Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Letter From History
•
ติดตาม
14 ต.ค. 2024 เวลา 00:05 • ประวัติศาสตร์
จีน
ประเทศจีน ตอนที่ 6 อำนาจยิ่งใหญ่
สำหรับตอนนี้เราจะคุยกันถึง “พระจักรพรรดิ” ที่มีพระชนม์มายุยืนยาวที่สุดในประวัติศาสตร์จีน คือ 88 พรรษา และพระองค์ก็ทรงครองราชย์นานที่สุด เป็นอันดับที่ 2 รองจากพระอัยกา หรือว่าปู่ของพระองค์เอง ซึ่งหมายถึง “พระเจ้าชิงเกาจง” ที่เรารู้จักกันในนามของ “ พระจักรพรรดิเฉียนหลง ” นั่นเอง
1
พระองค์ทรงมีพระชนมายุ อยู่ในช่วงระหว่าง ปี ค.ศ.1711 ถึง ปี ค.ศ.1799 ทรงครองราชย์ยาวนานเป็นอันดับที่ 2 และด้วยความที่รัชสมัยของพระองค์ กินเวลายาวนานถึง 62 ปี แถมยังเป็นช่วงที่โลกตะวันตกนั้น ต้องการที่จะขยายอำนาจมาสู่โลกตะวันออก นั่นจึงทำให้รัชสมัยของพระองค์นี้ ต้องเกี่ยวข้องกับหลากหลายเหตุการณ์ต่างๆ รวมถึงบุคคลสำคัญ ผู้มีชื่อเสียงในระดับภูมิภาคและของโลก ทำให้กลายเป็นรัชสมัยที่มีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง
ถ้าหากไล่เรียงชื่อบุคคลสำคัญหลากหลายคน ที่ล้วนแต่มีความเกี่ยวพันกับรัชสมัยของพระองค์ เราอาจรู้สึกคุ้นเคยกันมาบ้างแล้วจากวิชาประวัติศาสตร์ อาทิเช่น พระเจ้ามังระ , แม่ทัพอะแซหวุ่นกี้ (Maha Thiha Thura) , พระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร (George III) หรือแม้กระทั่งบริษัทใหญ่อย่าง บริติช อินเดีย และจิตกรเอกของอิตาลี จูนเซปเป อาร์ชิมโบลโด (Giuseppe Arcimboldo) เป็นต้น
พระจักรพรรดิชิงเกาจง หรือจักรพรรดิเฉียนหลง
“ พระจักรพรรดิชิงเกาจง หรือจักรพรรดิเฉียนหลง” นั้น มีพระนามเดิมว่า “หงลี่” ทรงประสูติในรัชสมัยคังซี หรือว่าเสด็จปู่ของพระองค์ในปีที่ 50 ของคังซี และทรงเป็นจักรพรรดิองค์ที่ 4 ของต้าชิง ถ้านับกันแบบเฉพาะยุคที่ต้าชิงเข้าครอบครองแผ่นดินจีนแล้ว แต่ถ้าหากนับกันตั้งแต่สมัย “ อ้ายซินเจว๋หลัว หนูเอ่อร์ฮาชื่อ หรือว่าพระเจ้าชิงไท่จู่ “ ผู้สถาปนาราชวงศ์ชิง ก็ถือว่าเป็นจักรพรรดิพระองค์ที่ 6 ของแมนจูด้วย
พระองค์ทรงเป็นพระโอรสองค์ที่ 4 ของพระจักรพรรดิยงเจิ้ง ผู้ทรงครองราชย์ก่อนพระองค์ 13 ปี ซึ่งระยะเวลาของรัชสมัยทั้ง 3 อันได้แก่ คังซี ยงเจิ้ง และเฉียนหลงนั้น เมื่อรวมกันแล้วถือว่าเกือบครึ่งหนึ่งของราชวงศ์ต้าชิง คือ 267 ปี และทั้ง 3 ยุคสมัยดังกล่าวนี้ เขาถือว่า ”เป็น 3 รัชสมัยแห่งความรุ่งเรือง“ ก่อนที่จะนำไปสู่ยุคสมัยแห่งความโรยรา ซึ่งรัชสมัยต่อไปก็คือ ”เจียชิ่ง และเต้ากวัง“ อันเป็นยุคที่จีนนั้นพ่ายแพ้ในสงครามฝิ่นต่อจักรวรรดิบริติช แห่งสหราชอาณาจักร
การเข้าใจรัชสมัยเฉียนหลงในบริบทโลกนั้น จึงเป็นการเข้าใจถึงจุดเปลี่ยนของต้าชิง จากความยิ่งใหญ่ที่มีมานาน สู่ความโรยลาอย่างไม่คาดคิด ตั้งแต่สมัยยังทรงพระเยาว์ ราชสำนักต้าชิงรู้มาตลอดอย่างเงียบๆ ว่า “องค์ชายหงลี่พระองค์นี้จะเป็นรัชทายาทของจักรพรรดิหย่งเจิ้น”
ภาพการล่าสัตว์ในรัชสมัยจักรพรรดิเฉียนหลง
สาเหตุเพราะว่า พระอัยกา หรือปู่ของพระองค์ก็คือ “จักรพรรดิคังซี” ทรงโปรดพระนัดดาพระองค์นี้มาก และเชื่อกันว่า การตั้งองค์ชาย 4 หรือว่า “อิ่นเจิน ”(Yin Zhen) ขึ้นสืบทอดบัลลังก์ เป็นเพราะเชื่อว่า จะเป็นการทำให้ต้าชิงนั้น ได้มี 2 รัชกาลที่ยิ่งใหญ่ต่อไปในภายหน้า ก็คือ ”หย่งเจิ้น และเฉียนหลง” ด้วย และจักรพรรดิหย่งเจิน เองก็ไม่ได้มีการประกาศราชโองการแต่งตั้ง “องค์รัชทายาท” ตลอดรัชสมัยของพระองค์
เพราะเกรงว่า จะซ้ำรอยเดิมที่จักรพรรดิคังซีนั้น ได้เคยมีการแต่งตั้งองค์ชาย 2 ถึง 2 ครั้ง และนำไปสู่พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมขององค์รัชทายาท ตลอดจนก่อให้เกิดการแตกแยกกันของพี่น้องเหล่าองค์ชายต่างๆ มีหลายๆ คนก็พอจะรู้ว่า “หงลี่ ก็คือโอรสองค์ที่ 4 นั่นน่าจะเป็นรัชทายาท”แต่ด้วยความที่ไม่ชัดเจนทำให้ “หงส์สื่อ” (Hengshui) ก็คือองค์ชายที่ 3 พระเชษฐาได้มีการขยายเครือข่ายสร้างความสัมพันธ์กับขุนนางน้อยใหญ่ในราชสำนักอย่างต่อเนื่อง
โดยเฉพาะกับ “อ๋องหยิจื่อ” ซึ่งเป็นพระอนุชาของจักรพรรดิหย่งเจิ้น แต่ในที่สุดเมื่อ”จักรพรรดิหย่งเจิ้น“ เสด็จสวรรคตราชโองการที่เก็บรักษาเอาไว้ที่พระตำหนักเฉียนชิง ก็ได้มีการประกาศชื่อของ “องค์ชายหงลี่” เป็นพระจักรพรรดิองค์ต่อไป ซึ่งถือว่าเป็นแผ่นดินที่ 4 ของราชสำนักต้าชิง และสำหรับ ”หงส์สื่อ พระเชษฐา“ ได้ถึงแก่กรรม หลังจากนั้นเพียงแค่ปีเดียวเท่านั้น
สำหรับความยิ่งใหญ่ของ ”รัชสมัยเฉียนหลง” ใน 62 ปี เด่นชัดที่สุดก็คือ.. การขยายพื้นที่ของจักรวรรดิ จนกระทั่งมีขนาดใหญ่มากที่สุด นับตั้งแต่ที่แมนจูเข้า “ด่านซันไห่กวน” เป็นต้นมา โดยเฉพาะการขยายราชอาณาจักรไปยังดินแดนในเอเชียกลาง ไม่ว่าจะเป็นการทำศึกกับเผ่าจุนเกอร์ (Dzungar) , เผ่าอุยกูร์ (Uyghurs) และเผ่าชาวคาซัค หรือแม้กระทั่งการส่งกำลังไปรบถึงเนปาล
อาณาเขตรัชสมัยเฉียนหลง
อีกทั้งการที่ไปรบกับกองกำลังเผ่ากุรข่า (Gurkha) ความพยายามในการที่จะมีอิทธิพลเหนือพื้นที่ทิเบต (Tibet) ได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด และด้วยภาพลักษณ์ของจักรพรรดิเฉียนหลงที่นำมาทำเป็นละคร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมจีน ก็จะมองเป็นภาพลักษณ์ของพระจักรพรรดิที่มีเมตตาต่อชนกลุ่มน้อย
แต่ในความเป็นจริงแล้วพระองค์ทรงเป็นจักรพรรดิที่มีความมุ่งมั่น ตั้งใจ เด็ดเดี่ยว และเด็ดขาดในการที่จะขยายราชอาณาจักรด้วยแสนยานุภาพทางทหารที่มีความเหนือกว่า และให้อาณาจักรเหล่านั้นศิโรราบโดยสมบูรณ์แบบที่สุด
ในช่วงเวลาแห่งการบุกไปยังตะวันตกนั้น ยังมีเรื่องของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และการทารุณกรรม รวมถึงการเหยียดหยามชนกลุ่มน้อยเพื่อแสดงความยิ่งใหญ่ของชาวแมนจูโดยสมบูรณ์แบบ ไม่ว่าจะเป็นการฆ่าล้างเผ่าจุนเกอร์ (Dzungar) ก็คือเผ่าที่อยู่ระหว่างมองโกเลียกับเผ่าอุยกูร์ การกดขี่ชาวอุยกูร์ด้วยมาตรการที่มีความเข้มงวด
ทะไลลามะองค์ที่ 11 เคดรูป กยัตโซ
การเข้าไปแทรกแซงกิจการภายในของทิเบต การตั้งดาไลลามะเป็นประมุขของทิเบตแทนที่ผู้ปกครองเดิม เป็นต้น สำหรับอาณาจักรทางใต้นั้นถือว่า เป็นเสียนหนามสำคัญของยุคจักรพรรดิเฉียนหลง เพราะการทำสงครามกับราชวงศ์โก้นบอง หรือราชวงศ์คองบอง ที่หลายคนรู้จักหรือบ้านเราเรียกว่า “ราชวงศ์อลองพญา”(Alaungpaya) ที่เรียกกันว่า “สงครามกับเผ่าเหมี่ยนเตี้ยน ”(Myanmar) ก็คือพม่านั่นเอง ทั้งหมด 4 ครั้งในปี ค.ศ. 1765 ถึง ค.ศ.1769 ที่ถือได้ว่าเป็นความล้มเหลว
เพราะไม่สามารถที่จะเอาชนะพม่าได้เลย ถึงแม้ว่า.. จะเป็นการยกทัพไปโจมตีพม่า ในช่วงที่พระเจ้ามังระได้แบ่งกองกำลัง 2 สายหลักไปโจมตีราชอาณาจักรอยุธยาผ่าน 2 แม่ทัพใหญ่ ก็คือ “มังมหานรธา และเนเมียวสีหบดี ” ทำให้มีกำลังเหลืออยู่ที่อังวะไม่ถึงครึ่งหนึ่ง ในการรับมือกับกองทัพต้าชิง การศึกครั้งที่ 1 ระหว่างต้าชิงกับอังวะ
ในครั้งนั้นต้าชิงได้ใช้กำลังทหารกองทัพ “ธงเขียว” ซึ่งก็คือ กองทัพชาวฮั่นที่อาศัยอยู่ในบริเวณมณฑลยูนนาน โดยมี “หลิวเจ้า” เป็นแม่ทัพกองธงเขียว เข้าสู้รบกับทหารอังวะ พ่ายแพ้อย่างหมดรูป
เส้นทางการเดินทัพของมังมหานรธา และเนเมียวสีหบดี
การศึกครั้งที่ 2 ใช้กองทัพหลวงในพื้นที่ยูนนาน โดยมี ”หยางอิงจวี่“ แห่งกองธงเขียว ไปเป็นแม่ทัพก็พ่ายแพ้อีก การศึกครั้งที่ 3 นำโดยแม่ทัพหมิงรุ่ย แห่งกองธงเหลือง ขึ้นตรงต่อฮ่องเต้ อีกทั้งเป็นพระนัดดา และขุนพลเอกแห่งราชวงศ์ชิง ผู้พิชิตศึกทางตอนเหนือกับเผ่าจุนเกอร์ มองโกล และเติร์ก แต่ที่สุดหมิงรุ่ย ก็ยังพ่ายแพ้ล่าถอย จนกระทั่งต้องตัดเปีย ถวายพระเจ้าเฉียนหลงที่ปักกิ่ง แล้วฆ่าตัวตายด้วยการแขวนคอตายคาสนามรบ
ส่วนหนึ่งด้วยการที่ทหารต้าชิงนั้นเป็นทหารเมืองหนาว ไม่มีความคุ้นชินกับภูมิอากาศที่ร้อนชื้น ภูมิประเทศที่เป็นป่ารกในเมืองร้อนกันด้วย และอีกส่วนหนึ่งด้วยความสามารถของแม่ทัพพม่า เช่น มหาสีหะสุระ (Maha Thiha Thura) หรือมหาธีรทูล่า (Maha Thiha Thura) เป็นชื่อเดียวกันในภาษาพม่า โดยมักจะถูกเรียกในภาษาไทยว่า “อะแซหวุ่นกี้” , “เนเมียวสีหบดี” และ ”เนเมียวสีหตู“ จึงทำให้ต้าชิงไม่สามารถที่จะเอาชนะศึกที่อังวะได้แม้แต่ครั้งเดียว
จนกระทั่งการศึกครั้งที่ 4 มี ”แม่ทัพฟู่เหิง“(Fūhéng) ซึ่งเป็น ”หนึ่ง“ ในแม่ทัพที่พระองค์ทรงโปรดปรานที่สุด ได้นำกำลังพลจาก 8 กองธง ก็คือกองทหารชาวแมนจูที่แข็งแกร่งที่สุดจากเหนือจรดใต้ หวังที่จะสยบกองทัพของรัตนปุระอังวะให้จงได้ โดยในช่วงแรกนั้น กองทัพต้าชิงสามารถบุกรุกเข้าไปในดินแดนของพม่าได้ลึกพอสมควร
1
แม่ทัพฟู่เหิง
แต่เป็นจังหวะพอดีกับที่กองทัพของเนเมียวสีหบดี ก็กลับมาจากการเสร็จศึกกับอยุธยาได้ทันเวลา การสู้รบจึงเป็นไปอย่างดุเดือด ทหารทั้งสองฝ่ายล้มตายเป็นอันมาก จนสุดท้ายสามารถล้อมกองทัพของ“ฟู่เหิง” เอาไว้ได้ แต่ถึงกระนั้นฝ่ายเหมี่ยนเตี้ยน หรืออังวะรู้ดีว่า การศึกที่ยืดเยื้อกับมหาอำนาจอย่างต้าชิงย่อมไม่เป็นผลดีต่อตัวเองแน่
“อะแซหวุ่นกี้” จึงตัดสินใจยุติการสู้รบด้วยการยอมที่จะเปิดทางถอย บีบให้กองทัพต้าชิงซึ่งติดอยู่ในวงล้อม ยอมเจรจาสงบศึกแบบไม่เสียหน้าทั้งสองฝ่าย และบรรลุข้อตกลงเกิดเป็น “สนธิสัญญาก้องโตน“ เงื่อนไขสำคัญคือ ต้าชิงต้องยอมรับว่า.. รัฐฉานหรือไทยใหญ่เป็นของอังวะ มิใช่ของต้าชิง
จักรพรรดิเฉียนหลงเปิดการรุกรานพม่า 4 ครั้ง ในระหว่างปี ค.ศ. 1765 ถึง ปี ค.ศ. 1769 ซึ่งถือเป็น 1 ใน สิบการทัพใหญ่ของพระองค์ อย่างไรก็ตาม สงครามได้คร่าชีวิตทหารจีนไปกว่า 70,000 นาย และผู้บังคับบัญชา 4 นาย จนได้รับการกล่าวขานว่าเป็น " สงครามชายแดนที่หายนะที่สุดนับตั้งแต่ราชวงศ์ชิงก่อตั้งมา“ ซึ่งยังไม่นับสงครามที่เกิดจากการแทรกแซงกิจการภายในของชาติอื่น เช่น “ศึกเวียดนาม”
ภาพวาดกองทัพแมนจู
ก็เป็นอีกหนึ่งศึกที่เป็นขวากหนามในรัชสมัยเฉียนหลง ณ เวลานั้น ราชสำนักต้าชิงได้รับคำร้องขอจากกษัตริย์ของราชวงศ์เลที่อันนัม หรือเวียดนาม ภายหลังจากที่ถูกกลุ่มกบฏได้เข้าช่วงชิงแผ่นดินไปแล้ว แต่ต้าชิงเองก็ไม่สามารถที่จะเอาชนะกลุ่มกบฏ และยกบัลลังก์กลับคืนมาให้กับราชวงศ์เลได้ จนทำให้ต้าชิงยิ่งเหนื่อยล้า อ่อนกำลัง และยุติการขยายอิทธิพลในเวียดนามต่อไปอีก 90 ปี
และเป็นที่น่าสังเกตว่า.. เมื่อกองทัพต้าชิงนั้น จบสิ้นภารกิจขยายอำนาจไปยังพื้นที่ชายแดนทางตอนใต้ อย่างพม่า หรือเวียดนามแล้ว กองกำลังต้าชิงค่อยๆ เริ่มอ่อนแอลง เพราะไม่ได้มีการเสริมกำลังทหารกันอีกต่อไป แต่ก็ถือว่ารัชสมัยดังกล่าว เป็นรัชสมัยที่มีความแข็งแกร่ง และมีขนาดของราชอาณาจักรที่กว้างใหญ่ เทียบเคียงใกล้กันกับจีนในยุคปัจจุบันด้วย
ในแง่ของศิลปวัฒนธรรมรัชสมัยเฉียนหลงนั้นเป็นรัชสมัยที่มีความมั่นคงและมีความมั่งคั่ง ความขัดแย้งระหว่างชาวแมนจูและชาวฮั่นนั้นถือได้ว่าน้อยลง จนกระทั่งทำให้พระองค์ซึ่งเป็นผู้ที่มีความนิยมในเรื่องจิตรกรรม ภาษาและวรรณกรรมนั้น ใช้เวลากับการพัฒนาเรื่องของศิลปวัฒนธรรมมากขึ้น พระองค์ทรงนิยมการศึกษาภาษาต่างๆและเป็นผู้ที่บุกเบิกทำให้มีพจนานุกรม 5 ภาษาหรือที่เขาเรียกว่าเพนตากอนดิกชั่นนารี แมนจู มองโกเลีย ทิเบตและฮั่น เป็นต้น
1
จูเซปเป กัตตินี (Giuseppe Tartini)
ยุคดังกล่าวยังเป็นยุคที่มิชชันนารีและพ่อค้าในหลายประเทศตะวันตก เริ่มต้นเข้ามายังจีนอีกด้วย มีนักบวช จิตกร ศิลปินหลากหลายชาตินั้นมาทำงานอยู่ในราชสำนักต้าชิง บุคคลหนึ่งที่ควรค่าแก่การพูดถึงคือ จูเซปเป กัตตินี (Giuseppe Tartini) เป็นพระเยซูอิตแห่งอิตาลี ชาวมิลานผู้ที่เป็นจิตรกร และวาดพระบรมสาทิศลักษณ์สำคัญๆหลากหลายภาพด้วยกัน
นอกจากนี้ยังมีนักบวชชาวฝรั่งเศสเช่น มิเชล เบอนัว (Michel Bounan) ยังมีศิลปินต่างๆจากเยอรมัน ที่เป็นทั้งสถาปนิก จิตรกรและปฏิมากรอีกด้วย นอกจากนี้ในยุคสมัยดังกล่าว ถือเป็นยุครุ่งเรืองของสิ่งปลูกสร้างที่มีความสวยงามและอลังการด้วย แม้จะเป็นเรื่องของการสร้างพระตำหนัก และต่อขยายวังริมทะเลสาบคุนหมิง ต่อเติมพระราชวังหยวนหมิงหยวน(ภาพหน้าปก)ให้มีลักษณะแบบเดียวกันกับพระราชวังแวร์ซายในกรุงปารีสด้วย แต่แน่นอนรุ่งเรืองย่อมมีโรยรา ความโรยราในรัชสมัยดังกล่าวเกิดมาจากสาเหตุอะไร ติดตามได้ในตอนหน้า
1
ฝากกดถูกใจ กดแชร์ เพื่อเป็นกำลังใจให้ผมด้วยนะครับ
Reference ตอนที่ 6 อำนาจยิ่งใหญ่
https://shorturl.asia/egWhp
https://shorturl.asia/197R6
https://shorturl.asia/63NWh
https://shorturl.asia/h7ndG
https://shorturl.asia/kP2IZ
https://shorturl.asia/fa531
https://shorturl.asia/Cdf39
https://shorturl.asia/W2Ace
https://shorturl.asia/FNAi1
https://shorturl.asia/SPw7J
ประวัติศาสตร์
เรื่องเล่า
ความรู้รอบตัว
16 บันทึก
34
10
24
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ประเทศจีน ดินแดงมังกร
16
34
10
24
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย