22 พ.ย. เวลา 00:10 • ประวัติศาสตร์
จีน

ประเทศจีน ตอนที่ 9 ถอดเกล็ดมังกร(สงครามฝิ่นครั้งที่ 2)

ถ้าหากเรามองดูแผนที่ประเทศจีนให้ดีๆ จะเห็นเหมือนรูปแม่ไก่ ตัวใหญ่หันหน้าไปทางทิศตะวันออก และตรงบริเวณลำคอของแม่ไก่นั้นก็คือ “ทะเลปั๋วไห่ หรืออ่าวปั๋วไห่“ พื้นที่ตรงเนี่ยเป็นเมืองท่าที่ใหญ่ที่สุดในภาคเหนือของจีนคือ “เมืองเทียนจิน” แล้วก็ยังมีท่าเรือที่สำคัญซึ่งเดิมชื่อว่า “ท่าเรือทาคุ หรือทาคู“ (ต่อมาเรียกว่า ”เทียนจิน“ ตามชื่อเมือง) เพราะเป็นชื่อของสงครามย่อยใน “สงครามฝิ่นครั้งที่ 2”
ซึ่งจีนต้องรบกับกองกำลังผสมของอังกฤษและฝรั่งเศส ได้มีการสู้รบทั้งหมด 4 ครั้งด้วยกัน ต้องยอมรับว่า.. ถ้าหากเรือรบของอังกฤษและฝรั่งเศสนั้น เดินทางมาถึง “อ่าวปั๋วไห่” จริง นั่นคือ การได้เข้ามาในบริเวณพื้นที่ของ “เมืองเทียนจิน“ เมืองที่เป็นเสมือนปากประตูหลักออกไปสู่ทะเลของต้าชิง
ซึ่งมีระยะทางที่ห่างกันไม่มากนัก คือประมาณเกือบ 200 กิโลเมตร ก็จะถึงเมืองหลวงคือ “กรุงปักกิ่ง ” ราชสำนักต้าชิงต้องสั่นสะเทือนอย่างแน่นอน เพราะว่า พวกเขานั้นไม่เคยเจอกับเหตุการณ์ที่กองกำลังต่างชาติ จะเข้ามาประชิดเมืองหลวงได้อย่างง่ายดายขนาดนี้ และต่อมาในปี ค.ศ. 1858 กองกำลังร่วมอังกฤษ~ฝรั่งเศสก็เดินทางขึ้นเหนือมาจริงๆ หลังจากที่บุกยึดเมืองกว่างโจได้แล้ว
เซ่อเต๋อหลิวเฉิง เป็นแม่ทัพที่ต้ากูโข่ว (Taku Forts) หรือ ปากอ่าวทาคุ
ในเวลานั้น “จักรพรรดิเสียนเฟิง” ได้ส่งนายทหารที่มีชื่อว่า “เซ่อเต๋อหลิวเฉิง” ทรงเป็นองค์ชายมองโกลโดยมีเชื้อสายมาจากตระกูล “บอร์จิกิน“(Borjigin) ซึ่งเป็นตระกูลเดียวกับเจงกิสข่าน ต้องขอบอกว่า.. สงครามครั้งแรกไม่รู้ว่าเกิดความประมาท หรือว่าต้องการให้จีนชะล่าใจกันแน่!!
เพราะว่า “เซ่อเต๋อหลิวเฉิง” ซึ่งโดยปกติแล้วเป็นทหารม้ามองโกล แต่กลับนำทัพสู้รบกับกองกำลังของอังกฤษ และฝรั่งเศสจนมีชัยชนะในสงครามที่ “ปากอ่าวทาคุ” ได้โดยสามารถจมเรือรบอังกฤษได้ถึง 3 ลำ และยังสามารถสังหารทหารอังกฤษได้จำนวนหนึ่งด้วย
เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ ราชสำนักต้าชิงเอง เกิดย่ามใจและมีความเชื่อมั่นมากที่สุดว่า.. “จีนจะสามารถเอาชนะกองกำลังผสมในครั้งนี้ได้อย่างแน่นอน” จึงได้มีการส่งกองกำลังทหารเสริมเพิ่มเติมเข้าไปอีก 4000 นาย โดยหลักๆ เลยเป็นทหารม้าของมองโกล แต่ชัยชนะในครั้งนั้น “เป็นเหมือนแค่ภาพลวงตา” เพราะสงครามในครั้งที่ 2, ครั้งที่ 3 และ ครั้งที่ 4 ได้นำมาซึ่ง.. “โศกนาฏกรรม”
ภาพวาดสงครามที่ปากอ่าวทาคุ
ข้างฝ่ายอังกฤษนั้น.. หลังการพ่ายแพ้ในครั้งที่ 1 แล้ว รัฐบาลอังกฤษได้ส่งชายคนนี้คือ “ลอร์ดเอลจินคนที่ 8”(8th Earl of Elgin) มาเป็นผู้ว่าการใหญ่ ผู้มีอำนาจเต็ม ส่งตรงจากลอนดอนกันเลยแหละ เราต้องจำชื่อนี้กันไว้ “ลอร์ดเอลจินคนที่ 8“ ถ้าถามว่า.. คนๆนี้ สำคัญยังไง?? ต้องขอบอกว่า.. เป็นบุคคลซึ่งเป็น ”ผู้บริหารกิจการอาณานิคม หรือที่อังกฤษเขาเรียกว่า “ Colonial administrator ” เป็นผู้มากประสบการณ์
โดยเป็นผู้บริหารอาณานิคม และนักการทูตของอังกฤษ เคยเป็นผู้ว่าการใหญ่ที่จาไมกา จากนั้นเป็นผู้ว่าการใหญ่ที่แคนาดา ตามด้วยตำแหน่งอุปราชอินเดีย และล่าสุดเขาถูกส่งมาประจำที่จีน การที่อังกฤษส่งบุคคลสำคัญระดับนี้มาย่อมไม่ธรรมดาแน่นอน
ลอร์ดเอลจินคนที่ 8 (8th Earl of Elgin)
สำหรับลอร์ดเอลจินคนที่ 8 (8th Earl of Elgin) นี้ ขอขยายความเพิ่มเติม ที่บอกว่า.. จำคน คนนี้เอาไว้ให้ดี เพราะตระกูลของเขาเป็นตระกูลที่เป็นผู้บริหารจัดการ กิจการอาณานิคมกันมาโดยตลอด เขาเป็นลูกชายของ “โทมัส บรูซ เอิร์ลแห่งเอลจินคนที่ 7” และผู้เป็นพ่อคนนี้
ถามว่าสำคัญยังไง เขาเคยเป็นเอกอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็มของจักรวรรดิอังกฤษในจักรวรรดิออตโตมัน และเป็นผู้ที่นำกองกำลังอังกฤษนั้นเข้าไปสำรวจ วัตถุโบราณที่เอเธนส์ และจากนั้นก็เป็นคนที่นำเอาวัตถุโบราณซึ่งล้ำค่ามหาศาล นั่นก็คือ ประติมากรรมหินอ่อนจำนวนมากมายจาก “มหาวิหารพาร์เธนอน อะโครโปลิส” (Acropolis) เข้ามาเก็บไว้ที่ลอนดอน
ประติมากรรมหินอ่อนในบริติชมิวเซียม
มีหลายๆ คนที่เคยมีโอกาสเข้าไปชม ”บริติชมิวเซียม“ ซึ่งก็คือ“พิพิธภัณฑ์ของอังกฤษ” ที่ลอนดอนจะพบเห็น และสงสัยกันว่า.. ทำไมจึงมีปฏิมากรรมหินอ่อนจากอะโครโปลิสมากมายขนาดนี้ล่ะ!! เป็นฝีมือของคนนี้เลยครับ “ลอร์ดเอลจินคนที่ 7” เพราะฉะนั้นตระกูลนี้จึงเป็น Colonial administrator โดยตรงอย่างต่อเนื่องกันเลยทีเดียว
ดังนั้นการที่ “ลอร์ดเอลจินคนที่ 8” ได้ถูกส่งมาประจำที่จีนในครั้งนี้ จึงไม่ธรรมดาจริงๆ เพราะเขามาพร้อมกับกองกำลังทหารอังกฤษและอินเดียอีก 11,000 นาย พร้อมเรือ 173 ลำ ขนอาวุธยุทโธปกรณ์อย่างเต็มพิกัด ในขณะที่ฝรั่งเศสก็ส่งกองกำลังมาสมทบอีก 6,700 นาย ภายใต้การบังคับบัญชาของนายพลที่มีชื่อว่า “นายพลชาร์ล กีโยแม โลปอล มงตุบ็อง” (General Charles Guillaume Lambert Montauban) ด้วยกำลังพลที่มีอยู่พร้อมอาวุธที่ทันสมัยกว่านี้เอง จึงทำให้กองทัพของอังกฤษและฝรั่งเศสเป็นที่น่าเกรงขามอย่างยิ่ง
2
และครั้งนี้ก็เป็นไปตามที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้คือ กองทัพของอังกฤษ และฝรั่งเศสนั้นรุกคืบหน้าอย่างรวดเร็วจนสามารถเอาชนะกองทัพของต้าชิงโดยเข้ายึดเมืองท่าเทียนจินได้สำเร็จ และยังสามารถเอาชนะกองทหารม้าขนาดใหญ่ขององค์ชายมองโกล ที่สู้รบอย่างดุเดือด และกล้าหาญ แต่ก็ต้องพ่ายแพ้ต่อกองกำลังติดอาวุธของฝ่ายตรงข้ามอย่างน่าเศร้าใจยิ่งนัก
โมเดลจำลองที่สมรภูมิอ่าวทาคุ
ซึ่งการสู้รบในศึกครั้งนี้ กำลังพลของอังกฤษและฝรั่งเศสเสียชีวิตแค่หลักหน่วย บาดเจ็บ 30 คน ส่วนกำลังพลของต้าชิงนั้นเสียชีวิตหลายร้อยนาย และบาดเจ็บหลายพันคน อีกทั้งการพ่ายแพ้สงครามในครั้งนี้ ได้นำไปสู่การเจรจาสงบศึกในรอบที่ 1 โดยที่ทางจีนเองนั้นถูกบีบบังคับให้มีการเซ็นสัญญาในสนธิสัญญาที่เรียกว่า “สนธิสัญญาเทียนจิน“ ซึ่งสนธิสัญญาฉบับนี้..อย่าเรียกว่าสัญญากันเลย
เพราะเป็นการร่างแต่ฝ่ายเดียว โดยลอร์ดเอลจินคนที่ 8(8th Earl of Elgin) คนนี้ รวมถึงสหายพันธมิตรชาติตะวันตก ไม่ว่าจะเป็นฝรั่งเศส อเมริกัน รัสเซีย ส่วนทางด้านของจีน จักรพรรดิเสียนเฟิง ได้ส่ง ”กุ้ยเหลียง“ (Guangxu) ให้เป็นผู้แทนพระองค์ สำหรับสนธิสัญญาในครั้งนี้เป็นการตกลงกันแบบที่ต้าชิงนั้นเสียเปรียบแบบสุดๆ ในทุกๆ ข้อเลย
เพราะว่า.. เป็นการบังคับให้จีนนั้นมีการเปิดเมืองท่าค้าขายเพิ่มเติมอีก 11 แห่ง จากเดิม 5 แห่งรวมเป็น 16 แห่ง ทำให้ชายฝั่งตะวันออกของจีนถูกเปิดกว้างให้มหาอำนาจตะวันตกค้าขายได้อย่างเสรี ภายใต้ระบบการค้าตามสัญญาเมืองท่า โดยเสียภาษีนำเข้าไม่เกินร้อยละ 2.5 และมหาอำนาจตะวันตกทั้ง 4 ชาติคือ อังกฤษ ฝรั่งเศล อเมริกา และรัสเซีย มีสิทธิจัดตั้งสถานกงสุลขึ้นในนครหลวงปักกิ่ง
ภาพถ่ายหลังจากลงนามสนธิสัญญาเทียนจิน
อีกทั้งกองทัพเรือของชาติเหล่านี้สามารถแล่นผ่านเข้า~ออกแม่น้ำฮวงโหได้ตลอดสาย และยังต้องให้ชาวตะวันตกสามารถเดินทางเข้าไปยังตอนในของแผ่นดินจีนได้อย่างเสรีด้วย และก็ยังมีอีกคือ การให้สิทธิเสรีภาพในการเผยแพร่ศาสนา
รวมถึงลัทธิคริสตจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์ในจีนอีกด้วย และข้อสุดท้ายคือ จีนต้องจ่ายค่าปฏิกรณ์สงครามให้กับอังกฤษและฝรั่งเศส อีกทั้งในเชิงเศรษฐกิจก็ต้องจ่ายค่าปรับให้แก่พ่อค้าด้วย สรุปโดยรวมแล้วต้องจ่ายเป็นจำนวนถึง 6 ล้านตำลึงเงินด้วย
ส่วนทางฝ่ายต้าชิงนั้น จำเป็นต้องตอบตกลงตามข้อเรียกร้องในร่างสัญญาไปก่อน เพื่อยุติการสู้รบแต่หลังจากนั้นพวกเขาก็ปฏิเสธที่จะลงนามในสนธิสัญญาดังกล่าว และขอให้ตัดข้อเรียกร้องบางข้อออกไป เช่น การจัดตั้งสถานกงสุลของชาติตะวันตกในนครหลวงปักกิ่ง ซึ่งเป็นศูนย์กลางอำนาจการบริหาร แต่ฝ่ายชาติตะวันตกโดยเฉพาะอังกฤษไม่ยอม และในระหว่างการต่อรองนี้เอง การสู้รบก็ยังคงมีอยู่และได้ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น
เซอร์ เฮนรี แสตนลีย์ (Sir Henry Seymour Conway )
ซึ่งฝ่ายอังกฤษโดย “ลอร์ดเอลจินคนที่ 8” ได้คืบจะเอาศอกไม่ยอมหยุดแค่นั้น หาเรื่องเดินหน้าทำสงครามต่อเนื่องเพื่อมุ่งหน้าเข้าสู่กรุงปักกิ่ง จนกระทั่งทางต้าชิงต้องเปิดโต๊ะเจรจาเป็นเรื่องเป็นราวที่เมืองทงโจว ซึ่งเป็นเขตหนึ่งของกรุงปักกิ่ง ถือเป็นประตูสู่เมืองหลวงและอยู่ห่างกันแค่ 20 กม.เอง
1
การเจรจากันในครั้งนี้ มีบุคคลที่เป็นคณะเจรจาของชาติตะวันตก ได้แก่ ทูตอังกฤษชื่อ ”เซอร์ เฮนรี แสตนลีย์“ (Sir Henry Seymour Conway ) กับ ทูตฝรั่งเศสชื่อ ”อาดอรี ลาโบรเชต์“ (Admiral de Richelieu) แต่ไม่รู้ว่าเจรจากันอีท่าไหน?? สุดท้ายตัวแทนการเจรจาของอังกฤษนั้น ได้ถูกจับตัวไปขังคุกและถูกทรมานจนเสียชีวิตในที่คุมขัง
เมื่อลงเอยแบบนี้ถามว่า.. เป็นผลดี หรือเป็นผลเสียต่ออังกฤษ ต้องบอกเลยว่า.. เป็นผลดีต่ออังกฤษซิ !!! เพราะสำหรับอังกฤษ หรือลอร์ดเอลจินแล้ว พวกเขาต้องการข้ออ้างอีกสักข้อ หรือสองข้อในการที่จะทำสงครามและบุกเข้าไปให้ถึงนครหลวงกรุงปักกิ่งให้จงได้ เหตุการณ์ต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร?.. จะมีอะไรเกิดขึ้นกับต้าชิงบ้าง?? โปรดติดตามตอนต่อไปครับ
1
ฝากกดถูกใจ กดแชร์ เพื่อเป็นกำลังใจให้ผมด้วยนะครับ
Reference ประเทศจีน ตอนที่ 9 ถอดเกล็ดมังกร(สงครามฝิ่นครั้งที่ 2)

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา