Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Productive Girl
•
ติดตาม
27 ต.ค. เวลา 12:41 • หนังสือ
สรุปหนังสือ 100 วิธีเขียนอังกฤษอย่างมีชั้นเชิงและทรงพลัง
ปัจจุบันทักษะการเขียนกลายเป็นสิ่งสำคัญที่ส่งผลต่อการสื่อสารในหลากหลายบริบท ทั้งในชีวิตประจำวัน การทำงาน และการสร้างภาพลักษณ์บนโลกออนไลน์ การเขียนที่ดีใช่แค่ต้องสื่อสารได้อย่างชัดเจนแต่ต้องทรงพลัง สามารถโน้มน้าวใจผู้อ่านได้ และในวันนี้เราจะมาเรียนรู้ทักษะการเขียนผ่านหนังสือที่มีชื่อว่า “100 วิธีเขียนอังกฤษอย่างมีชั้นเชิงและทรงพลัง”
Gary Provost เป็นอาจารย์สอนวิชาการเขียน เป็นผู้เขียนบทความและเรื่องราวที่ได้ตีพิมพ์กว่า 1,000 เรื่อง นอกจากนี้เขายังเขียนหนังสือมาแล้ว 20 เล่ม ทั้งวรรณกรรมผู้ใหญ่ เยาวชน และหนังสือแนวคู่มือเช่นหนังสือเล่มนี้
หนังสือเล่มนี้สามารถเป็นคู่มือในการเขียน เริ่มตั้งแต่การเขียนจดหมาย เรื่องสั้น บทความ วิทยานิพนธ์ รวมไปถึงข้อเสนอทางธุรกิจ แกรียังกล่าวอีกว่าหากผู้อ่านไม่สามารถเข้าใจสิ่งที่ผู้เขียนสื่อได้ นั่นแสดงว่าเป็นความผิดของผู้เขียน ดังนั้นหนังสือเล่มนี้จะมาบอกวิธีการเขียนที่ถูกต้อง
9 บทเรียนที่ได้จากหนังสือ
1. เพิ่มคลังคำศัพท์ ก่อนที่เราจะส่งสารบางอย่างออกไป เราก็จะต้องมีข้อมูลเข้ามาก่อนเริ่มจากการอ่านซึ่งเป็นสิ่งที่ทำได้ง่าย ข้อดีของการมีคลังคำศัพท์คือลดความผิดพลาดในการสะกดคำผิดหรือการใช้คำไม่เหมาะสมกับบริบท ถ้าเกิดข้อผิดพลาดบ่อยครั้งย่อมทำให้นักเขียนไม่น่าเชื่อถือ
2. จินตนาการภาพผู้อ่าน ยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดขึ้น คือ ถ้าเราเป็นนักเขียนข่าวบันเทิง แต่ใช้คำศัพท์เฉพาะ ไม่ใส่สีสันลงในข่าว ผู้อ่านก็คงจะหมดอารมณ์กับข่าวของเรา
3. เขียนไปทำไม ทุกสิ่งย่อมมีเหตุผล แม่ค้าขายของต้องการกำไร คนตกปลาย่อมต้องอยากได้ปลา ดังนั้นนักเขียนต้องตอบได้ว่าเหตุผลในการเขียนคืออะไร อย่างที่แกรีได้บอกในหนังสือว่า “ถ้าคุณไม่สามารถระบุเหตุผลที่คุณจะเขียนเรื่องราว บทความ หรือรายงานอย่างเห็นได้ชัดเจนได้อย่างน้อยหนึ่งเหตุผล ก็อย่าเขียนเลย”
4. เขียนเป็นย่อหน้าสั้น ๆ จะทำให้ผู้อ่านได้พัก แถมยังช่วยให้งานเขียนไม่เจอทางตัน ช่วยจัดระเบียบความคิดและหาแนวคิดใหม่ได้ง่ายขึ้น
5. ฟังสิ่งที่เขียน เมื่อเราเขียนงานเสร็จแล้วให้กลับมาอ่านอีกรอบ โดยอ่านแบบมีเสียงเพื่อให้เสียงของตัวเราเองเข้ามาในหู มีข้อดีหลายอย่างเลยเมื่อลองอ่านออกเสียง เช่น การกลับมาอ่านอีกรอบอาจทำให้เจอคำผิด อ่านออกเสียงแล้วรู้สึกว่าใช้คำอื่นน่าจะดีกว่า
6. เลียนแบบภาษาพูดหรือใส่มุกตลกลงไปจะทำให้ผู้อ่านกับผู้เขียนใกล้ชิดกันมากขึ้น แต่ทั้งนี้ต้องดูบริบทของงานที่เราเขียนด้วย
7. แสดงความคิดเห็นหรือบอกเล่าประสบการณ์ส่วนตัว การทำเช่นนี้ก็ทำให้ผู้อ่านเข้าถึงผู้เขียนได้ง่ายเช่นกัน มันทำให้ผู้อ่านรู้จักผู้เขียนมากขึ้น งานเขียนมีชีวิตชีวาและน่าสนใจ
8. อ้างอิงคำคมหรือคำกล่าว จะทำให้งานเขียนของเราน่าเชื่อถือขึ้น ซึ่งทั้งสองแตกต่างกัน ดังนี้
[อ้างอิงคำคม] ใช้ตอนที่เราต้องการเน้นย้ำไอเดียหรือสนับสนุนความคิดเห็นบางอย่าง
[อ้างอิงคำกล่าว] ใช้ตอนที่เราต้องการถ้อยคำที่ใครบางคนพูดเอาไว้
9. อย่าโกงผู้อ่าน วิธีนี้เหมาะสำหรับนักเขียนนิยายเป็นอย่างยิ่ง เช่น การหักมุมตัวละคร ปกปิดข้อมูลบางอย่าง สังเกตได้ง่าย ๆ ก็คือคุณต้องย้อนกลับไปอ่านเนื้อหาก่อนหน้านี้อีกครั้งเพื่อหาเบาะแสในสิ่งที่สงสัย
ทั้งหมดนี้คือ 9 วิธีที่เก่งคัดเลือกมาแล้วว่าสามารถนำความรู้ไปใช้ในการเขียนได้จริงและเก่งเองก็จะพัฒนาการเขียนให้ดียิ่งขึ้น เพราะทุกวันนี้เก่งคิดว่าตัวเองยังต้องพัฒนาอีกเยอะ สู้.. (ยิ่งถ้าใครเจอคำผิดหรืออ่านแล้วไม่เข้าใจ คอมเมนต์มาได้เลย)
สำหรับใครที่สนใจอยากพัฒนาทักษะการเขียนก็ลองหยิบหนังสือเล่มนี้มาอ่านดูนะคะ เก่งคิดว่าต้องได้ไอเดียเยอะมาก ๆ เลย
หนังสือ
แนวคิด
พัฒนาตัวเอง
บันทึก
2
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Book Zone
2
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย