Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
InvestWay
•
ติดตาม
18 มิ.ย. เวลา 23:00 • ธุรกิจ
เราจะรู้ได้อย่างไรว่า พนักงานที่จ้างมาทั้งหมด นั้นทำงานคุ้มค่ากับค่าแรง
การจ้างพนักงานถือเป็นการลงทุนหนึ่งที่สำคัญสำหรับบริษัท ในฐานะเจ้าของธุรกิจหรือผู้บริหาร ก็คงต้องเคยตั้งคำถามกับธุรกิจหรือองค์กรของตนเองว่า "พนักงานที่เราจ้างมาทั้งหมดนั้น ทำงานคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไปหรือไม่?"
ซึ่งแน่นอนว่าเราทุกคนต่างคาดหวังว่า พนักงานทุกคนจะทำงานคุ้มค่าและสร้างผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจหรือองค์กรได้ มากกว่าหรือเท่ากับเงินเดือนหรือค่าแรงที่จ่ายไป
แต่แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า พนักงานที่จ้างมาทั้งหมด นั้นทำงานคุ้มค่ากับค่าแรง?
ครั้งนี้เลยจะมานำเสนอตัวชี้วัดแบบง่ายๆ ที่ใช้ประเมินภาพรวม และวัดว่าพนักงานทั้งหมดของเรานั้นทำงานคุ้มค่ากับค่าแรงหรือไม่
●
Revenue to Employee Ratio (อัตราส่วนรายได้ต่อพนักงาน)
วิธีที่ง่ายที่สุดที่เราจะทราบความคุ้มค่าของพนักงานทั้งหมดของเรา ว่าทำงานคุ้มค่ากับค่าแรงหรือไม่ นั่นก็คือ วัดจากรายได้ทั้งหมดของบริษัทต่อพนักงาน
ซึ่งจะคำนวณโดย รายได้รวม / จำนวนพนักงาน
รายได้รวม ก็คือ ยอดขายทั้งหมดของบริษัทในช่วงเวลาที่กำหนด (เช่น 1 ปี หรือ 1 ไตรมาส)
จำนวนพนักงาน ก็คือ จำนวนพนักงานทั้งหมดของบริษัทในช่วงเวลาที่กำหนด (รวมพนักงานประจำและพนักงานชั่วคราว)
สมมุติว่า บริษัทมีรายได้รวม 1,000 ล้านบาทในปี 2023 และมีพนักงาน 100 คน อัตราส่วนรายได้ต่อพนักงานของบริษัทในปี 2023
จะคำนวณได้ดังนี้ 1,000,000,000 บาท / 100 คน = 10,000,000 บาทต่อคน
อัตราส่วนรายได้ต่อพนักงานที่สูงบ่งชี้ว่าบริษัทมีประสิทธิภาพในการสร้างรายได้จากพนักงานแต่ละคน อย่างไรก็ตาม การตีความผลลัพธ์ว่าดีหรือไม่นั้นเราควรพิจารณาปัจจัยอื่นๆ เพิ่มเติมร่วมด้วย เช่น ประเภทธุรกิจ กลยุทธ์การกำหนดราคา และขนาดของบริษัท
2
●
Goal Achievement Ratio อัตราส่วนการบรรลุเป้าหมาย (Goal Achievement Ratio)
เพื่อให้บริษัทพัฒนาและเติบโตต่อไป ทุกบริษัทก็มักจะมีการคิดค้นกลยุทธ์ทางธุรกิจต่างๆ รวมถึงกำหนดเป้าหมายของบริษัทให้ชัดเจน เพื่อเป็นการตีกรอบการทำงานให้แก่พนักงงาน
การสำเร็จให้ได้ตามเป้าหมายของบริษัทที่กำหนดไว้ จึงสามารถใช้วัดได้ในระดับหนึ่งว่า พนักงานทั้งหมดของเรานั้นทำงานคุ้มค่ากับค่าแรงหรือไม่
คำนวณโดย (เป้าหมายที่บรรลุ / เป้าหมายที่ตั้งไว้) x 100
เป้าหมายที่บรรลุ ก็คือ ผลลัพธ์ที่ได้จริง
เป้าหมายที่ตั้งไว้ ก็คือ เป้าหมายบริษัทที่กำหนดไว้ล่วงหน้า
สมมุติว่า พนักงานขายตั้งเป้ายอดขายไว้ที่ 1,000,000 บาทในเดือนมิถุนายน และสามารถทำยอดขายได้จริง 900,000 บาท
อัตราส่วนการบรรลุเป้าหมายของพนักงานขายคนนี้ในเดือนมิถุนายนจะคำนวณได้ดังนี้ 900,000 บาท / 1,000,000 บาท x 100 = 90%
อย่างไรก็ตาม การตีความผลลัพธ์ควรพิจารณาปัจจัยอื่นๆ เพิ่มเติมด้วยอีกเช่นกัน เช่น ความยากง่ายของเป้าหมาย ทรัพยากรที่ใช้ และปัจจัยภายนอก เป็นต้น
4
●
อัตราส่วนการแก้ไขข้อบกพร่อง (Defect Correction Rate)
ในขั้นตอนการทำงานไม่ว่าจะในบริษัทใด ก็สามารถเกิดความผิดพลาดได้ทั้งสิ้น ข้อบกพร่องที่ได้รับการแก้ไขเมื่อเทียบกับจำนวนข้อบกพร่องทั้งหมดที่พบ จะแสดงถึงความเต็มใจของพนักงานในการแก้ไขสิ่งเหล่านั้น
ซึ่งจะคำนวณโดย (จำนวนข้อบกพร่องที่แก้ไข / จำนวนข้อบกพร่องทั้งหมด) x 100
จำนวนข้อบกพร่องที่แก้ไข ก็คือ จำนวนข้อบกพร่องที่ได้รับการแก้ไขภายในช่วงเวลาที่กำหนด (เช่น 1 ปี หรือ 1 ไตรมาส)
จำนวนข้อบกพร่องทั้งหมด ก็คือ จำนวนข้อบกพร่องทั้งหมดที่พบภายในช่วงเวลาที่กำหนด (เช่น 1 ปี หรือ 1 ไตรมาส)
สมมุติว่า บริษัทพบข้อบกพร่องในการดำเนินงานทั้งหมด 50 ข้อ และสามารถแก้ไขได้ 40 ข้อ อัตราส่วนการแก้ไขข้อบกพร่องจะคำนวณได้ดังนี้ (40 ข้อ / 50 ข้อ) x 100 = 80%
ยิ่งตัวเลขนี้สูงก็จะแสดงถึงความเต็มใจของพนักงานที่จะแก้ไขปัญหาหรือข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในการทำงาน
●
อัตราการทำงานล่วงเวลา (Overtime Rate)
สำหรับพนักงานแล้วการต้องทำงานล่วงเวลา อาจเป็นสิ่งที่ไม่น่าพอใจสักเท่าไหร่ แต่หากในฐานะเจ้าของธุรกิจหรือผู้บริหาร มันแสดงถึงความคุ้มค่าต่อพนักงานสำหรับค่าแรงที่จ่ายไป
1
คำนวณโดย (จำนวนชั่วโมงทำงานล่วงเวลา / จำนวนชั่วโมงทำงานปกติ) x 100
จำนวนชั่วโมงทำงานล่วงเวลา ก็คือ จำนวนชั่วโมงที่พนักงานทำงานเกินเวลาปกติในช่วงเวลาที่กำหนด
จำนวนชั่วโมงทำงานปกติ ก็คือ จำนวนชั่วโมงทำงานปกติของพนักงานในช่วงเวลาที่กำหนด
สมมุติว่า พนักงานมีเวลาทำงานปกติ 8 ชั่วโมงต่อวัน และทำงานล่วงเวลา 2 ชั่วโมงต่อวัน อัตราการทำงานล่วงเวลาของพนักงานจะคำนวณได้ดังนี้ (2 ชั่วโมง / 8 ชั่วโมง) x 100 = 25%
แต่แม้ว่าอัตราการทำงานล่วงเวลาที่สูงจะบ่งชี้ว่าพนักงานทำงานมากกว่าตามปกติ แต่ในขณะเดียวกันอาจบ่งบอกประสิทธิภาพในการทำงานตามเวลาปกติที่ไม่มีประสิทธิภาพ จึงต้องทำงานล่วงเวลา ซึ่งอาจไม่ส่งผลดีต่อสุขภาพของพนักงานและบรรยากาศในที่ทำงานได้ด้วยเช่นกัน
ตัวชี้วัดที่กล่าวมานี้เป็นเครื่องมือที่สามารถนำไปใช้ในการประเมินผลพนักงานได้กับหลากหลายธุรกิจหรืออุตสาหกรรม แต่อย่างไรก็ตาม ตัวชี้วัดเหล่านี้ก็เป็นวิธีประเมินผลพนักงานแบบง่ายและเบื้องต้นเท่านั้น
ดังนั้นเจ้าของธุรกิจหรือผู้บริหารควรมีการใช้ตัวชี้วัดอื่นๆที่เฉพาะเจาะจงควบคู่ไปด้วย เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนและนำไปสู่การพัฒนาบริษัทหรือองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
References:
https://calculator.academy/goal-ratio-calculator/
https://factorialhr.com/blog/revenue-per-employee/
https://club.ministryoftesting.com/t/how-to-measure-defect-detection-efficiency-rate/15313
https://en.wikipedia.org/wiki/Overtime_rate
ธุรกิจ
การลงทุน
การเงิน
2 บันทึก
5
3
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
MARKETTING AND BUSINESS SERIES by InvestWay
2
5
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย