28 พ.ย. 2024 เวลา 12:51 • ปรัชญา

เพราะความอิจฉาไม่ได้ทำให้เราเติบโต

ความอิจฉาเป็นสิ่งที่น่ากลัวครับ จากการใช้ชีวิตที่ผ่านมา ผมเจอความรู้สึกอิจฉา ทั้งจากของตัวเองและของคนอื่น ที่ปลายทางของมันคือ ความทุกข์ใจขั้นสุด เป็นไปได้ผมไม่อยากให้ผู้อ่านต้องอยู่กับความรู้สึกอิจฉาไปตลอดทั้งชีวิต ชีวิตของผู้อ่านมีค่ามากครับ ผมเลยอยากเขียนบทความนี้ เพื่อให้ตัวเองและผู้อ่านในอนาคตครับ
ความอิจฉาคือ ความรู้สึกที่อยากได้เหมือนกับคนอื่น ความรู้สึกของเด็กที่อยากได้ของเล่นเหมือนกับเด็กคนอื่น ยังสะท้อนออกมาตอนที่เราทำงานในบริษัท พวกเราอยากได้รับการยอมรับจากคนอื่น อยากได้เงินเดือนจำนวนเท่ากับคนอื่น อยากประสบความสำเร็จเหมือนกับคนอื่น มันเลยไม่ต่างจากเด็กที่อยากได้ของเล่นเหมือนกับคนอื่น
ต้นเหตุของความอิจฉามักมาจากการที่เราเห็นว่าตัวเองดีไม่พอ และคิดว่าคนอื่นดีกว่าเราเสมอ ผสมผสานความโกรธและความหลงคิดไปเอง เลยทำให้เรามีปฏิกิริยาตอบกลับมาอย่างรุนแรง บางคนอาจแสดงความอิจฉาแบบไม่เปิดเผย แต่ยังไงความอิจฉามักเกิดจาก การที่เราเห็นว่าตัวเราไม่ได้ดีพอเท่ากับคนอื่น โกรธคนอื่นเพราะหลงคิดว่าคนอื่นไม่สมควรได้ แต่ฉันควรได้
ผมมีความอิจฉาในเพื่อนที่ทำงานเป็นคุณครูสอนเด็กมัธยมศึกษา ผมคิดว่าผมเป็นคุณครูได้ดีกว่าพวกเขา ถามว่าผมรู้สึกเกลียดพวกเขาตั้งแต่ต้นหรือไม่? คำตอบคือ ไม่ แต่เพราะผมรู้สึกว่าผมดีไม่พอ มันเลยทำให้ผมพาลโกรธคนอื่นและหลงคิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ไม่แฟร์ แต่อะไรคือความแฟร์? ในเมื่อผมเลือกเองว่าผมจะออกจากมหาวิทยาลัย พวกเขาอาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผมเลือกแบบนั้น แต่ผมก็เลือกทำแบบนั้นเอง ไม่มีใครรับผิดชอบแทนผมได้
ถ้าหากสาเหตุของความอิจฉาคือ การที่ลึก ๆ เราไม่ได้เห็นคุณค่าของตัวเองมากพอ วิธีการอะไรบ้างที่เราจะเพิ่มหรือเห็นคุณค่าในตัวเอง? สำหรับผม ผมเห็นคุณค่าในตัวเองได้ จากการรู้จักตัวเองให้มากขึ้นครับ ผมจดสิ่งที่เป็นข้อดีที่คนอื่นบอกผม และสังเกตว่าผมมีข้อดีเหล่านั้นจริงหรือเปล่า วัดผลจาก คุณภาพและความเร็วของการกระทำนั้น ๆ เช่น ผมโดนชมว่าร้องเพลงเก่ง ผมจะสังเกตว่าตัวเองเข้าใจบริบทเนื้อเพลงได้เร็วหรือไม่ หรือเมื่อฟังเพลงแล้ว ผมสามารถร้องตามได้หรือไม่ หรือผมสามารถ Improvise การร้องเพลง ๆ นั้นได้หรือไม่
การสังเกตตัวเองเป็นจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่เราจะเห็นคุณค่าของตัวเอง แม้ว่าเราจะกลัวว่าเราคิดไปเองว่าตัวเองเก่ง หรือกลัวว่าเราจะเหลิงไปกับความสามารถของเรา แต่มันก็เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทั้งนั้น
สรุปอีกครั้งสำหรับวิธีการรับมือความอิจฉา
  • 1.
    ​รับรู้ว่าความอิจฉามาจากการไม่เห็นคุณค่าของตัวเอง
  • 2.
    ​สังเกตว่าคนอื่นชมเราเรื่องไหน
  • 3.
    ​สังเกตเรื่องที่คนอื่นชมตัวเราว่า มันมีอยู่ในตัวเราจริง ๆ ใช่หรือไม่ โดยลดอคติให้น้อยที่สุด
  • 4.
    ​ลดการเปรียบเทียบกับคนอื่น โดยไม่จำเป็น
  • 5.
    ​เพิ่มการเปรียบเทียบตัวเองในปัจจุบันกับตัวเองในอดีต

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา