3 ก.ย. เวลา 03:30 • การตลาด

“Talk of the Town Brands” ตลาดปลาบางแสน / Nose Tea

“แบรนด์จะปัง ฝันต้องใหญ่ก่อน
ต้องมีมูลค่ามากพอให้เราพยายาม
ให้คนมาเห็นค่า ให้คนซื้อมากกว่าสินค้า”
#BennOte มาจากงาน
#แม่ครับผมอยากมีแบรนด์
คยต x Yindee Design
session “Talk of the Town Brands”
โดย คุณหญิง ตลาดปลาบางแสน
และ คุณกฤษณ์ CMO Nose Tea
🔵
คุณหญิง ตลาดปลาบางแสน
ทำไมต้อง “ตลาดปลาบางแสน”
ทั้งที่มีธุรกิจอื่นอยู่แล้ว
(น้ำปลาและน้ำจิ้มตราหอยนางรม
ร้านอิ่มอุ่น และร้าน FOMO
Brunch & Dining บางแสน)
- ถนนข้าวหลามน่าจะปัง แต่ไม่ปัง ร้านเจ๊งตลอด ๆ วิเคราะห์กันแล้วว่าอาจเป็นเพราะประชากรหลักของบางแสนเป็นนักศึกษา ทำเลนี้มันไกลมหาวิทยาลัย น้อง ๆ เลยไม่มา (ต้องทำ magnet มาดึงนักท่องเที่ยวเนาะ)
- คุณหญิงคุณโจ้มีคำถามว่าทำไมบางแสนไม่มีที่ให้คนมากินอาหารทะเลสด ๆ แบบที่อ่างศิลาบ้าง คือของที่นักท่องเที่ยวมานั่งกินที่ชายหาดบางแสนมันไม่สดค่ะทุกคน ทั้งสองคนเลยอยากทำตลาดปลา (เรียกตลาดปลา แต่ที่จริงคือ seafood แหละ) อยากให้คนมาซื้อของสด ๆ ไปนั่งกิน
- ก่อนหน้าจะเป็น “ตลาดปลาบางแสน” ที่ตรงนี้เป็นร้านบุฟเฟต์ทะเลเผามาก่อน คุณโจ้และคุณหญิงหาที่สร้างตลาดด้วยความเชื่อในทำเลและความฝันที่ตัวเองมองเห็นจึงไปขอซื้อที่ >> ทำจนกลายเป็น landmark ใหม่ของบางแสนที่คนมาซื้อของสด ๆ มานั่งกินได้ ไม่ต้องไปอ่างศิลาแล้ว บางแสนของก็สดนะจ๊ะ
- ถามว่ามีปัญหาไหมกว่าจะถึงวันนี้ ก็เรียกว่าสาหัสทีเดียวค่ะท่านผู้ชม เพราะวางระบบตั้งต้นไม่ดี Concept ของที่นี่คือทำเป็น Theme ญี่ปุ่น สะอาด (แต่ไม่ได้แต่งร้านให้แม่ค้านะคะ กะว่าให้ทุกคนแต่งเองให้เข้า Theme แหละ ปัญหาคือไม่ได้มีกฏระเบียบว่าต้องแต่งร้านยังไง ขายยังไง ไม่มีการตกลงกันให้ชัดเจนต้งแต่ต้น)
ทั้งที่เปิดมาตอนแรกปังมากคนแน่นมาก แต่อยู่ไปได้แค่ 3 เดือน...คนเดินหายแม่ค้าหดค่ะ
ทำไมน่ะเหรอคะ เพราะ...
1. แม่ค้าที่มาเช่าแผงไม่ยอมเปลี่ยนค่ะ จะให้มานั่งจัดร้านใหม่ทำไม เดิม ๆ ก็ขายได้อยู่แล้ว อ่ะ control ร้านไม่ได้ theme ก็ไม่ได้แระ
2. ลูกค้ามาเจอเดิม ๆ ก็เหมือนตลาดอื่น ... เดินไม่กี่ครั้งก็เบื่อ
3. จากนั้นก็เหมือนปัญหาไก่กะไข่ค่ะ แม่ค้าบอกคนไม่เดินเลยปิดร้าน ร้านปิดลูกค้าก็ไม่มา ไม่รู้อะไรเกิดก่อนกันละ แต่หนัก ๆ เข้าให้ขายฟรีแม่ค้าก็ไม่มา
คำถามสำคัญมาละค่ะ ...ไปต่อหรือพอแค่นี้
- ระหว่างกำลังลังเลใจอยู่นั้น คุณโจ้คุณหญิงก็ไปตลาดทุกวันนะคะ เห็นสภาพว่าทั้งตลาดเงียบ แต่จุดที่เป็นร้านขนมที่แต่งร้านญี่ปุ่น ๆ คนยังมาแฮะ ที่จริงตรงนั้นโครงการตั้งใจทำให้เป็นจุดถ่ายรูป ปรากฏว่ามันเวิร์คอ่ะ นอกจากมีลูกค้ามาเดินแล้ว แผงยังไม่เคยว่างเว้น มีคนมาถามหาเช่าพื้นที่โซนนี้ตลอด ๆ
- แปลว่า... Theme ชัดมันเวิร์คสินะ คุณหญิงกับคุณโจ้เลยคุยกันว่า งั้นปรับเป็นแบบนี้หมดเลยดีไหม ปัญหาคือ Zone เดิมมันทำไปแล้วค่ะทุกคน จะรื้อแต่งใหม่มันยากและแม่ค้าที่ยังอยู่ก็น่าจะเดือดร้อน
- คุณหญิงเลยทำโซนใหม่เป็นแนวถนนอิซากายะ แต่งเต็ม และจากบทเรียนโซนเก่า คราวนี้จึงมีการคัดก่อนว่าคนจะมาอยู่ด้วยกันต้องทำอะไรบ้าง >> ต้องเป็นอาหารญี่ปุ่นเท่านั้น แต่งร้านญี่ปุ่นเท่านั้น มีป้ายร้านเป็นภาษาญี่ปุ่น ใดๆ ก็ว่าไป
- เมื่อกฏระเบียบชัด ... ทุกอย่างก็ตามมาค่ะ รวมทั้งลูกค้าด้วย 😊
- คุณหญิงใช้ influencer เติมกระแสเรื่ิอย ๆ >> โดยมี concept ขัดว่าต้องเป็น influencer สายเดินกินเท่านั้น >> มีการ share ค่าใช้จ่ายกันกับลูกแผง อินฟลูคนนี้จะมา เค้าจะกิน 10 ร้านใครอยากแชร์บ้าง 🥰
🔵
คุณกฤษณ์ CMO Nose Tea
จากผลิตภัณฑ์ลอกสิ้วเสี้ยนตัวตึง
Nakiz Lively Nose
ก้าวต่อไปทำไมต้องชานม?
- คุณกฤษณ์และคุณไผ่ (ภรรยาคุณกฤษณ์) ชอบกินชานมมาก ๆ มากแบบเดินทางไปต่างประเทศเพื่อตะเวณดื่มชากันเลยทีเดียว ดื่มจนอยากมีร้าน แต่ร้านที่ชอบเค้าไม่ขายแบรนด์ ก็เลยมีความคิดที่จะสร้างแบรนด์ขึ้นมาเอง
- ด้วยความที่เดินทางไปต่างประเทศและตระเวนดื่มชามาเยอะ ทำให้คุณไผ่และคุณกฤษณ์มีโอกาสได้รู้จัก “ชาชีส” ซึ่งยังไม่มีใครทำในเมืองไทย >> เห็นช่องว่าง >> แต่ไม่มีประสบการณ์ทำร้าน เพราะธุรกิจก่อนหน้าเป็น skincare
เอ ... จะเริ่มยังไงดี?
คุณกฤษณ์ตั้งร้าน dummy ข้างออฟฟิศก่อนค่ะ เพื่อดูระบบ ดูว่าคนรับ product นี้ไหม 😊
- แผนคือ Nose Tea ตั้งใจจะเป็น franchise ดังนั้นระบบต้องดี
1. ในตลาดตัวเลือกเยอะ “แก้วแรก” ของเรากับลูกค้าสำคัญที่สุด ต้องทำให้ดี เพราะถ้าลูกค้าได้แก้วที่ตกมาตรฐานเป็นแก้วแรก เราอาจไม่มีโอกาสเป็นแก้วที่ 2 อีกเลย
2. ทุกอย่างถ้าผ่านจุดที่ดีที่สุดต้องทิ้ง ห้ามใช้ ห้ามเสิร์ฟ (เช่นชา / ชีสเกินเวลาที่ควรจะเสิร์ฟ หรือทำแล้วไม่ได้มาตรฐาน ไข่มุกลอย ห้ามเสิร์ฟ) หรือแม้แต่การที่ไม่มีให้สั่งเมนู Signature (Smoothie) แบบ Delivery เพราะน้ำแข็งจะละลาย เนื้อสัมผัสไม่ได้ เป็นต้น … ทั้งหมดนี้อยู่ภายใต้ concept หลักของ Nose Tea ที่ว่า #ทุกแก้วต้องเป็นแก้วแรก = ความเชื่อใจได้ มีมาตรฐาน ทุกครั้งรสเดิม
3. ทุกแก้วจะไม่ใช้ความรู้สึก ไม่คิดเองเออเอง ใช้เครื่องวัด มีอุปกรณ์ชั่ว ตวง วัดทั้งหมด
- Nose Tea ลงสนามจริงที่ Siam Center ที่แรก ถามว่าทำไมเลือกที่นี่ ... ก็เพื่อเอาตัวเองไปอยู่ในแสง ไปเป็น showcase ให้ห้างเห็น … พยายามเปลี่ยนภาพร้านชาที่มันรก ๆ ให้สวย ๆ คลีน ๆ สะอาดตา (คุณกฤษณ์บอกว่าร้านชามักจะรกกว่าร้านกาแฟที่สามารถทำคลีน ๆ เท่ ๆ ได้ เพราะอุปกรณ์ชงชามันเยอะ)
- แรก ๆ ยังไม่ปัง คุณกฤษณ์ยิงแอดไปเลยเพราะรอลูกค้าไม้ได้ เดี๋ยวลูกน้องเฉา ขายดีแหละแต่ไม่มีกำไร อัด 300,000 ขายได้ 300,000 แห่ะ ... ต้องเรียกว่าขาดทุนดีกว่า เพราะยังไม่ได้คิดค่าคนค่าของเลย ได้เสมอแอดเอ๊งทุกโคนนนน แต่คนรู้จักได้ awareness นะว่าไม่ได้ >> คุณไผ่ทำ clip ไปเรื่อย ๆ … 3 เดือนผ่านไป ลองเอาคลิปโยนไปใน TikTok ปังเฉย viral … ล้านวิว >> วันรุ่งขี้นคนต่อคิวยาวทั้ง 2 สาขา ยอดขายขึ้น 300%
ถามว่า Key success คืออะไร คุณกฤษณ์ถอดรหัสได้ 2 อย่างค่ะ
1. คุณไผ่เล่าเรื่องได้ดี
2. ของใหม่ ไม่เคยมีในตลาด
3. หย้าตาของมัน Instagrammable คนถ่ายรูปแชร์กันเพียบ ได้ earn media เยอะมาก ๆ
- พอคิวยาว ขายดีก็มีปัญหาใหม่ต้องจัดการนั่นคือ ... “คน” ... ทั้ง 3 คน
1. ลูกค้า >> คิวยาว … ต้อง “บริหารใจ” ลูกค้า Nose Tea เริ่มต้นด้วยมีการแจ้งว่าต้องรอกี่นาทีเป๊ะ ๆ >> จากนั้นทำ app มาเลย ลูกค้าเห็นคิวในมือถือตัวเองเลย ไปเดินเที่ยวเล่นก่อนได้ ก่อนหน้าถึงคิวที่ได้ 3 คิวจะมี notification ไปบอกให้เดินกลับมาที่ร้าน (มาสั่งน่ะนะ สั่งเสร็จต้องรอทำอีก ... นานประมาณนึง แต่ลูกค้ารอนะ ... ของเค้าดีจริง)
2. Rider ถือเป็นตัวแทนลูกค้า ต้องดูแลพี่เค้า >> คุณกฤษณ์ช่วยเจรจากับห้างให้มีที่นั่งรอให้พี่ rider 🥰💖💖
3. ลูกน้อง เหนื่ิอย … ต้องดูแลเรื่องเงินทองและความชุบชูใจ >> commission (มีตั้งแต่ Day 1) / intensive / bonus (ความสะอาด มีรอบเข้าตรวจ ทำดีสม่ำเสมอมีรางวัล) ทุกอย่าง transparent คุยกันตั้งแต่เริ่มงาน >> ตอนคนเยอะ เริ่มมี area manager …
- กลับมาที่เรื่องแบรนด์ค่ะ ถามว่าทำไมจมูกเขียว? มันแอบหยึ๋ยเหมือนกันนะ… คุณกฤษณ์บอกว่าเรื่องนี้เป็นประเด็นตอนทำแบรนด์มาก ๆ เหมือนกัน ฝ่ายการตลาดไม่เห็นด้วยเลย แต่คุณกฤษณ์คิดแค่ว่า Lively Nose มีคนรู้จักอยู่แล้วเป็น 2-3 ล้านคน มันต้องมุฟตามมาเป็นคนคุ้นเคยกันมั่งแหละ
[[BennOte]]
(ไปหาข้อมูลเพิ่มมาค่ะ) มันก็ต้องคิดแบบมีกลยุทธ์ด้วยนะคะ ไม่ใช่คิดเฉย ๆ ว่าเออมีฐานลูกค้าแล้วลูกค้าจะตามมา Nose Tea ใช้ tactic: Promotion ค่ะ สำหรับลูกค้า Lively Nose มีโปรโมชันให้นำซองและกล่องมาแลกเป็นส่วนลด 10-15 บาท สำหรับการซื้อชาทุกเมนูจาก Nose Tea ได้ ... เราใช้อยู่แล้วก็ต้องมาลองกันมั่งแหละ ลองแล้วเก๊าะ ... ติดจายยย 🥰
แถมสามารถแลกได้ตลอดไป ไม่มีวันหมดอายุ ซึ่งวิธีนี้ช่วยสร้างการรับรู้ และกระตุ้นในเกิดการทดลองดื่ม ที่เห็นผลอย่างชัดเจนค่ะ
ที่สำคัญคือ ... ความแปลกมันก็ดีนะคะ ในกรณีนี้วัยรุ่นเก็ท 😊
- หลังจากแบรนด์แข็งแรงแล้ว ก็เริ่ม Collab >> เช่น C.P.S และ BOOBUN ถามว่าเลือกแบรนด์ที่จะ collab อย่างไร คุณกฤษณ์บอกว่าต้องมี value added ที่จะให้กันและกัน … คนที่จะมา collab กับ Nose Tea ต้องเล่นสนุกได้ ไม่หวง CI มาก
🔵
การทำ brand สำคัญยังไง
[[คุณหญิง]]
1. ตลาดปลาบางแสนเริ่มแบบคุณหญิงไม่ get คำว่า brand เลย มองที่ “ลูกค้า” เป็นหลักเสมอ ซึ่ง “ลูกค้า” ในความหมายของคุณหญิงหมายรวมถึงทั้งคนซื้้อ partner (ลูกแผง) รวมไปถึงลูกน้อง >> เราอยากให้อะไรกับคนอื่น
2. เนื่องด้วยทำสกินแคร์มาก่อน คุณหญิงจึงเก่งเทรนคนแต่ไม่เก่งระบบ กับตลาดปลาเลยต้องล้ม ลุก เรียนรู้ในช่วงแรก สำหรับเรื่องคนคุณหญิงไม่เชื่อในเรื่องการเป็น family ค่ะ เพราะเมื่อใดอยู่กันแบบ family แท้จริง เจ้าของจะเหนื่อย ... family มีแต่รับ อยู่ด้วยกันต้องทั้งให้แล้วก็รับ
3. จะขยายไม่ทำแบรนด์ไม่ได้ แบรนด์ใหญ่กว่าสาขา ตอนนี้พอแบรนด์ติดขยายไปยังไงคนก็เชื่อถือ partner มั่นใจ ลูกค้าพร้อมตาม ทั้งนี้ทั้งนั้นจะทำแบรนด์ “ฝันต้องใหญ่ก่อน” ต้องมีมูลค่ามากพอให้เราพยายาม >> ทำให้คนมาเห็น “ค่า” และยอมจ่ายเงินซื้อมากกว่าสินค้า
[[คุณกฤษณ์]]
1. แบรนด์จะแข็งแรงต้องทำให้คนในองค์กรอินก่อน ตอนนี้วัฒนธรรมองค์กรของ Nose Tea สตรองมาก บรรยากาศการทำงานดีจนใครมาติดต่อก็ถามว่ารับคนเพิ่มไหม
2. จงให้ความสำคัญกับ top spender สานสัมพันธ์ ให้เกียรติ เช่น เชิญมางานเวลามี event บางทีพลังของ Top Spender ก็มากกว่า influencer >> เมื่อเราให้เกียรติ เห็นความสำคัญกับเค้า ลูกค้าก็จะทุ่มเทกับเรา 😊
3. Crisis Management สำคัญ เวลาผิดพลาด เรา action ยังไงกับลูกค้า? >> จงทำให้เกินความคาดหวัง เช่น ลูกค้าคอมเพลนว่าส่งของผิด ไม่ต้องเถียง ไม่ต้องหาเหตุผล ออเดอร์ 4 ผิด 1 คุณกฤษณ์ส่งไปให้ใหม่เลย 4 แก้ว ... ได้ใจลูกค้าไปอีก
4. ให้คนอื่นก่อน เราจะได้ในที่สุดเอง
------------------------
ขอบคุณ คยต x Yindee ผู้จัดงานดี ดี๊ ดี และวิทยากรทั้ง 2 ท่านนะคะ
- คุณหญิง พิมพ์ลภัทร เอกอัครินทร์ ตลาดปลาบางแสน
- คุณกฤษณ์ CMO Nose Tea ค่ะ
โปรดติดตาม EP.7 ep. สุดท้ายของงานนี้กับ session: Brand Valuation โดยคุณนพ พงศธร ธนบดีภัทร President & CEO, Eddu Group International Co., Ltd., CEO และผู้ร่วมก่อตั้ง Startup ชื่อว่า Refinn (ปัจจุบันคือ FinnX) และเจ้าของ Youtube channel “NopPongsatorn”
💖💖🥰🥰💖💖
#BennOte went to
#คยต x #YindeeDesign
#แม่ครับผมอยากมีแบรนด์
#bp_ben
#KnowledgeSharing
#benji_is_learning
#benji_is_drawing

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา