25 ต.ค. เวลา 00:13 • ประวัติศาสตร์
จีน

ประเทศจีน ตอนที่ 7 มังกรผยองเดช

เรายังคงอยู่กับเรื่องราวในรัชสมัยของ “จักรพรรดิเฉียนหลง” ได้มีการขยายขนาดของราชอาณาจักรออกไป จนกระทั่งมีขนาดใหญ่เกือบเท่ากับจีนในยุคปัจจุบัน รวมถึงความรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมอีกด้วย แต่ช่วงปลายรัชสมัยของเฉียนหลงนั้น เกิดมีภัยคุกคามสำคัญอันเป็นตัวบั่นทอนความเข้มแข็งของต้าชิงก็คือ ”เรื่องของการคอร์รัปชั่น“ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากข้าราชบริพารใกล้ชิดของพระองค์
1
ไม่ว่าจะเป็น “หยูหมินจง” ข้าราชการระดับสูงที่สอบได้เป็นจอหงวนในช่วงกลางรัชสมัย หรืออีกคนหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นสุดยอดแห่งคอร์รัปชั่นในสมัยต้าชิงและประวัติศาสตร์จีนเลยก็ว่าได้ ก็คือ “เหอเชิน” ซึ่งมีตำแหน่งเป็นเสนาบดีระดับสูง ภูมิหลังของเหอเชินคนนี้ เขาเป็นชนชั้นสูงชาวแมนจูที่ว่ากันว่า “เป็นที่โปรดปรานขององค์เฉียนหลง”
2
หยูหมินจง
สาเหตุเพียงเพราะ.. มีหน้าตาเหมือนกับพระสนมคนนึงของพระชนกก็คือ “จักรพรรดิยงเจิ้ง” ซึ่งตนเองนั้นพึงพอใจตั้งแต่ยังวัยเยาว์ แต่ไม่อาจที่จะครอบครองได้ ว่ากันว่า.. การดำรงตำแหน่ง “เจ้ากรมการคลัง“ ที่มีหน้าที่ในการเก็บภาษีอากรของ ”เหอเชิน“ ในครั้งนั้น ทำให้ความมั่งคั่งของเขานั้นจะเป็นรองก็แต่เพียง ”องค์จักรพรรดิเฉียนหลง“ พระองค์เดียวเท่านั้น
อีกหนึ่งภัยที่คุกคามก็คือ อำนาจของพระองค์เองนั้น พระองค์มีความเชื่อใจในข้าราชบริพารและทรงมีความเชื่อมั่นในตัวพระองค์เองสูง อีกทั้งทรงเชื่อว่า.. สิ่งใดก็ตามที่พระองค์ตัดสินใจไปนั้นถูกต้องที่สุด ที่สำคัญทรงมั่นใจว่า.. “ต้าชิงคือ.. จักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก” ด้วย และในกรอบเวลาเดียวกันนั้น เราจะหันไปมองที่ซีกโลกตะวันตกกันบ้าง
2
ยุคสมัยดังกล่าวนี้ จะตรงกับสมัย ”พระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งราชวงศ์ฮันโนเวอร์ สหราชอาณาจักร ซึ่งจะเป็นเวลาในช่วงปลายรัชสมัยของเฉียนหลง ประกอบกับเป็นช่วงที่สหราชอาณาจักรนั้น เพิ่งจะสูญเสียอาณานิคม ”บริติชอเมริกา ” ไปแล้ว และกำลังเตรียมการจะเริ่มต้นออกล่าหาอาณานิคมแห่งใหม่ และมีแผนการขยายอิทธิพลทางทหาร พร้อมกับการค้าขายมายังซีกโลกตะวันออกอีกด้วย
เหอเชิน
ไม่ว่าจะเป็นการส่งกองทัพเข้าไปสู่อินเดียก็ดี หรือการค้นพบอาณานิคมแห่งใหม่ที่ออสเตรเลียก็ดี โดยการขยายอำนาจในครั้งนี้ ก็จะส่งผ่านทางกองทัพบริติช หรือบริษัท บริติช อีสต์อินเดียกันด้วย และในรัชสมัยนี้นี่เองพระเจ้าจอร์จที่ 3 ได้มีการส่งข้าหลวงใหญ่ ผู้มีอำนาจเต็มคือเอกอัครราชทูตจากราชสำนักฮันโนเวอร์ที่ลอนดอน
1
เพื่อมาเจริญสัมพันธไมตรี และมาขอให้ราชสำนักจีนเปิดโอกาสให้อังกฤษนั้น ได้เข้ามาทำการค้าในมณฑลทางตอนใต้ของจีน ไม่ว่าจะเป็น “กว่างตง ที่เราเรียกกันว่า.. กวางตุ้ง” ก็ดี หรือ “กวางสี” ก็ดี ในครั้งนั้นได้มีการแต่งตั้ง ”ลอร์ดจอร์จ แม็คคาร์ทนีย์“ (George Macartney) เป็นข้าหลวงใหญ่ และท่านผู้นี้ถือเป็น “รัฐบุรุษนักการทูต” แล้วก็เป็นนักวางกลยุทธ์ในยุคล่าอาณานิคม ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเปิดโปงความอ่อนแอที่ฝังอยู่ในราชสำนักของต้าชิงด้วย
ใครก็ตามที่จะเข้าไปทำการค้าขายในพื้นที่ทางตอนใต้ของจีน ในเวลานั้นเรียกโดยรวมว่า “เหลียงกวง” อันหมายถึง พื้นที่ในมณฑลกวางตุ้ง มณฑลกวางสี และไหหลำ ฯลฯ เป็นเขตปกครองตนเองในสมัยราชวงศ์ชิง จำเป็นต้องผ่านความเห็นชอบจากอุปราชเหลียงกวง
สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร
คือผู้ที่ดูแลปกครอง และรักษาผลประโยชน์ให้กับราชสำนักต้าชิง พื้นที่ดังกล่าวถือว่า “เป็นปากประตูสำคัญ” ในการที่จะเปิดโอกาสให้มีการค้าขายเกิดขึ้นได้ อุปราชนั้นมีชื่อว่า “ฟู่คังอัน” ซึ่งในตอนที่แล้วก็มีคนแซ่ฟู่้ นั่นก็คือ ”ฟู่เหิง“ ซึ่งเป็นแม่ทัพที่จักรพรรดิเฉียนหลง ส่งลงใต้ในการรบกับพม่าเป็นครั้งที่ 4 และ ”ฟู่คังอัน“ คนนี้ก็เป็นลูกของฟู่เหิงนั่นเอง
ได้กินตำแหน่งใหญ่โตเป็นถึงอุปราชของกวางตุ้งและกวางสี โดยข้อเสนอที่ทางอังกฤษเสนอไป ไม่ว่าเป็นการตั้งสถานทูต การขอพื้นที่เพื่อเป็นที่อยู่ ซึ่ง ณ เวลานั้น ใครก็ตามที่ค้าขายทางตอนใต้กับจีน จะจัดสรรให้อยู่แต่เพียงพื้นที่ ที่เป็น”มาเก๊า“ในปัจจุบัน และในครั้งนั้นทุกข้อเสนอของอังกฤษได้รับการปฏิเสธหมดทุกข้อ
แต่กระนั้นเอง ”ลอร์ดจอร์จ แม็คคาร์ทนีย์“ ก็ยังเดินเรื่องที่จะขอเข้าเฝ้าพระจักรพรรดิเฉียนหลง เพื่อที่จะถวายพระราชสาส์นจากพระเจ้าจอร์จที่ 3 กษัตริย์อังกฤษในฐานะที่เป็นประเทศที่มีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกันทั้ง 2 ประเทศ อันได้แก่ ต้าชิงและบริเตนใหญ่ การเข้าเฝ้าในครั้งนั้นในปี ค.ศ.1793 เรียกกันว่า “คณะทูตลอร์ดแม็คคาร์ทนีย์”
ฟู่คังอัน
แต่เนื่องจากทั้ง 2 ฝ่ายนั้น มีมุมมองที่แตกต่างกันอย่างมาก อังกฤษหรือบริเตนใหญ่นั้น มองว่าต้าชิงเป็นประเทศที่เสมอกัน ในขณะที่ต้าชิงเองกลับมองตรงกันข้าม มองว่าอังกฤษนั้นเป็นประเทศที่ป่าเถื่อน และต้าชิงเองก็มิได้มีสิ่งใดที่ขาดไป หรือต้องการสิ่งใดจากอังกฤษเลย
1
ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่จักรพรรดิต้าชิงจะต้องตอบรับการขอเข้าเฝ้าของข้าหลวงใหญ่ จากอังกฤษผู้นี้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นประเทศที่ป่าเถื่อน และเมื่อทั้ง 2 ฝ่ายต่างมีมุมมองที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงนั้น ทำให้กลายเป็นปัญหาใหญ่ในเรื่องของพิธีการปฏิบัติทางการทูต เช่น การแสดงความเคารพให้เกียรติต่อกัน หรือสถานที่สำหรับใช้ในการเข้าเฝ้าแทนที่จะเป็นพระราชวังปักกิ่งนั้น
กลับกลายเป็น ”พระราชวังเฉิงเต๋อ“ ซึ่งอยู่ใกล้กับกำแพงเมืองจีน นั่นหมายความว่า “คณะทูตของลอร์ดแม็คคาร์ทนีย์ทั้งหมด“ นั้น จะต้องเดินทางไกลจากจีนตอนใต้ เพื่อเข้าสู่กรุงปักกิ่ง และต้องข้ามกำแพงเมืองจีนไปยังเขตพระราชฐานที่ ”เฉิงเต๋อ“ หรือพระราชวังฤดูร้อน ซึ่งตั้งอยู่บนเขาในมณฑลเหอเป่ย
พระราชฐานที่ ”เฉิงเต๋อ“ หรือพระราชวังฤดูร้อน
สาเหตุเพราะในเวลาดังกล่าว.. เป็นธรรมเนียมของต้าชิงที่จะออกล่าสัตว์ด้วยกันในช่วงฤดูร้อน และเปิดโอกาสให้ขุนนางจากประเทศต่างๆ อันหมายถึงประเทศราช คือ เมืองที่อยู่ในอาณัตินั้นได้มีโอกาสเข้าเฝ้าพระจักรพรรดิด้วย ซึ่ง ณ เวลานั้น “คณะของลอร์ดแม็คคาร์ทนีย์” ประกอบไปด้วย “เซอร์ จอร์จ สเตาน์ตัน” เป็นตัวแทนจากบริติชอีสต์อินเดียได้ร่วมเข้าเฝ้าด้วย
อย่างไรก็ตามด้วยระเบียบพิธีปฏิบัติทางการทูตนั้น ผู้ที่ขอเข้าเฝ้าจำเป็นจะต้องมีการยอมรับธรรมเนียมปฏิบัติของราชสำนักไปด้วย รวมถึงการคุกเข่าลงเพื่อก้มโค้งคำนับ ด้วยการใช้ศีรษะแตะถึงพื้นหรือที่เรียกกันว่า “โค่วโถว”
ซึ่งเป็นการแสดงความเคารพอย่างสูงสุด และแน่นอนทางฝั่งของ “ลอร์ดแม็คคาร์ทนีย์” ได้ปฏิเสธอย่างหนักแน่น เพื่อเป็นการรักษาเกียรติภูมิของบริเตนใหญ่ทั้งๆ ที่พ่อค้าชาวโปรตุเกส พ่อค้าชาวฮอนลันดา ต่างก็แนะนำว่า.. “ เป็นเรื่องที่ปกติมาก ใครๆ ก็ทำกันทั้งนั้น ทำๆ ไปเถอะ เดี๋ยวเปิดการค้าขายได้เรื่องมันก็จบลงอย่างดาย “
1
เซอร์ จอร์จ สเตาน์ตัน
แต่ ”ลอร์ดแม็คคาร์ทนีย์” ก็ย้ำแบบนี้ว่า.. “ เขาจะทำความเคารพต่อพระจักรพรรดิเฉียนหลงเหมือนกันกับที่ถวายพระเกียรติให้พระเจ้าจอร์จที่ 3 ประมุขของตน ในฐานะที่เป็นรัฐที่เสมอกันด้วยศักดิ์และศรี และจะไม่ทำอะไรเกินไปกว่าการที่เขาจะถวายพระเกียรติให้พระเจ้าจอรรร์จที่ 3 ได้ “ นั่นคือ ”การยืนและโค้งคำนับ“ เป็นการถกเถียงกันเพื่อหาข้อสรุปถึง “ระเบียบพิธีปฏิบัติทางการทูต และวิธีดำเนินการ ” ที่ยืดเยื้อและยาวนานมาก
1
จนกระทั่งในที่สุดได้บรรลุข้อตกลงร่วมกันว่า “ลอร์ดแม็คคาร์ทนีย์” จะแสดงความเคารพโดยเป็นการยืนและคุกเข่าลงเพียงข้างเดียว โดยจะไม่มีการจุมพิตพระหัตถ์ของจักรพรรดิเฉียนหลงอันเป็นธรรมเนียมของอังกฤษด้วย ซึ่งมิได้มีการใช้บ่อยนัก แต่หากคุกเข่าลงเพียงข้างเดียวนั้นตนเองสามารถที่จะยอมรับได้ และต้าชิงก็ยอมรับการใช้วิธีคุกเข่าลงเพียงแค่ข้างเดียวเช่นกัน
ซึ่งในเรื่องของการถวายบังคมนี้ ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่า.. ราชทูตมีการเข้าเฝ้า “พระจักรพรรดิเฉียนหลง ” 2 ครั้งได้ทำความเคารพแบบไหนกันบ้าง?? และจากการวิเคราะห์ของนักวิชาการจีนนั้นแสดงให้เห็นว่า.. ราชทูตเข้าเฝ้าจักรพรรดิเฉียนหลง 2 ครั้ง โดยครั้งแรกทำความเคารพแบบอังกฤษ
ลอร์ดแม็คคาร์ทนีย์
แต่ครั้งที่สองนั้นจึงถวายบังคมตามแบบจีน เนื่องจากมีหลักฐานเอกสารจีนที่กล่าวว่า.. ราชทูตนั้นกราบราบกับพื้นแล้ว ได้ถวายพระราชสาส์นผ่านอำมาตย์ฝ่ายซ้ายแล้ว จึงถวายถึงพระหัตถ์ของพระจักรพรรดิ ส่วนเอกสารของทางอังกฤษนั้นก็กล่าวเช่นกันว่า.. ได้มีการกราบหลังจากเข้าเฝ้าครั้งที่ 2 ซึ่งเรื่องนี้ก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันต่อไป
ในการเข้าเฝ้า”จักรพรรดิเฉียนหลง“ ณ เวลานั้น เป็นปีที่ 59 ในรัชสมัยของพระองค์ โดยองค์รัชทายาท หรือองค์ชายที่ 15 ”หย่งเยี่ยน“ ซึ่งต่อมาได้ขึ้นเป็น ”พระจักรพรรดิเจียชิ่ง“ ก็เข้าร่วมพิธีในวันดังกล่าวด้วย ซึ่งตรงกับวันที่ 14 กันยายน และการเข้าเฝ้าในครั้งนั้น ไม่มีสิ่งใดๆ หรือข้อเสนอใดๆ ที่ต้าชิงจะยอมรับแม้แต่ข้อเดียว รวมทั้งของขวัญที่ ”ลอร์ดแม็คคาร์ทนีย์“ ได้นำมามอบให้จากราชสำนักที่ลอนดอน ซึ่งทางต้าชิงกลับมองว่า.. เป็นบรรณาการ และมิได้มองว่าสิ่งนั้นคือ “ของขวัญ” เลย
นั่นหมายความว่า.. “ลอร์ดแม็คคาร์ทนีย์” ต้องกลับบ้านมือเปล่า แต่สำหรับ“จักรวรรดิบริติช”แล้วการเดินทางไปจีนของคณะทูต“ลอร์ดแม็กคาร์นีย์” นั้น ได้รับการมองจากนักประวัติศาสตร์อังกฤษว่า.. ”เป็นการเปิดประตูบานแรก“ ทำให้ชาวคณะของอังกฤษได้เดินทางเข้าไปอย่างเป็นทางการ และได้รู้ได้เห็นว่า ราชสำนักจีนนั้นคิดอย่างไร? มีทัศนคติอย่างไรกันบ้าง
ภาพวาดขณะที่ลอร์ดแม็คคาร์ทนีย์  แสดงความเคารพโดยเป็นการยืนและคุกเข่าลงเพียงข้างเดียว
ซึ่งในคณะดังกล่าวนั้น ได้มีการจดบันทึกข้อมูลต่างๆ ในทุกพื้นที่ที่เดินทางผ่านไป พร้อมทั้งวาดภาพประกอบจำนวนไม่น้อย และสิ่งเหล่านี้คือ ”ข้อมูลพื้นฐานสำคัญ“ ที่อังกฤษใช้ในการเดินหน้า จัดทำแผนที่โดยละเอียด และนำมาใช้ในการทำสงครามฝิ่นในอีก 40 ปีต่อมาด้วย
และในปีถัดมาคือ ปีที่ 60 ในรัชสมัยเฉียนหลง พระองค์ทรงสละราชบัลลังก์ เพราะไม่ต้องการที่จะครองราชย์ยาวนานกว่า ”พระอัยกา คือจักรพรรดิคังซี“ โดยให้องค์รัชทายาท”หย่งเยี่ยน“ ขึ้นครองราชย์เป็น ”พระจักรพรรดิเจียชิ่ง“ องค์ต่อไป แต่ถึงแม้ว่าพระองค์จะทรงสละราชบัลลังก์ไปแล้วก็ตาม แต่ด้วยตำแหน่ง“พระชนก” พระองค์ก็ยังคงมีพระราชอำนาจ และพระบารมีในทางพฤตินัยอย่างเต็มเปี่ยม ก่อนที่พระองค์จะเสด็จสวรรคตในอีก 2 ปีต่อมา และนั่นก็คือ.. จุดพลิกผันของราชวงศ์ชิง จาก“ รุ่งเรืองนำไปสู่ความโรยรา” .. ในท้ายที่สุด
ฝากกดถูกใจ กดแชร์ เพื่อเป็นกำลังใจให้ผมด้วยนะครับ
Reference ตอนที่ 7 มังกรผยองเดช

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา