Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Letter From History
•
ติดตาม
20 ธ.ค. เวลา 03:00 • ประวัติศาสตร์
จีน
ประเทศจีน ตอนที่ 11 รุ่งเรืองก็เพราะไทเฮา ร่วงโรยก็เพราะ..ไทเฮา ซูสีไทเฮา
ในตอนนี้ผมจะขอกล่าวถึงบุคคลท่านหนึ่งที่มีชีวิตอยู่ในประวัติศาสตร์จีน อีกทั้งชีวประวัติของท่านได้ถูกนำมาถ่ายทอดโดยสร้างเป็นละคร ภาพยนตร์ทั้งจอเงินจอแก้วก็ดี หรือซีรีส์ทีวีก็ดี มากมายหลายครั้ง รวมถึงบริษัทยักษ์ใหญ่อย่างฮอลลีวู๊ด ก็ยังเคยนำเอาชีวประวัติบางช่วง บางตอน
เช่น การก้าวเข้าสู่อำนาจ หรือการรักษาไว้ซึ่งอำนาจที่ได้มา และแม้กระทั่งในช่วงบั้นปลายชีวิตของเธอไปสร้างเป็นภาพยนตร์ฟอร์มใหญ่มาแล้วเช่นเดียวกัน
เมื่อผมใช้สรรพนามว่า"เธอ" ก็แสดงว่า ต้องเป็น "ผู้หญิง".. แน่นอนครับ และเป็นผู้หญิงที่มีอำนาจมากมาย แถมมีอายุยืนยาวมากกว่า 70ปีซะด้วย
ดังนั้นจึงมีหลายคนบอกว่า.. ถ้าเป็นแบบนี้ก็มีอยู่ 2 คนเท่านั้น คือ “ พระนางบูเช็คเทียน จักรพรรดินีของราชวงศ์ถัง” ซึ่งไม่ใช่นะครับ เพราะเรากำลังอยู่ในยุคสมัยราชวงศ์ชิง และผมกำลังจะพูดถึง “พระนางซูสีไทเฮา” ผู้เป็นสนมเอกกุ้ยเฟยของจักรพรรดิเสียนเฟิง ในราชวงศ์ชิง ก็คือเป็นราชวงศ์สุดท้ายของจีนนั่นเอง ขอเริ่มเรื่องกันก่อนว่า ทำไม??.. “พระนางซูสีไทเฮา” ถึงได้มีความสำคัญมากนัก
ด้านซ้าย ฟ่าน ปิงปิง สวมบทบูเช็กเทียน ด้านขวา ภาพวาดบูเช็กเทียนในจินตนาการศิลปิน / Grottoes on WeChat]
ก็เพราะว่า.. พระนางเป็นผู้ที่กุมอำนาจในราชสำนักต้าชิง ตั้งแต่ ค.ศ. 1861 ขณะมีพระชนมายุเพียง 27 พรรษา ทรงเป็นสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงใน จักรพรรดิถงจื้อ กับจักรพรรดิกวังซฺวี่ และยังเป็นสมเด็จพระบรมราชอัยยิกาเจ้า ในอดีตจักรพรรดิปูยี (จักรพรรดิองค์สุดท้าย) พระนางทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ถึง 2 รัชสมัย ทรงปกครองประเทศจีนโดยพฤตินัยเป็นเวลา 47 ปี ตั้งแต่ ค.ศ. 1861 จวบจนเสด็จสวรรคตใน ค.ศ. 1908 เมื่อพระชนมายุ 73 พรรษา
ทรงอยู่ในช่วงที่มีเหตุการณ์สำคัญๆ เกิดขึ้นกับชาติบ้านเมือง และการถูกคุมคามท้าทายจากเหล่าชาติมหาอำนาจโดยเฉพาะกับอังกฤษ ซึ่งอยู่ในยุคสมัยของสมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรีย และเป็นมหาสงครามข้ามทวีปของจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ทั้งสองฝั่งซีกโลกตะวันออกและซีกโลกตะวันตก เป็นเรื่องราวที่จารึกอยู่ในประวัติศาสตร์จีน และประวัติศาสตร์โลก
อาจกล่าวได้ว่า.. ในช่วงเวลานั้นจีนเองก็มีความถดถอยในเรื่องของการสร้างกำลังพล รวมทั้งอาวุธยุทธโธปกรณ์เพื่อเสริมแสนยานุภาพทางทหารให้กับตัวเอง เพราะว่างเว้นการศึกมานานร่วม 90 ปี นับตั้งแต่สงครามครั้งสุดท้ายในสมัยจักรพรรดิเฉียนหลง ในขณะที่มหาอำนาจชาติตะวันตกเหล่านั้นได้เดินหน้าเข้ามายังแผ่นดินจีนกันมากมาย
ภาพเหตุการณ์ สงครามฝิ่น ครั้งที่ 1 และ 2
โดยทำการค้าเพื่อบังหน้าแล้วหาโอกาสล่าอาณานิคม เพราะฉะนั้นในกรอบเวลาดังกล่าวนี้ ผมจะปักหมุดเอาไว้ในปี ค.ศ. 1840 คือเป็นช่วงที่ ”อังกฤษ หรือ บริติชเอ็มไพร์” นำเอาฝิ่นเข้ามาขายในจีนเพื่อเป็นการถ่วงดุลการค้า ได้สักระยะนึงแล้วกลับกลายเป็นปัญหาใหญ่ จนก่อให้เกิด “สงครามฝิ่น ครั้งที่ 1 ” ซึ่งอังกฤษเป็นฝ่ายชนะ และถือเป็นครั้งแรกที่มหาอำนาจชาติตะวันตกนั้น ได้เข้ามาท้าทายอำนาจของจักรวรรดิจีน
และการพ่ายแพ้ในสงครามฝิ่น ครั้งที่1 นี้เอง ได้สร้างความระส่ำระสายให้กับราชสำนักต้าชิงเป็นอย่างยิ่ง พระจักรพรรดิทรงมีพระดำริที่จะ “ปฏิรูปแผ่นดินจีนครั้งใหญ่” ซึ่งข้าราชสำนักก็มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันหลายฝ่าย ทั้งเห็นด้วย และไม่เห็นด้วย เพราะปัญหาภายในของราชสำนักต้าชิงคือ การแตกแยก และช่วงชิงอำนาจกันเองมาช้านานแล้ว
ทำให้มีข้อท้วงติงจากหลายฝ่ายในประเด็นการปฎิรูปนี้ แต่มีอยู่ข้อเดียวที่คิดเห็นตรงกันว่า.. ”คงไม่มีอะไรเกิดขึ้นอีก พวกฝรั่งคงไม่มาอีกแล้วล่ะ“ จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1858 ได้เกิดสงครามฝิ่นครั้งที่ 2 และ การบุกเผาพระราชวังหยวนหมิงหยวน ในอีก 2 ปีถัดมาคือ 1860 ซึ่งทำให้พระจักรพรรดิเสียนเฟิง ทรงตรอมพระทัยเสด็จสวรรคตลงในปี ค.ศ. 1861 ขณะมีพระชนมายุเพียงแค่ 30 พรรษา อันทำให้ “แผนปฏิรูปแผ่นดินจีน” ต้องชะงักไป
1
ประกอบกับพระนางซูสีไทเฮา ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการในขณะนั้น ต้องการรวบอำนาจไว้กับพระองค์ จึงทำให้แผนการปฎิรูปต้องล่าช้าออกไปไม่สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว จนท้ายที่สุดแล้ว จีนนั้นอ่อนแอลงไปทีละน้อย ทีละน้อย
เมื่อนักประวัติศาสตร์จีนอยากชมสิริโฉมอันงดงามตามค่ำร่ำลือ จึงได้ใช้โปรแกรมตอมพิวเตอร์ย้อนยุคภาพของ พระนางซูสีไทเฮา ซึ่งในช่วงวัยสาวที่ยังไม่เคยมีภาพปรากฎเลยในประวัติศาสตร์จีน (สมัยพระองค์ยังสาว ยังไม่มีกล้องถ่ายรูป เพิ่งเข้าจีนตอนที่พระองค์อยู่ในวัยชราแล้ว) ผลออกมา พระสิริโฉมงดงามสมคำร่ำลือที่บันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ *** ฝั่งซ้ายคือภาพจริง ฝั่งขวาใช้คอมย้อนวัย และ อ.มาศใช้ Ai ปรับความคมชัด
ทีนี้เรามาดูกันว่า.. ประวัติของพระนางนั้นเป็นมาอย่างไร และเนื่องจากพระนางมีพระชนม์ชีพที่ยืนยาว ผมจะขอเล่าโดยโฟกัสเฉพาะส่วนที่สำคัญนะครับ แรกทีเดียวเลยก็คือ พระนางเป็นกุ้ยเฟยคือ ตำแหน่งสนมเอกของจักรพรรดิเสียนเฟิง ถ้าถามว่า.. สำคัญยังไง??
1
ก็เพราะว่า พระนางทรงมีพระประสูติกาลพระราชโอรส คือ “ไจ้ฉุน” ถวายให้กับจักรพรรดิเสียนเฟิง ซึ่งแน่นอนว่า.. ต่อไปต้องได้รับการแต่งตั้งให้เป็นองค์รัชทายาท และในสมัยที่ทรงเป็นกุ้ยเฟยอยู่ในพระราชวังต้องห้ามนี้เอง ก็ทรงเริ่มต้นรวบอำนาจขึ้นทีละน้อย
ทรงสร้างอิทธิพลในราชสำนักฝ่ายในไว้ตั้งแต่ยังเป็นเพียงนางสนม ไม่ใช่ว่าเพิ่งจะมาสร้างภายหลังการสวรรคตขององค์จักรพรรดิ และทรงมีความสนิทสนมกับ “ซูอันฮองเฮา” พระอัครมเหสีของจักรพรรดิเสียนเฟิง ซึ่งต่อมาได้รับการสถาปนาเป็น “ซูอันไทเฮา” ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เช่นเดียวกับพระนาง
สมเด็จพระจักรพรรดินีเซี่ยวเจินเสี่ยนฮองเฮา(ซูอันไทเฮา) ในฉลองพระองค์ชุดพระราชพิธีช่วงเช้า
ต่อมาองค์รัชทายาทคือ โอรสของพระนาง ได้รับการแต่งตั้งเป็น”จักรพรรดิถงจื้อ“ ณ เวลานั้นทรงมีพระชนมายุแค่ 6 พรรษา พระนางจึงได้รับการสถาปนาจากกุ้ยเฟยขึ้นเป็น “ซูสีไทเฮา” ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการเคียงคู่กับ ”ซูอันไทเฮา“ และในช่วงนั้นเอง พระนางต้องว่าราชการอยู่หลังม่าน พร้อมกับองคมนตรีทั้งแปด ผู้มีหน้าที่ช่วยดูแลในราชกิจน้อยใหญ่
แต่ถึงกระนั้นพระนางก็ยังคงเดินหน้า ในแผนการรวบอำนาจจากองคมนตรีทั้งแปดเรื่อยมา จนกระทั่งเมื่อ “จักรพรรดิถงจื้อ” พระโอรสของพระนางทรงครองราชย์ได้ 12 ปีเท่านั้น และถึงแม้จะเป็นเพียงช่วงเวลาสั้นๆ แต่พระองค์ก็จัดได้ว่า ทรงเป็นจักรพรรดิที่พยายามจะบริหารประเทศให้ดีองค์หนึ่ง แต่ก็ถูกพระนางซูสีไทเฮาคอยขัดขวางยึดอำนาจไว้ ทำให้พระองค์ไม่สามารถใช้ความสามารถได้อย่างเต็มที่ จนเมื่อพระองค์เสด็จสวรรคตลงด้วยโรคติดต่อประเภทหนึ่ง พระนางซูสีไทเฮาจึงได้ยึดอำนาจจนกระทั่งสามารถครองราชสำนักได้เป็นผลสำเร็จ
1
ณ เวลานั้น พระนางน่าจะคิดว่า เมื่อจักรพรรดิที่เป็นพระโอรสสวรรคตไปแล้ว เราต้องเฟ้นหาจักรพรรดิพระองค์ใหม่ ซึ่งก็ควรจะเป็นเด็กที่มีความผูกพันธ์ทางสายเลือดกับพระนาง จึงได้เลือกหลานชายของตัวเองขึ้นมาตั้งเป็นพระจักรพรรดิในวัย 6 ขวบ ทรงพระนามว่า “จักรพรรดิกวังซวี่” ซึ่งคนไทยเรียกว่า “จักรพรรดิกวางสู” เมื่อเรามองประวัติศาสตร์จีนแค่เพียงมุมเดียวนั้น อาจไม่เข้าใจประวัติศาสตร์ในบริบทโลกทั้งหมด ซึ่ง ณ เวลานั้นเอง ทั้งอังกฤษก็ดี ฝรั่งเศสก็ดี หรือแม้แต่รัสเซีย ฯลฯ. ต่างก็เข้ามารุมล้อมกินโต๊ะจีน
1
จักรพรรดิถงจื้อ
ในยุคดังกล่าวนี้ เป็นยุคสมัยของสมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรียนั่นเอง นอกจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยเหล่ามหาอำนาจชาติตะวันตกที่บุกเข้ามาสร้างอำนาจ กอบโกยผลประโยชน์ในแผ่นดินจีนกันแล้วเนี่ย ยังเป็นที่จับตามองจากทั่วโลก และแน่นอนที่สุด ทำให้ชาติต่างๆ ในเอเชียตื่นตัว จำเป็นต้องมีการพัฒนาปรับเปลี่ยนตัวเองกันขนานใหญ่
ดูง่ายๆ เรามองอย่าง เช่น ในญี่ปุ่นเอง มีการ “ปฏิรูปเมจิ“ คือในช่วงเวลานั้นญี่ปุ่นได้พัฒนาอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็วและรับเอาวัฒนธรรมตะวันตกมาใช้ และถ้าในบ้านเรา ”สยามประเทศ“ คือ ยุคสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 ได้มีการปรับตัว หรือว่ามีกลยุทธ์ทางการทูต ในการที่จะประคับประคองสถานการณ์ภายใต้การคุกคามของชาติมหาอำนาจตะวันตกเอาไว้ได้
ในขณะที่จีนเองนั้น เป็นช่วงที่พระจักรพรรดิกวางสู ยังทรงพระเยาว์อยู่ จึงทำได้แค่เพียงประคับประคองสถานการณ์ของบ้านเมืองไว้เพื่อรอโอกาส และเมื่อพระองค์เติบใหญ่ขึ้น ก็ทรงคิดแบบนี้ว่า.. ถ้าจีนมิได้มีการพัฒนา หรือปฏิรูปแม้จะเป็นในส่วนของราชสำนักเองก็ดี หรือเทคโนโลยีก็ดี คงจะต้องเสร็จมหาอำนาจชาติตะวันตกอีกเป็นแน่แท้
การประหาร "หกผู้กล้ายุคปฏิรูป" ในช่วงการปฏิรูป 100 วัน
เมื่อพระองค์มีความคิดแบบนี้ จึงตัดสินใจ.. อย่ากระนั้นเลยเราต้องเอาขุนนางหัวสมัยใหม่ ได้แก่ คังโหยวเหวย เหลียงฉีเฉา ทั้ง 2 คนนี้มาเป็นตัวหลักกลจักรสำคัญที่จะร่วมกันวางแผนปฏิรูป และพระองค์ได้ทรงออกพระบรมราชโองการหลายฉบับในการปฏิรูปครั้งใหญ่นี้ ทรงประกาศการใช้เวลา 100 วันในการปฏิรูป
มีการร่างกฎกติกามาแล้ว หนึ่ง ในนั้นก็คือ การเปิดโอกาสให้คนที่มีความรู้ความสามารถเข้ามารับใช้ประเทศชาติได้โดยที่ไม่ต้องรอสอบจอหงวน แต่เพียงช่องทางเดียว และใครที่ชื่นชอบดูหนังจีน คงจำกันได้ว่า ต้องสอบกันเป็นร้อยเป็นพันคนทั้งประเทศ แต่ได้มา 3 คนเอง ตำแหน่งที่เหลือนอกนั้นมาจากไหนกันล่ะ ก็มาจากเส้นสายลูกขุนนางเดิมทั้งนั้น
เพราะฉะนั้นจักรพรรดิกวางสู ทรงบอกว่า.. แบบนี้ไม่ได้ นอกเหนือไปจากนี้ พระองค์ทรงมองไปยังประเทศเพื่อนบ้านประเทศเล็กๆ ที่ชื่อว่า “ญี่ปุ่น ช่วงจักรพรรดิเมจิ“ มีการปฏิรูปขนานใหญ่ในประเทศ มีการเปลี่ยนแปลงสร้างดุลอำนาจใหม่ พระองค์ทรงเชื่อว่า การมีจักรพรรดิภายใต้รัฐธรรมนูญแบบญี่ปุ่นนั้น จะทำให้ประเทศมีความเจริญทั้งทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจ
พระบรมสาทิสลักษณ์สมเด็จพระจักรพรรดิกวังซวี่
แต่ความคิดรวมถึงแผนการนี้ ล่วงรู้ไปถึงพระนางซูสีไทเฮา ดังนั้นในปี ค.ศ. 1898 จึงได้มีการทำรัฐประหาร เข้ายึดพระราชอำนาจ และจับกุมพระจักรพรรดิกวางสู ซึ่งเป็นหลานของพระนาง ไปควบคุมขังไว้เป็นเวลายาวนานกว่า 20 ปีนั่นเอง ดังนั้นจึงทำให้กระบวนการในการปฏิรูปประเทศ เพื่อที่จะรับมือ และคานอำนาจกับเหล่าชาติตะวันตก ซึ่ง ณ เวลานั้น ได้คืบคลานเข้ามายังแผ่นดินจีนเรียบร้อยแล้ว ต้องริบหรี่ลงไปด้วยอย่างน่าเสียดาย
หลังการรัฐประหารแล้ว ยังมีการประหารชีวิตนักปฏิรูปหัวรุนแรง เพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่าง ทำให้เกิดการระส่ำระสายภายในประเทศเป็นอย่างมาก ผู้มีความรู้รวมถึงผู้มีอันจะกินก็พากันลี้ภัยออกนอกประเทศ ส่วนพระนางเองบอกกับผู้ใกล้ชิดว่า.. ใจนึงก็อยากจะให้มีการปฏิรูปเกิดขึ้นในเวลาที่เหมาะสมเพื่อให้มีความทันสมัย และมีอาวุธดีๆ ไว้ป้องกันประเทศ
แต่ต้องขอบอกว่าในช่วงเวลานั้น จีนอ่อนแอมากเกินกว่าจะเยียวยาเลยทีเดียว มิหนำซ้ำพระนางเองก็ยังให้การสนับสนุน “กลุ่มกบฏนักมวย“ ซึ่งก็คือ กลุ่มคนที่เก่งการต่อสู้แบบกังฟู ออกเข่นฆ่าชาวต่างชาติมากมายและประกาศสงครามต่อต้านชาติตะวันตกอย่างเปิดเผย จนเป็นชนวนเหตุให้มหาอำนาจต่างชาติในนาม "พันธมิตรแปดชาติ" เข้ารุกรานประเทศ แต่ในขณะเดียวกันพระนางเองก็จำเป็นต้องผูกสัมพันธ์ภาพกับชาติตะวันตกเพื่อรักษาสถานภาพของตัวเองนั้นให้แข็งแกร่งไปด้วย
1
ภาพวาดกบฏนักมวยในเมืองเทียนจิน
ภาพถ่ายของพระสนมในฮ่องเต้กวางซวี่ กับอาจารย์ชาวต่างชาติ แสดงให้เห็นคือความพยายามรับเอาวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามา
ดังนั้นด้วยการสร้างสมดุลที่อาจจะไม่ลงตัวสักเท่าไหร่ จึงทำให้นักประวัติศาตร์มองว่า.. พระนางคือ ต้นเหตุตัวการสำคัญที่ทำให้จีน ไม่อาจที่จะปฏิรูปตัวเองได้เป็นผลสำเร็จ จนไม่สามารถที่จะต่อกรคัดคานอำนาจกับเหล่าชาติตะวันตกได้เลยแม้แต่นิดเดียว ซึ่ง ณ เวลานั้นคือ ช่วงปลายราชวงศ์ชิง หลังจากนั้นไม่นาน “จักรพรรดิกวางสู” ซึ่งถูกควบคุมตัวเป็นเวลายาวนานกว่า 20 ปีแล้วก็เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1908 พระชนมายุเพียง 37 พรรษา และพระองค์สวรรคตก่อนที่พระนางซูสีไทเฮาจะสิ้นพระชนม์เพียง 1 วัน
เหมือนเช่นเคย เพื่อเป็นการรักษาไว้ซึ่งพระราชอำนาจ จึงได้มีพระราชโองการแต่งตั้งหลานห่างๆ ของพระนาง ซึ่งมีชื่อว่า “ปูยี”ให้ขึ้นครองราชย์เป็นพระจักรพรรดิในวัยเพียง 3 ขวบเท่านั้น และก็ยังเป็น “ยุวจักรพรรดิ” ที่ปราศจากผู้คอยดูแลคุ้มครองภัยให้กับพระองค์ได้ เนื่องจาก “ พระนางซูสีไทเฮา” ได้สิ้นพระชนม์ในวันที่ 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1908 ภายหลังจากที่ “พระจักรพรรดิกวางสู” สวรรคตเพียง 1 วัน และมีพระราชโองการแต่งตั้งจักรพรรดิพระองค์ใหม่แล้ว
คนแรกจากซ้าย พระสนมเฉิน (เป็นน้องสาวของเจ้าจอมเฉิน ผู้ซึ่งตกบ่อน้ำตาย) ดำรงตำแหน่งเจ้าจอมในจักรพรรดิ์กวางสู คนที่สองจากซ้าย องค์หญิงเต๋อหลิง เป็นนางสนองพระโอษฐ์ เข้าวังมารับใช้พระนางซูสี ไทเฮา คนที่สาม พระนางซูสีไทเฮา คนที่สี่ องค์หญิงหรงลิง คนที่ห้า แม่องค์หญิงเต๋อหลิง ขวาสุด พระมเหสีหรงยึ ทรงเป็นพระมเหสีในจักรพรรดิกวางสู ต่อมาทรงดำรงตำแหน่ง พระชนนีหรงยึขององค์จักรพรรดิ์ปูยี
ราชสำนักตกอยู่ในเงื้อมมือของกลุ่มอนุรักษนิยม โดยมีจักรพรรดิเด็ก “ปูยี” อยู่บนบัลลังก์ ฝ่ายการเมืองก็ฟอนเฟะมาก ทั้งประชาชนลุกฮือขึ้นต่อต้านการปกครองไม่หยุดหย่อน เหล่าชาติมหาอำนาจก็ถือโอกาสขยายอิทธิพลในจีนกันอย่างอิสสระ จนท้ายที่สุด ในปี ค.ศ. 1912 ก็คือ 3 ปี หลังการสิ้นพระชนม์ของพระนางซูสีไทเฮา ประเทศจีนได้เกิดการเปลี่ยนแปลงกลายเป็น “ สาธารณรัฐประชาชนจีน (China)”
จีนเองก็จบสิ้นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ซึ่งสืบต่อกันมาเป็นพันๆ ปี จึงมีคำกล่าวของนักประวัติศาสตร์จีน ที่พูดกันว่า.. “ ราชวงศ์ชิง.. รุ่งเรืองก็เพราะไทเฮา คือพระนางเสี้ยวจวงเหวินไทเฮา และร่วงโรยก็เพราะ..ไทเฮาเช่นเดียวกัน คือพระนางซูสีไทเฮา ”
1
ฝากกดถูกใจ กดแชร์ เพื่อเป็นกำลังใจให้ผมด้วยนะครับ
Reference ประเทศจีน ตอนที่ 11 รุ่งเรืองก็เพราะไทเฮา ร่วงโรยก็เพราะ..ไทเฮา ซูสีไทเฮา
https://shorturl.asia/pw9Uo
https://shorturl.asia/zBSGA
https://shorturl.asia/vbdeI
https://shorturl.asia/HmfrM
https://shorturl.asia/rwFp5
https://shorturl.asia/zBSGA
https://shorturl.asia/Ted6m
https://shorturl.asia/JN5v3
https://shorturl.asia/63iS1
https://shorturl.asia/cYt5P
https://shorturl.asia/8QbSP
ความรู้รอบตัว
เรื่องเล่า
ประวัติศาสตร์
4 บันทึก
17
8
18
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ประเทศจีน ดินแดงมังกร
4
17
8
18
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย