12 มิ.ย. 2024 เวลา 06:48 • ประวัติศาสตร์

สร้าง Landmark EP.2 เทพีเสรีภาพ

สหรัฐอเมริกา คือประเทศอภิมหาอำนาจยักษ์ใหญ่ของโลก และเป็หนึ่งในผู้นำโลกเสรี แต่กระนั้นก็ตามถ้าหากเทียบกับมหาอำนาจยุคก่อนๆหรือมหาอำนาจยุคปัจจุบันอย่างอังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย หรือแม้แต่จีน สหรัฐอเมริกาก็เปลี่ยนเหมือนเด็กหนุ่มหน้าใหม่ไฟแรงที่เข้าสู่สนามการแข่งขันช้ากว่าคนอื่นแต่กลับสามารถทะยานขึ้นสู่จุดสูงสุดในระยะเวลาที่แสนสั้น
ด้วยประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกาที่มีอายุเพียง 248 ปี เมื่อเทียบกับอังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซียและจีนแล้ว ถูกว่ายังเด็กเป็นอย่างมาก แต่เมื่อเราเรียนรู้เรื่องราวประวัติศาสตร์สหรัฐอันกระท่อนกระแท่น ทั้งปัญหาเรื่องทาส จนก่อให้เกิดสงครามกลางเมืองสหรัฐอเมริกา วิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งดูเหมือนจะฉุดรั้งการพัฒนาสหรัฐไม่ให้ก้าวหน้าก็ตามที แต่ในปัจจุบันก็ทำให้เรายอมรับว่า สหรัฐอเมริกาเป็นชาติมหาอำนาจที่ผ่านด่านอุปสรรคปัญหาที่เหล่าชาติมหาอำนาจทั้งในอดีตและปัจจุบันเผชิญได้อย่างดีเยี่ยม
แต่เหนือสิ่งอื่นใดสหรัฐอเมริกาแม้จะพัฒนาประเทศอย่างก้าวหน้าเพียงใด แต่สิ่งหนึ่งที่พวกเขาเหล่าประชาชนสหรัฐอเมริการักและหวงแหนอยู่เสมอ เป็นสิ่งที่พวกเขานั้นธำรงรักษาไว้ด้วยชีวิต นั่นคือ เสรีภาพของพวกเขา อย่างที่มีคนกล่าวอยู่เสมอว่า “The land of freedom” หรือ ดินแดนแห่งเสรีภาพ
ปะติมากรรมนูนสูงทำจากโลหะสำริดรูปเทพีลิเบอร์ตาสตั้งตะหง่านบนเกาะลิเบอร์ตี มหานครนิวยอร์ก เป็นเครื่องระลึกถึงเสรีภาพที่ได้มาจากชัยชนะที่ชาวอาณานิคมอเมริกา คำถามที่ว่า เทพีเสรีภาพมาจากไหน นั้นอาจจะไม่ใช่คำถามที่เราจะใช้เริ่มศึกษาเรื่องราวของอนุสาวรีย์อันสูงใหญ่ แต่ควรจะถามว่า เหตุไฉนถึงต้องเป็นเทพีเสรีภาพ
ซึ่งหากเราจะตอบคำถามข้อนี้ เราต้องย้อนไปที่จุดเริ่มต้นเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ปี 1773 ที่งานเลี้ยงน้ำชาที่จะนำพาไปสู่การปลดแอกตัวเองออกจากการเป็นอาณานิคมของสหรัฐ ณ เมืองบอสตัน อาณานิคมอเมริกา
ภาพ งานเลี้ยงน้ำชาที่บอสตัน โดย ดับลิว. ดี คูเปอร์
งานเลี้ยงน้ำชาที่บอสตันคือ ความพยายามในการต่อต้านการปกครองของจักรวรรดิอังกฤษ สืบเนื่องจากความไม่พอใจของชาวอาณานิคมจากการที่อังกฤษได้บังคับใช้พระราชบัญญัติชา แต่ถึงแม้ว่าหลังงานเลี้ยงน้ำชาอันสุดแสนจะวุ่นวาย แต่อังกฤษก็ยังสร้างความแตกแยกซึ่งจะนำไปสู่ความเหลืออดที่จะอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิอังกฤษ
เนื่องจากในปี 1774 อังกฤษได้ประกาศบังคับใช้พระราชบัญญัติบีบคั้น เพื่อกดขี่รัฐอาณานิคมอเมริกาไว้ให้ยังอยู่ภายใต้การปกครองโดยการทำให้รัฐแมสซาชูเซตส์สิ้นสุดการปกครองตนเอง และยุติการค้ากับเมืองบอสตัน
งานเลี้ยงน้ำชาที่บอสตันนี้ถือเป็นฟางเส้นสุดท้ายที่นำไปสู่การทำสงครามประกาศอิสรภาพสหรัฐอเมริกา ความไม่พอใจกับการอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษนั้นไม่ได้เกิดขึ้นแค่ที่รัฐแมสซาชูเซตส์หรือแค่เพิ่งจะเกิดขึ้น แต่แท้จริงแล้วรัฐอาณานิคมสิบสามแห่งและเกิดขึ้นมานานพอสมควรตั้งแต่ปี 1765 หลังการประกาศใช้พระราชบัญญัติแสตมป์ แม้ว่าพลเมืองอาณานิคมทั้งสิบสามแห่งนั้นอาจจะมีบรรพบุรุษเป็นชาวอังกฤษก็ตามที แต่การถูกกดขี่ไม่ใช่สิ่งที่เขาจะอดรนทนต่อไปได้ แม้ว่าผู้ที่จะกดขี่พวกเขานั้นจะเป็นบรรพบุรุษของพวกเขาก็ตามที
ภาพสงครามประกาศอิสรภาพอเมริกา
เมื่อเสรีภาพของชาวอาณานิคมถูกลิดรอนจากเจ้าอาณานิคม พวกเขาจึงเลือกที่จะยุติการอดรนทนต่อความบ้าอำนาจของอังกฤษโดยการ ทำสงครามประกาศอิสรภาพในปี 1775 รัฐอาณานิคมทั้งสิบสามรวมตัวกันแล้วร่วมกันทำสงครามเพื่อช่วงชิงอิสรภาพและเสรีภาพที่พวกเขารักและหวงแหนกลับคืนมา แม้ว่าการทำสงครามนั้นจะต้องแลกด้วยเลือด เนื้อหรือหยาดเหงื่อก็ตามที
ภาพการลงนามในคำประกาศอิสรภาพสหรัฐอเมริกา
“ความสัตย์จริงดังต่อไปนี้เราถือว่าชัดแจ้งอยู่ในตัวแล้ว คือ ทุกคนได้รับการรังสรรค์มาให้เท่าเทียมกัน พระผู้สร้างเขาเหล่านั้นได้ประทานให้เขามีสิทธิบางประการอันถ่ายโอนแก่กันไม่ได้ ซึ่งเรื่องนี้รวมถึง ชีวิต เสรีภาพ และการแสวงหาความสุข”
นี่คือเนื้อหาใจความในคำประกาศอิสรภาพสหรัฐอเมริกาที่กินใจและบ่งบอกถึงความรักและความปรารถนาที่ชาวอาณานิคมทั้งสิบสามต้องการจากการประกาศอิสรภาพ หลังการสิ้นสุดสงครามประกาศอิสรภาพที่จบลงด้วยชัยชนะและอิสรภาพของอาณานิคมทั้งสิบสามแห่งแล้ว พวกเขาได้ร่วมกันก่อตั้งประเทศที่ทุกคนมีสิทธิและเสรีภาพที่เท่าเทียมกัน โดยที่เสรีภาพและสิทธิต่างๆของประชาชนนั้นจะต้องอยู่ภายใต้กฎหมายเพื่อป้องกันการใช้เสรีภาพที่เกินเลยและไร้ศีลธรรม
สหรัฐอเมริกาภายใต้การปกครองประเทศในรูปแบบใหม่ที่โลกนี้ยังไม่เคยเห็น เป็นประเทศเกิดใหม่ที่ผู้ปกครองไม่ใช่เจ้า ไม่ใช่กษัตริย์ และไม่ใช่จักรพรรดิ พวกเขาได้คิดชื่อเรียกตำแหน่งประมุขของพวกเขาด้วยคำที่เป็นตัวแทนของประชาชน ที่มีสิทธิและเสรีภาพเท่าประชาชนทั่วๆไป ไม่ได้สูงส่งกว่าประชาชน โดยเรียกประมุขของพวกเขาว่า ประธานาธิบดี อันเป็นประมุขประเทศที่มาจากประชาชน ไม่ใช่ มาจากเบื้องบนเช่นกษัตริย์
หลังจากการก่อตั้งประเทศได้ไม่นาน ในวันเฉลิมฉลองวันชาติสหรัฐอเมริกาครบ 100 ปีในวันที่ 4 กรกฎาคม ปี 1876 ฝรั่งเศสได้มอบของขวัญเพื่อแสดงถึงความมีไมตรีต่อกันของทั้งสองประเทศและเพื่อเฉลิมฉลองเสรีภาพของสหรัฐอเมริกาที่ครบรอบ 100 ปี นั่นคือ ปะติมากรรมรูปเทพีเทพีลิเบอร์ตาส
มือซ้ายถือแผ่นจารึกภาษาละติน JULY IV MDCCLXXVI 4 กรกฎาคม 1776 อันเป็นปีที่สหรัฐอเมริกาประกาศอิสรภาพจากอังกฤษ และมือขวาชูคบเพลิงอันเป็นตัวแทนถึงแสงสว่างแห่งเสรีภาพและความหวังที่ลุกโชนบนแผ่นดินอเมริกา โดยที่บริเวณเท้าของรูปถูกล่ามด้วยโซ่ที่ถูกตัดออก อันเป็นสัญลักษณ์ของการถูกปลดเปลื้องออกจากพันธนาการโดยสมบูรณ์
ภาพบริเวณเท้าของอนุสาวรีย์เทพีเสรีภาพที่มีโซที่ถูกตัดล่ามไว้อยู่
ของขวัญชิ้นนี้เป็นเสมือนตัวแทนของเสรีภาพ และความหวังที่ส่องสว่างแผ่ไปทั่วทั้งแผ่นดินสหรัฐอเมริกา เป็นตัวแทนของความรักและหวงแหนในสิทธิและเสรีภาพของประชาชนแห่งดินแดนเสรีภาพที่แลกมาด้วยเลือด เพื่อช่วงชิงเสรีภาพที่ถูกช่วงชิงไป แม้ว่าตลอดประวัติศาสตร์สหรัฐจะผ่านอุปสรรคตั้งแต่การก่อตั้งประเทศจนมาถึงปัจจุบัน แต่สิ่งที่จะคงอยู่กับประชาชนตลอดไปนั้นคือเสรีภาพที่ประชาชนจะได้รับอย่างเท่าเทียมกัน ดังที่บทกวีของเอมมา ลาซารัส ที่จารึกไว้ที่ทางเข้าของอนุสาวรีย์ไว้ว่า
จงมอบผู้เหนื่อยล้าและผู้ยากไร้ของท่านให้ข้าพเจ้า ผู้คนที่รวมตัวกันซึ่งปรารถนาจะหายใจอย่างเสรี เหล่าผู้คนถูกทอดทิ้งจากชายฝั่งที่คับคั่งของท่าน โปรดส่งพวกเขาเหล่านั้น ทั้งผู้ไร้บ้าน ถูกผู้ถูกพายุโหมกระหน่ำ มาหาข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะยกคบเพลิงของข้าพเจ้าข้างประตูทองคำ
บทกวีของเอมมา ลาซารัส ที่จารึกไว้ที่ทางเข้าของอนุสาวรีย์

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา