๗-๘๐,๐๐๐ ที่ถูกขุดตัดจากถ้ำที่ศรีเทพ แต่ตกราคา ๒๐๐,๐๐๐ ต่อชิ้น (ราคาเมื่อ ๖๐ ปีก่อน) ถ้าหลุดไปถึงสหรัฐฯ และในกรณี Jim Thompson คือตัวอย่างหนึ่งที่ดี
🔸
▪️จากทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๑ ถึงไม่ใกล้ไม่ไกล หลังการต่อสู้ทวงคืนมากว่า ๕ ปีกับทับหลังปราสาทหนองหงส์ ในบุรีรัมย์ และทับหลังปราสาทเขาโล้น ที่สระแก้ว ที่ถูกขโมยไปนานกว่า ๖๐ ปี และได้รับคืนจาก Denver Art Museum @ Colorado ในปี พ.ศ.๒๕๖๔
🔸
▪️ถึงครอบพระเศียรทองคำ ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๑ ใช้ประดับพระเศียรพระพุทธรูปที่แกะจากหิน ที่สร้างเป็นพุทธบูชา เนื้อวัสดุทองคำชั้นดี ๙๕ % ด้วยเทคนิคการดุนทอง ได้รับคืนจาก Collection สะสมส่วนบุคคลชาวสหรัฐฯ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๖๕
🔸
▪️และไม่กี่วันนี้เอง กับ ๒ ปฎิมากรรมที่เป็นข่าวมายาวนาน ทั้งหนทางการต่อสู้ และถูกเฝ้ารอให้หวนคืนสู่มาตุภูมิ คือปฎิมากรรมรูปบุคคล รูปพระมหากษัตริย์ในสถานะเทพ (ชัยวรมันที่ ๖) ศิลปะลพบุรี หรือศิลปะเขมรในประเทศไทย ชนิดสัมฤทธิ์, ฝังเงิน, กะไหล่ทอง จากปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ถึงต้นศตวรรษที่ ๑๗ (๙๐๐-๑,๐๐๐ปี) หรือที่รู้จักในนาม Golden Boy
🔸
🔸
▪️รวมทั้งปฎิมากรรมสัมฤทธิ์ กะไหล่ทอง รูปสตรีในราชสำนักนั่งชันเข่า พนมมือทั้งสองชูขึ้นเหนือศรีษะในท่าทำความเคารพ หลังเท้าทั้งสองข้างเปิดแบบจารีตราชสำนัก ศิลปะลพบุรี หรือศิลปะเขมรในประเทศไทยเช่นกัน จากปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ถึงต้นศตวรรษที่ ๑๗ (๙๐๐-๑,๐๐๐ ปี) ▪️ซึ่งมีหลักฐานการค้นพบ ทีาอำเภอบ้านกรวด จ.บุรีรัมย์เหมือนกัน▪️โดยคาดว่าหล่อขึ้นที่โรงหล่อหลวง ในเมืองพระนคร ซึ่ง The MET หรือ Metropolitan Museum of Art @ New York ส่งมอบคืนให้กับไทย หลังการยื้อสู้กันมานานระยะหนึ่ง
🔸
▪️เรื่องแบบนี้ ไม่ว่าหนนี้หรือหนไหน ใครกี่คนที่เอาออกไปก็จำหน้า (มัน) เอาไว้ และใครกี่คนที่ออกแรงสู้เพื่อเอากลับคืนก็ต้องจดจำ การกลับมาของ *ชัยวรมันที่ ๖ หนนี้ ได้เปิดหน้าประวัติศาสตร์ ของดินแดนตรงนี้ให้กว้างไกลไปอีกมาก
🔸พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ & สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ @ The MET พ.ศ.๒๕๑๐🔸
▪️ขอขอบคุณคนเก่งคนไทยมากมาย ที่ติดตามต่อสู้ทวงคืน โบราณวัตถุสำคัญของชาติในต่างแดน มาโดยตลอด ... ขอบคุณนักสู้กรมศิลปากร ... ขอบคุณนักสู้กระทรวงบัวแก้ว ... ขอบคุณนักสู้กลุ่มสำนึก 300 องค์ และขอบคุณรัฐบาล พล อ.ประยุทธ จันทร์โอชา ที่เปิดประตูไว้ทุกบานเมื่อ ๗-๘ ปีก่อน สนับสนุนให้ติดตาม หาหลักฐานเพื่อใช้ต่อสู้ หวังนำโบราณวัตถุสำคัญล้ำค่าของชาติ ให้หวนคืนสู่มาตุภูมิ▪️เรื่องนี้ไม่สลับซับซ้อนอะไร แต่ไม่ง่ายเลยในการต่อสู้
🔸ปราสาทปลายบัด : บุรีรัมย์🔸
🔆 📷 All Photos▪️by Tui Kajondej
⭕ สมุดภาพแห่งความทรงจำ
⭕ ถ้ำทวารวดี (เขางู-ศรีเทพ-พระโพธิสัตว์)
✳️️️ เขียนทุกเรื่องด้วยความสนุก เพื่อความสุขของผู้เขียน ไว้สะสมเรื่องเขียน ตรงนี้

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา