13 ต.ค. เวลา 00:25 • การศึกษา

🎀 ลักษณะสำคัญของ"ผู้ป่วยสารเสพติด"

❌ คำเตือน:❌
🤫 บทความนี้ไม่เหมาะกับผู้ที่มีโรคประตัว 2 ชนิดคือ.
1️⃣ โรคตา: ตาขาวไม่กล้าเรียนรู้ที่จะเปิดตาใจมองดูสิ่งใหม่
2️⃣ โรคปอด: ปอดแหกกลัวการละทิ้งความรู้ ความเข้าใจเก่าๆ และปฏิเสธขบวนการเปลี่ยนจากเดิมให้ทันสมัย (Update)
ผู้เสพคือผู้ป่วย
✍️ ประเภทที่.2 "ผู้ป่วย" สารเสพติด
ที่ผ่านมาได้พูดถึงลักษณะของขี้ยา คนประเภทนี้มีส่วนใหญ่จะจบลงตามวงจรห่วงโซ่อุปทานยาเสพติดคือเสพยา,อยากยา,ลงแดง และเสียชีวิต เพราะฉะนั้นการใช้ชีวิตประจำวันจึงไม่ปกติ เริ่มจากเสพยา - หายาไว้เสพก่อนที่จะมีอาการอยากยา
✍️ เกิดเป็นปัญหาต่อสังคมคนรอบข้าง วันแล้ววันเล่าจนถึงลำดับสุดท้ายเมื่อร่างกายทรุดโทรมลงจนถึงขนาดทึ่ไม่สามารถต้านทานฤทธิ์ของยาในปริมาณ ทึ่ใช้ประจำได้ก็น้อคยาเสียชีวิต (เสพยาเกินขนาด) หรือไม่ก็ลงแดงตาย
มีน้อยคนที่จะสามารถหลุดพ้นจากห่วงโซ่อุปทานของผู้เสพยาเสพติดเฮโรอีน นี้ได้ (วงจรของขี้ยา)
ลักษณะขี้ยา 👇
✍️ มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้ผู้ป่วยใช้ยาเสพติดชนิด เมทแอมเฟสตามีน (Methamphetamine) หรือ"ยาบ้า" เช่น อยากรู้อยากลองในวัยคะนอง หรือเพื่อช่วยให้ทำกิจกรรม ประกอบอาชีพได้นานขึ้น หรือช่วยให้ทำงานหนักได้โดยไม่เหน็ดเหนื่อย หรือเพื่อบำบัดอาการป่วยบางอย่างในร่างกาย
เหล่านี้ล้วนเป็นต้นเหตุสำคัญของการเข้าใจผิดอย่างมาก.
วัฒนธรรมผู้เสพยาเสพติดของโลกกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว มีมูลค่าการตลาดสูงขึ้น ยาเสพติดมีฤทธิ์รุนแรงมากขึ้น ขยายวงกว้างขึ้นอย่างรวดเร็ว กลายเป็นปัญหาเร่งสำคัญเร่งด่วนที่ต้องแก้ไขในหลายประเทศอย่างสหรัฐอเมริกา[1]
ฅนนอกคอก
วิกฤตยาเสพติดในสหรัฐฯ 👇
✍️ ไม่ว่าจะด้วยเหตุประการใดก็ตาม นั่นคือต้นเหตุของปัญหา เป็นความจริง! หากเราต้องการจะแก้ปัญหาอะไรสักอย่างเราต้องแก้ที่ต้นเหตุ.
แต่ ณ.ที่นี้ขอทำความเข้าใจในเรื่องความแตกต่างระหว่างขี้ยากับผู้ป่วยสารเสพติดเป็นสำคัญ
ประการแรก.ไม่ใช่ "ขี้ยา" ทุกคนจะเป็นผู้ป่วยสารเสพติด!
ฅนนอกคอก
✍️ หมายความว่า หากผู้เสพติดยาบ้ามีพฤติกรรมที่แสดงออกมาในการใช้ชีวิตประจำวัน เหมือนขี้ยาคือ
"มีก็เสพ ไม่มีก็เสพ" พยามทุกวิธีที่จะต้องหามาเสพให้จงได้ ไม่สนว่าจะด้วยวิธีการใด สร้างความเดือดร้อนแก่ครอบครัว พ่อแม่ ญาติพี่น้อง คนใกล้ชิดในเรื่องเงินๆทองๆตลอดเวลา จนเป็นที่น่ารำคราญ
✍️ จึงควรใช้มาตราการทางกฎหมายมาบังคับใช้เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการบำบัดและฟื้นฟูอย่างจริงจัง จากทั้งหน่วยงานของรัฐ และองค์กรเอกชน ซึ่งมีทีมบุคคลากรที่มีประสบการณ์ ตามแต่ที่กำหนดต่อไป.
ประการที่สอง.ไม่ใช่ผู้ป่วยสารเสพติดทุกคน จะเป็น"ขี้ยา"
กล่าวโดย : ฅนนอกคอก
✍️ กลุ่มคนประเภทนี้จะต่างกันกับกลุ่มคนประเภทแรก หากสังเกตพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตประจำวันของกลุ่มคนประเภทนี้ก็จะเหมือนกับบุคคลทั่วไปในสังคม สามารถประกอบอาชีพ ทำกิจกรรมต่างๆได้ปกติทุกอย่าง เพียงแต่ยังต้องใช้ยาเสพติดยาบ้าเข้ามาช่วยทำให้อุปสรรคในการใช้ชีวิตบางอย่างดีขึ้น เช่นช่วยเพิ่มประสิทธิภาพจากความพิการของร่างกายบางอย่างเป็นต้น
✍️ เนื่องจากผู้เสพติดยาบ้าไม่ได้มีผล กระทบรุ่นแรงจากอาการลงแดงจนถึงกับเสียชีวิตเหมือนผู้เสพติดเฮโรอีน จะมีเพียงอาการอยากยาหรือถอนยา[2] จึงเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนน้อยกว่า นั่นย่อมหมายถึงโอกาสที่พวกเขาจะหลุดพ้นจากสภาพของผู้ติดยาเสพติดก็มีมากขึ้นหากได้รับการบำบัดดูแลรักษาช่วยเหลืออย่างจริงจัง
✍️ "มีก็เสพ ไม่มีก็ไม่เสพ' เสพเท่าที่สามารถหาได้เพียงพอ สำหรับตนเองที่ต้องเสพจริงในแต่ละวันอย่างระมัดระวังไม่ใช่เสพแล้วก็อยากจะเสพอีกไปเรื่อยด้วยความสนุกคึกคะนอง เหมือนอย่างอย่างประเภทที่หนึ่ง ที่มีพฤติกรรมการดำเนินชีวิตประจำวันแบบ"ขี้ยา"
✍️ ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วพฤติกรรมการดำเดินชีวิตประจำวันอย่าง "ขี้ยา"
ที่กลัวการเสียชีวิตจากการ "ลงแดง" ได้หายไปพร้อมกับยาเสพติดชนิดเฮโรอีนบริสุทธิ์(ผงขาว) ตั้งแต่ปี พ.ศ.2523 อันเป็นผลมาจากการปราบปรามอย่างเข้มงวดของรัฐบาลแม้จะไม่หมดไปอย่าง 100%
จึงควรแยกขี้ยา ในกลุ่มออกผู้ป่วยสารเสพติดออกมาอย่างชัดเจน
ฅนนอกคอก
✍️ สำหรับประเทศไทยเมื่อยาเสพติดชนิดเฮโรอีน ลดลงจนแทบจะหมดไป ในขณะที่อุปทานของผู้เสพยาเสพติดมีปริมาณเพิ่มขึ้น จึงมีการหายาเสพติดชนิดใหม่ มาทดแทนก็คือ เมทแอมเฟสตามีน(Methamphetamine)หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปคือ ยาบ้านั่นเอง!
✍️ และถึงแม้ "ยาบ้า" จะมีการออกฤทธิ๋รุนแรง น้อยกว่า แต่ราคาก็ถูกกว่ามาก จึงทำให้เข้าถึงได้ง่าย และแพร่กระจายไปกลุ่มผู้เสพติดได้อย่างรวดเร็ว
✍️ จากข้อมูลของ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด(ป.ป.ส) และจากรายงานขององค์กรที่เกี่ยวข้องพบว่ามีจำนวนผู้ติดยาบ้า มากที่สุดเมื่อเทียบกับยาเสพติดชนิดอื่น โดยคิดเป็น เปอร์เซ็นต์ ถึง 70-80%
ถึงเวลาที่รัฐบาลที่เป็นคนรุ่นใหม่ จะตื่นตัวในการแก้ปัญหายาเสพติด อย่างจริงจังและยั่งยืน ให้เกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม โดยการเปิดโอกาสให้หน่วยงาน องค์กรเอกชน(NGO)ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา
ฅนนอกคอก
สิ่งหนึ่งที่ฉันทำคือการลืมอดีตที่ผ่านพ้นมานั้นเสีย แล้วโน้มตัวไปข้างหน้า ฟป.3:13-14
อย่านำอดีตติดตัวมายังปัจจุบันมันจะทำให้ไปถึงอนาคต ช้ากว่ากำหนด?

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา