Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Bnomics
•
ติดตาม
21 ก.ย. 2024 เวลา 02:01 • ประวัติศาสตร์
“เพจเจอร์” ประวัติศาสตร์ของเครื่องมือสื่อสารยุค 90s ที่กลายมาเป็นเครื่องมือก่อวินาศกรรม(?)
เมื่อช่วงกลางสัปดาห์ที่ผ่านมาก็เกิดข่าวใหญ่อีกข่าวหนึ่งขึ้นมาท่ามกลางความขัดแย้งของปาเลนสไตน์และอิสราเอล โดยผู้เคราะห์ร้ายที่ได้รับผลกระทบในเหตุการณ์ดังกล่าวก็คือประชาชนในเลบานอนที่มียอดผู้เสียชีวิต 9 ราย และผู้บาดเจ็บอีกนับพันคนจากเหตุการณ์ “เพจเจอร์” ระเบิดขึ้นมาพร้อมกันจนชาวโลกเล็งเห็นว่านี่คงจะไม่ใช่อุบัติเหตุ หากแต่เป็นการก่อวินาศกรรม
พูดถึงเพจเจอร์ แน่นอนว่าคนไทยยุค 80s-90s ก็คงจะรู้จักกันเป็นอย่างดีในฐานะหนึ่งในเครื่องมือสื่อสารที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงในช่วงนั้น ตลอดจนปรากฏในภาพยนตร์ไทยแนวหวนหาอดีตหรือ Nostalgia ในยุคหลังด้วย แต่ใครจะรู้เลยว่าเครื่องมือสื่อสารยอดฮิตในอดีต จะหลายมาเป็นเครื่องมือก่อเหตุวินาศกรรมในปัจจุบันได้ ในสัปดาห์นี้ Bnomics จึงอยากจะขอพาย้อนไปดูเรื่องราวของ “เพจเจอร์” ตั้งแต่แรกมี จนถึงยุคทอง และจบลงด้วยบทบาทของเพจเจอร์ในปัจจุบันกัน
⭐ แรกมีเพจเจอร์
เพจเจอร์ หรือที่ศัพท์ไทยบัญญัติว่า “วิทยุตามตัว” นี้ มีประวัติความเป็นมา แรกเริ่มตั้งแต่ช่วงปี 1920s หรือกว่า 100 ปีที่แล้วเลยทีเดียว โดยแรกเริ่มเดิมทีเป็นเพียงแค่ระบบสื่อสารทางเดียวที่ใช้กันในกรมตำรวจของเมืองบอสตัน ใช้ติดตั้งให้หน่วยลาดตระเวนที่เวลาเกิดเหตุฉุกเฉินอะไร ส่วนกลางก็จะได้ส่งข้อความเข้าไปยังเพจเจอร์ของหน่วยลาดตระเวนให้สามารถรุดไปยังสถานที่เกิดเหตุได้ทันควัน แน่นอนว่ามันก็เป็นอะไรที่ใชกันแค่ในส่วนของตำรวจ กว่าที่จะมีพัฒนาการก้าวใหญ่ก็ 20 กว่าปีหลังจากนั้น
ราวปี 1949 วิศวกรที่ชื่อว่า “อัล กรอซ” (Al Gross) ชายผู้ประดิษฐ์เครื่องมือสื่อสารสารพัดตั้งแต่วอล์คกี้ทอล์คกี้ วิทยุสื่อสารต่าง ๆ ได้เข้ามารื้อฟื้นระบบนี้และปรับปรุงเสียใหม่ กลายเป็นระบบเพจเจอร์ขึ้นมาเพื่อใช้ในโรงพยาบาล มีแค่เสียงเตือนสั้น ๆ ซึ่งไม่ได้เสียงดังเหมือนอย่างการโทรศัพท์คุยกัน ตลอดจนแบตเตอรี่ก็ใช้ได้นานด้วย
อย่างไรก็ดี ในตอนแรกคนก็ต่อต้านเพราะกลัวว่าเสียงเตือนสั้น ๆ อาจจะรบกวนผู้ป่วยหรือคุณหมอได้ แต่ถึงอย่างนั้นก็มีการเริ่มใช้ครั้งแรกที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในนิวยอร์ก ก่อนที่ในระยะหลังจะมีผู้พัฒนากลไกการใช้ต่าง ๆ เพิ่มทำให้ถูกนำมาใช้ในโรงพยาบาลและการแพทย์อย่างกว้างขวาง
⭐ ทางเลือกที่ดีกว่าโทรศัพท์มือถือ
ในตอนแรกเพจเจอร์ก็ยังคงถูกจำกัดไว้ในวงการทางการแพทย์ เหมือนกันกับที่เคยถูกจำกัดไว้ในวงการตำรวจ กว่าที่เพจเจอร์จะได้ปรากฏตัวต่อสายตาของชาวโลกก็เข้าสู่ช่วงทศวรรษที่ 80s ซึ่งมีผู้ใช้งานอย่างกว้างขวางมากนับล้านคน
ซึ่งหนึ่งในเหตุผลหลัก ๆ ที่มันได้รับความนิยมก็คือมันเป็นเครื่องที่ราคาถูกกว่าโทรศัพท์มือถือในยุคนั้นหลายเท่าตัว สามารถรับข้อความจากที่ไหนก็ได้ ถ้าจะตอบข้อความก็แค่ไปหาโทรศัพท์สาธารณะและโทรไปยังผู้ให้บริการเพื่อส่งข้อความตอบเข้าเพจเจอร์ของอีกคน ตลอดจนสามารถสื่อสารกันได้ในระยะไกลด้วย โดยยอดผู้ใช้งานเพจเจอร์ก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในทุกขณะ
เพจเจอร์เข้าสู่ยุคทองราวช่วงทศวรรษที่ 90s โดยมียอดผู้ใช้งานหลายสิบล้านคนทั่วโลก ในหลากลายประเทศ โดยประเทศไทยเองก็เป็นหนึ่งในนั้นด้วย
⭐ บทบาทของเพจเจอร์ในปัจจุบัน
ยุคทองของเพจเจอร์ดำเนินมาเป็นช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ไม่ได้ยาวนานมากนัก โดยในที่สุดเพจเจอร์ก็เริ่มเสื่อมความนิยมลงไปในช่วงปลายทศวรรษ โดยมีปัจจัยสำคัญอย่างราคาของโทรศัพท์มือถือที่ลดลงอย่างโทรศัพท์ยี่ห้อโนเกีย
ด้วยความที่ว่าโทรศัพท์มือถืออาจจะตอบโจทย์วิถีชีวิตของผู้คนในยุคใหม่มากกว่า ทำให้เพจเจอร์กลายเป็นของตกยุคไป แต่ก็ไม่ได้สูญพันธุ์ไปเสียทีเดียว เพราะในวงการทางการแพทย์หรือหน่วยงานบรรเทาสาธารณภัยในหลาย ๆ ที่ทั่วโลกก็ยังคงใช้งานเพจเจอร์กันอยู่เพราะเป็นตัวเลือกที่มีความสะดวกมากไม่น้อย
ก็นับว่าเป็นเรื่องน่าเศร้าใจที่ “เพจเจอร์” เครื่องมือสื่อสารทางการแพทย์ที่อาจจะช่วยเหลือชีวิตคนไม่รู้เท่าไหร่ต่อเท่าไหร่กลับมาระเบิดกลายเป็นโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นมาเสียอย่างนั้น
อ้างอิง:
https://www.spok.com/blog/the-guide-to-pagers-for-hospitals/
https://medium.com/@CommonTime/the-pager-a-100-year-history-in-brief-2d91bae11180
https://www.thoughtco.com/history-of-pagers-and-beepers-1992315
https://sea.mashable.com/tech/6016/hey-gen-z-this-is-a-pager-and-in-the-90s-they-were-everywhere
https://www.bbc.com/news/business-39876933
ข่าวรอบโลก
ประวัติศาสตร์
2 บันทึก
15
5
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
All About History
2
15
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย