Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
แมวพิมพ์
•
ติดตาม
5 ต.ค. เวลา 01:00 • หนังสือ
สรุปหนังสือ 📚 The Power of Output ศิลปะของการปล่อยของ
ผู้เขียน ✏️ คะบะซาวะ ชิออน
เนื้อหา ⭐⭐⭐⭐⭐
อ่านง่าย ⭐⭐⭐⭐⭐
คุ้มเวลา ⭐⭐⭐⭐
ขออธิบายความหมายของ Input และ Output กันก่อน
Input คือ การป้อนข้อมูลเข้าสมอง เช่น อ่าน ฟัง ดู
Output คือ การแสดงผลออกมา เช่น พูด เขียน ทำ
การที่เราทำ Input มากๆ แต่ไม่ได้ทำอย่างตั้งใจ
และไม่ได้ทำ Output หรือถูกนำมาใช้ สุดท้ายเราจะลืม
เท่ากับเสียเวลา รวมถึงนำไปพัฒนาตัวเองต่อไม่ได้ด้วย
CHAPTER 1: กฎพื้นฐานของ Output
1️⃣ สร้าง Output อย่างน้อย 3 ครั้ง ใน 2 สัปดาห์
ผ่านการพูด เขียน หรือนำไปทำจริง
เป็นการบอกสมองว่า "ข้อมูลนี้สำคัญ"
ซึ่งจะทำให้เราจำได้นั่นเอง
2️⃣ ทำแบบ "บันไดวนแห่งการพัฒนาตนเอง"
หลังจากทำ Input ให้ทำ Output สลับกันไปเรื่อยๆ
เช่น หลังจากอ่านจบ ก็ไปเล่าให้คนอื่นฟัง
ดูข้อมูลเพิ่มเติม เอามาเขียนรีวิวต่อในบล็อก
3️⃣ อัตราส่วนที่ดีที่สุดคือ 3 : 7
ลดเวลาในการทำ Input ลง
แล้วเพิ่มเวลาในการทำ Output มากขึ้น
จะช่วยให้เราพัฒนาตัวเองได้มากกว่า
4️⃣ ทำ Feedback จากการทำ Output
เมื่อเกิดข้อผิดพลาด ให้หาสาเหตุและวิธีป้องกัน
เมื่อทำสำเร็จ ให้นึกถึงที่มา และปรับปรุงให้ดีขึ้น
การทำ Feedback ก่อนจะเริ่มทำ Input ครั้งต่อไป
จะช่วยให้เราพัฒนาได้อย่างก้าวกระโดด
แล้วจะทำ Feedback อย่างไรได้บ้าง?
มาดู 4 วิธีที่สร้าง Feedback ให้ได้ผลดีกันค่ะ
1️⃣ แก้ไขข้อด้อยและพัฒนาข้อดี
เวลาที่มีจุดไหนไม่เข้าใจ ให้หาความรู้เพิ่มเติม
ถือเป็นการ "แก้ไขข้อด้อย"
แต่ถ้ามีข้อมูลที่คิดว่าน่าสนใจ แล้วหาข้อมูลเพิ่ม
ตรงนี้เรียกว่า "พัฒนาข้อดี"
2️⃣ ขยายให้กว้างและเจาะให้ลึก
กว้าง คือ เรียนรู้เรื่องเดียวกันจากหลายแหล่ง
ลึก คือ เรียนรู้เรื่องที่อยากรู้เป็นพิเศษให้ลึกขึ้น
3️⃣ ไขข้อสงสัยว่า "ทำไม?"
เมื่อมีข้อสงสัยเวลาที่เรียนรู้เรื่องอะไร
ให้หาคำตอบทันที อย่าปล่อยความสงสัยทิ้งไว้
การฝึกเป็นนิสัยจะยิ่งทำให้เราพัฒนาได้ดี
4️⃣ ให้คนอื่นแนะนำ
ปรึกษาผู้ที่มีความรู้หรือประสบการณ์มากกว่า
จะช่วยให้เข้าใจสาเหตุที่เราทำได้ดีหรือไม่ดี
และจะทำให้เรามองเห็นว่าเราควรทำอะไรต่อ
CHAPTER 2: วิธีพูดโดยใช้หลักวิทยาศาสตร์
"การพูด" เป็นวิธีทำ Output ที่ง่ายและเร็วที่สุด
ลองเริ่มจากพูดสิ่งที่เราอ่าน ฟัง หรือเจอมา
สมองก็จะได้ทำงาน ความจำเพิ่มขึ้น และนานขึ้น
1️⃣ ชีวิตดีขึ้นได้แค่พูดในแง่บวก
งานวิจัยเรื่องอัตราส่วนของการพูดแง่ลบและแง่บวก
ที่มีผลต่อการทำงานพบว่าบริษัทหรือทีมที่พูดแง่บวก 3:1
จะทำผลงานได้ดี และทำกำไรได้สูงกว่า
ส่วนชีวิตคู่ที่พูดในแง่บวกไม่ถึง 5:1 มีโอกาสหย่าร้างสูง
และการคาดเดานี้แม่นยำสูงถึง 94%
2️⃣ พูดถึงคนอื่นในแง่ร้าย ชีวิตเราเองก็เจอแต่แง่ลบ
2.1 เพิ่มฮอร์โมนเครียด
เราอาจคิดว่าการบ่นหรือระบายเป็นการคลายเครียด
แต่จากงานวิจัยคือทำให้เรายิ่งเครียดมากกว่าเดิม
ยิ่งฮอร์โมนเครียดหรือคอร์ติซอล (Cortisol) หลั่งนานๆ
ก็จะยิ่งทำให้ภูมิร่างกายตก เจ็บป่วยง่าย
และเสี่ยงภาวะสมองเสื่อมอีกด้วย
2.2 ความสัมพันธ์กับผู้อื่นแย่ลง
การนินทาหรือพูดจาร้ายๆ ถึงใครสักคน
เป็นการ Output อย่างหนึ่ง ทำให้สมองจดจำได้
และคนเรามีการสื่อสารทางภาษากาย สีหน้า แววตา
ซึ่งทำให้อีกฝ่ายสัมผัสหรือรับรู้ได้อยู่ดี
จึงทำให้ความสัมพันธ์ของเรากับคนนั้นมีแต่แย่ลง
2.3 กลายเเป็นคนจับผิดคนอื่นเก่ง
การมองหาแต่ข้อเสีย ข้อบกพร่อง ข้อด้อยของคนอื่น
ทำให้เราเห็นแต่ด้านนี้ของตัวเองเช่นกัน
3️⃣ คำพูดไม่ใช่สิ่งสำคัญที่สุดที่ทำให้คนเชื่อ
กฎของราเมราเบียนเผยให้เห็นว่าคนจะเชื่อจาก...
55% สิ่งที่เห็น บุคลิก สายตา ท่าทาง กิริยามารยาท
38% สิ่งที่ฟัง ความดัง น้ำเสียง วิธีพูด การใช้เสียง
7% สิ่งที่รับรู้ด้วยคำพูด เนื้อหาที่พูด
ดังนั้น แม้จะไม่มั่นใจเนื้อหา แต่ถ้าพูดด้วยท่าที
ยิ้มแย้ม มั่นใจ เสียงดังฟังชัด ก็จะช่วยให้คนเชื่อได้
4️⃣ มองตา
ว่ากันว่า "ดวงตาพูดได้เช่นกัน"
เวลาพูดกับใครจึงควรมองตาด้วย
นอกจากนี้ ยิ่งพูดไปด้วยมี Eye Contact กันด้วย
ยิ่งทำให้รู้สึกดีและสนิทสนมกันมากขึ้น
สำหรับใครที่ยังไม่ชินกับการมองตาเวลาพูด
ให้มองที่หว่างคิ้ว หว่างตา หรือจมูกแทน
และอาจสบตาเป็นพักๆ ของการพูดคุย
ที่สำคัญ เวลาฟังคนอื่นพูดก็ให้มองตาเขาด้วย
เป็นสัญญาณบอกว่าสนใจฟังสิ่งที่เขาพูดอยู่
หากพยักหน้าด้วยก็จะยิ่งเพิ่มสัญญาณบวกที่ดี
5️⃣ อธิบาย
เป็นการสร้างความจำและฝึกสมอง
หากอยากอธิบายให้เก่ง สามารถฝึกได้ ดังนี้
1. พูดเสียงดังฟังชัด
คนที่ไม่มั่นใจตัวเองมักพูดงึมงำและเสียงเบา
ต่อให้อธิบายถูกต้อง สารก็อาจส่งไปไม่ถึงผู้ฟัง
2. พูดฉะฉานด้วยความมั่นใจ
เสียงและท่าทางที่ดูไม่มั่นใจ ทำให้ผู้ฟังรู้สึกว่า
"อธิบายถูกแน่หรือเปล่า?" ได้ด้วยเช่นกัน
3. เริ่มจากประเด็นสำคัญ
พูดข้อสรุป + เหตุผล เช่น เห็นด้วยค่ะ เพราะ...
เพื่อให้คนฟังเข้าใจว่าต้องการพูดอะไร
4. พูดให้สั้นและกระชับ
ยิ่งพูดเยอะ คนฟังยิ่งสับสนและเข้าใจได้ยาก
แต่ถ้าจำเป็นต้องพูดเรื่องยาวให้แบ่งเป็นประโยคสั้นๆ
5. ยกตัวอย่างประกอบ
จากสิ่งที่ใกล้ตัวและคุ้นเคยจะช่วยให้นึกภาพตามได้
6. ใช้ข้อมูล หรือตัวเลขอ้างอิง
เพิ่มความน่าเชื่อถือได้เป็นอย่างดี
CHAPTER 3: ดึงศึกยภาพด้วยการเขียน
"การเขียน" ช่วยกระตุ้นระบบตื่นตัวเรติคิวลาร์
หรือ RAS: Reticular Activating System
ดังนั้น หากมีสิ่งที่สำคัญมาก อยากจำให้ได้
ควรเขียนด้วยมือ จะช่วยให้จำได้นานกว่า
เรียนรู้ได้ดีกว่า และเกิดไอเดียใหม่ๆ ได้มากกว่า
ยิ่ง Output ด้วยการเขียนหลัง Input เร็วเท่าไหร่ยิ่งดี
เพราะเป็นช่วงที่สมองยังจำรายละเอียดได้มากที่สุด
1️⃣ เขียนไอเดีย Eureka Moment ใน 30 วินาที
เวลาที่เราค้นพบอะไรบางอย่าง
การเชื่อมโยงของวงจรประสาทในสมองจะเปลี่ยนไป
ช่วงเวลาแบบนี้เรียกว่า "Eureka Moment"
แต่ช่วงเวลาแบบนี้คล้ายกับตอนตื่นจากฝัน
หากไม่จดให้เร็วที่สุด ผ่านไปสัก 10 นาที
ก็อาจจำอะไรไม่ได้เลยก็ได้
2️⃣ เหม่อลอยอย่างไรให้ได้ไอเดีย
หลายคนคิดว่าการเหม่อลอยเป็นการเสียเวลาเปล่า
แต่ภาวะเหม่อลอย หรือ Default Mode Network
สมองจะใช้พลังงานมากกว่าปกติถึง 15 เท่า
เราจึงมักคิดอะไรดีๆ ออกในช่วงเหม่อลอยนั่นเอง
แน่นอนว่าสภาวะที่ช่วยให้เราผ่อนคลาย
และเหม่อลอย ปล่อยใจจอยๆ ได้นั้น
สถานที่ก็มีผลเช่นกันกับ "4B สร้างไอเดีย" ดังนี้
🛁 Bathroom ขณะอาบน้ำสบายใจ
🚌 Bus ขณะเดินทาง
🛌 Bed เวลานอน ก่อนนอน ตื่นนอน
🍷 Bar เวลาผ่อนคลายจากการดื่มเครื่องดื่ม
3️⃣ เขียนสรุปความ
ยิ่งไม่ถนัดยิ่งควรฝึกเพราะมีประโยชน์ในการทำงาน
เริ่มแรกอาจจะตั้งเวลาไม่เกิน 5 นาที
เพื่อสรุปความยาวไม่เกิน 140 ตัวอักษร
ฝึกบ่อยๆ จะช่วยให้สื่อสารได้ตรงประเด็นมากขึ้น
4️⃣ อย่ามองข้ามอุปกรณ์ที่ช่วยให้สนุกกับการเขียน
เลือกอุปกรณ์ที่เหมาะ เข้ามือกับเรามากที่สุด
ทั้งปากกา ดินสอ สมุด และอื่นๆ ที่ช่วยให้รู้สึกสนุก
เพราะเวลาสนุก โดพามีนจะหลั่ง ทำให้เพิ่มสมาธิ
ความจำ ความสามารถในการเรียนรู้เพิ่มขึ้น
CHAPTER 4: พลังแห่งการลงมือทำ
ทำ Input และ Output อย่างสมดุลแล้ว
สิ่งสำคัญที่สุดที่จะพัฒนาตัวเองได้อย่างแท้จริง
คือ "ลงมือทำ" ตามสิ่งที่ได้เรียนรู้มา
"5 เทคนิค" ที่ช่วยให้ทำได้อย่างต่อเนื่อง
1️⃣ คิดแค่ว่าจะทำวันนี้
ไม่ต้องคิดถึงว่าต้องทำไปอีกนานแค่ไหน
คิดถึงแค่วันนี้จะทำก่อนก็พอ
2️⃣ สนุกกับการลงมือทำ
หาสิ่งที่สนุกในสิ่งที่เราตั้งใจจะทำให้เจอ
เช่น จะออกกำลังกาย ก็ลองหลายๆ แบบ
ถ้าเจอที่ทำแล้วรู้สึกสนุก จะช่วยให้ทำได้ต่อเนื่อง
3️⃣ แบ่งเป้าหมายใหญ่ออกเป็นเป้าหมายย่อย
เช่น จะลดน้ำหนัก 10 กิโล แค่เริ่มตั้งเป้า
สมองเราก็บอกตัวเองแล้วว่า...ทำไม่ได้
แต่ถ้าเปลี่ยนเป็นจะลดให้ได้เดือนละ 1 กิโล
จะช่วยให้มีกำลังใจและเห็นความเป็นไปได้มากกว่า
4️⃣ บันทึกผล
ช่วยให้เห็นพัฒนาการจากจุดเริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน
และทำให้มีกำลังใจทำต่อไปได้มากขึ้น
5️⃣ ให้รางวัลเมื่อทำสำเร็จ
หลังจากแบ่งเป้าหมายย่อยแล้ว
ให้ลองกำหนดการให้รางวัลตัวเองเป็นระยะๆ
เพื่อเป็นเชื้อเพลิงในการเดินหน้าต่อที่ดี
ถึงจะมีเทคนิคการทำอย่างต่อเนื่องแล้ว
แต่หลายคนอาจจะติดรอให้มีอารมณ์ก่อนค่อยทำ
จริงๆ แล้วสมองเราต้องการการอุ่นเครื่อง
เหมือนการสตาร์ทรถยนต์เลย
ดังนั้น "การลงมือทำไปก่อน 5 นาที"
แล้วความตั้งใจของเราจะตามมาเอง
เป็นสิ่งที่ทำให้ได้ผลดีที่สุดค่ะ
ในส่วนของหนังสือการทำ Input
เรามีเขียนสรุปไว้ด้วยเช่นกัน
สามารถตามอ่านเพิ่มเติมได้เลยนะคะ
อ่านเพิ่มเติม
blockdit.com
[แมวพิมพ์] สรุปหนังสือ 📚 The Power of Input ศิลปะของการเลือก + รับ * รู้ ผู้เขียน ✏️ คะบะซะวะ ชิออน
ผู้เขียน ✏️ คะบะซะวะ ชิออน
หนังสือ
รีวิวหนังสือ
ความรู้รอบตัว
2 บันทึก
4
3
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
รีวิวหนังสือเกี่ยวกับการพัฒนาตัวเอง
2
4
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย