24 ม.ค. เวลา 03:00 • ประวัติศาสตร์
จีน

ประเทศจีน ตอนที่ 13 อุดมการณ์ที่หิวโหย (ปฏิวัติทางวัฒนธรรม)

เมื่อเรานึกถึงคำว่า “อุดมการณ์” นั้น เชื่อว่า.. หลายๆ คนคงจะมีคำนี้อยู่ในใจกันหลากหลายรูปแบบในมิติต่างๆ เช่น อุดมการณ์ในการดำเนินชีวิต หรืออุดมการณ์ทางการเมือง เป็นต้น ซึ่งหมายถึง.. ความเชื่อในแนวทางที่ปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลสำเร็จ คือบรรลุถึงเป้าหมายที่กำหนดไว้
เพียงแต่ว่า.. บนโลกใบนี้ ก็มีอุดมการณ์ไม่กี่อย่างที่ถูกนำไปปฏิบัติอย่างจริงจัง หรือแม้กระทั่งทดลองทำกันอย่างสุดโต่ง และก็ยังมีผู้คนอีกจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว ที่อยากจะรู้ว่า.. สุดท้ายแล้ว ความสำเร็จอันเกิดจากอุดมการณ์ที่เราถวิลหาอย่างมุ่งมั่นนั้น หน้าตาจะเป็นอย่างไร ???
1
ขอยกตัวอย่างเรื่อง “การปฏิวัติวัฒนธรรมของจีน” เอาแบบสั้นที่สุดเลยนะครับ คือ การที่ผู้นำของจีน ณ เวลานั้นก็คือ “ประธานเหมาเจ๋อตุง” มองว่า.. อุดมการณ์ของลัทธิคอมมิวนิสต์เป็นอุดมการณ์ที่เน้นเรื่องความเสมอภาค ไม่มีชนชั้นระหว่างกัน และปราศจากสิ่งที่เป็นอดีต รวมถึงสิ่งที่เคยเป็นวัฒนธรรมสังคมดั้งเดิม ที่อาจจะมาฉุดรั้ง เรื่องความเสมอภาค ความเท่าเทียมกันของคนในสังคม
1
ประกาศสถาปนา “สาธารณรัฐประชาชนจีน” ในปี 1949
จึงขอให้พวกเราลองใช้วิธีที่เรียกว่า.. “การปฏิวัติวัฒนธรรม” ช่วยทำให้สังคมจีนนั้นเป็นสังคมที่มีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน 100% เมื่อได้ยินดังนี้แล้ว ก็เลยฮึกเหิม.. “โอ้โห ดีมากเลย ” ถ้างั้นเราเข้าไปดูจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติวัฒนธรรม จนกระทั่งจุดจบของมันเป็นอย่างไร และอย่างที่ได้ไล่เรียงประวัติศาสตร์จีนกันมาจากตอนที่แล้วก็คือ
1
ปี ค.ศ.1911 ซึ่งปีนี้ ถือว่า.. เป็นจุดสิ้นสุดของการปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่มีมาอย่างยาวนานถึง 2,000 กว่าปี ก็สิ้นสุดลงในราชวงศ์สุดท้าย คือ ” ราชวงศ์ชิง“ และเราจดจำภาพกันได้ง่ายๆ ก็คือ ราชวงศ์ที่เขาโกนผมบนหัวครึ่งหนึ่ง และไว้ผมถักเปียยาวอยู่ด้านหลังนั่นแหละครับ
ต่อมาในปี ค.ศ.1949 หลังจากที่พรรคคอมมิวนิสต์จีน นำโดย “เหมาเจ๋อตุง” มีชัยชนะในสงครามกลางเมืองเพื่อแย่งชิงอำนาจกัน กับพรรคก๊กมินตั๋ง นำโดย ”เจียงไคเช็ค“ ซึ่งเป็นพรรคชาตินิยมฝ่ายขวา จนพ่ายแพ้ต้องล่าถอยไปจัดตั้ง “รัฐบาลสาธารณรัฐจีน” ที่เกาะไต้หวันแทน
หนึ่งในภาพเหตุการณ์ที่คนรุ่นใหม่รวมตัวกัน ในช่วงปฏิวัติทางวัฒนธรรม ซึ่งจะถือหนังสือปกสีแดง
ทางฝ่าย “เหมาเจ๋อตุง” ก็ได้ขึ้นครองอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด และประกาศจัดตั้งเป็น “ รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน“ ปกครองประเทศโดยระบอบคอมมิวนิสต์ คำถามคือ ในเมื่อขับไล่ระบอบเดิมจบไปแล้ว แต่ปัญหาใหญ่คือ การเดินหน้าบริหารต่อไปจะทำอย่างไร?? ในเมื่อจีนมอบช้ำมามาก จะด้วยระบบเดิมๆก็ดี หรือจากการรุกรานของญี่ปุ่นก็ดี ซึ่งถือว่า.. บอบช้ำแสนสาหัสทีเดียว
1
ประธานเหมาคิดว่า เราต้องพัฒนาประเทศจึงได้มีการประกาศสิ่งที่เรียกว่า “ ปา เย จิน แปลว่า.. การก้าวกระโดดไกลไปข้างหน้า “ และเราเป็นมังกรที่หลับมานานแล้ว ควรเริ่มต้นการพัฒนาประเทศให้มีความทันสมัยมากขึ้นยิ่งขึ้น
1
ภาพของคนโดนประจาน เนื่องจากมีฐานะที่ดี
ในยุคเวลาดังกล่าว จีนบอบช้ำมาก พื้นฐานเทคโนโลยีไม่มี พื้นฐานอุตสาหกรรมก็ไม่มี แต่บอกว่า อยากทำอุตสาหกรรมเหล็ก ซึ่งวิธีการที่ง่ายสุดเลย ณ เวลานั้นคือ ให้ทุกคนมีส่วนร่วม มีความเท่าเทียมเสมอภาคกัน ก็ประมาณว่าใครมีตะหลิว ใครมีมีดอีโต้ ใครมีเศษเหล็ก เอามาหลอมรวมกัน ฟังดูแล้วเป็นเรื่องยากที่จะเรียกว่า ”ยุคก้าวกระโดดไกลไปข้างหน้า” ถึงแม้ว่าชื่อจะฟังดูดี แต่วิธีคิดและปฏิบัติกันอย่างนี้ คนทั่วโลกคงมอง.. เหมือนเป็นการเดินถอยหลังมากกว่า
2
เพราะว่า.. เอาจริงๆนะ ไม่ได้มีการพัฒนาอะไรกันขึ้นมาสักเท่าไหร่หรอก แต่ทว่ากลับส่งผลให้เศรษฐกิจถดถอยอย่างมาก และเป็นยุคที่ประชาชนต้องเผชิญความอดอยากมากที่สุดครั้งหนึ่ง
1
หนึ่งในการสังหารเจ้าของที่ดิน และชนชั้นกลางในสังคมเกิดขึ้นทุกวันหลังการปฏิวัติ
จนกระทั่งปี ค.ศ.1966 ก็จะตรงกับ พ.ศ.2509 ซึ่งในปีนั้น ประธานเหมา อายุมากขึ้น แก่ตัวแล้ว เริ่มมีความรู้สึกวิตกกังวลว่า ระบบคอมมิวนิสต์ของตัวเองเนี่ยยังไปไม่ถึงไหนเลย นอกเหนือจากนี้ประธานเหมายังคิดแบบนี้ ที่ผ่านมาเนี่ยจะมีเรื่องของวัฒนธรรมจีนเก่าๆ สิ่งเหล่านี้มันทำให้คนจีนคิดไปในทางที่เป็นโบราณหรือเปล่า ไม่เป็นลัทธิคอมมิวนิสต์เต็มรูปแบบ 100%
1
เพราะฉะนั้นในปี ค.ศ.1966 นี้เอง ประธานเหมา จึงได้จัดให้มีการปฏิวัติวัฒนธรรมแบบตรงไปตรงมา สิ่งที่เขาทำคือ มีการปลุกเร้าให้กลุ่มเยาวชนและนักศึกษาในมหาวิทยาลัย รวมทั้งกลุ่มปัญญาชนที่ต้องการความเท่าเทียมเสมอภาคในสังคมออกมารวมตัวกันเรียกว่า "หงวู่" ซึ่งก็คือ เรดการ์ดที่เราเคยได้ยินกัน
1
ถามว่า "เรดการ์ด" นี้ต้องทำอะไรบ้าง ก็คือรวมตัวกันในเขตหัวเมืองใหญ่ๆ เคลื่อนขบวนจากมหาวิทยาลัย และตรงเข้าไปในสถานที่ราชการเพื่อที่จะไปล่าตัว ผมขอใช้คำว่า "ล่าตัว" คงจะไม่เกินไปนัก คนกลุ่มนี้จะจับคนที่เป็นข้าราชการก็ดี หรือคนที่เป็นนักการเมืองก็ดี เมื่อจับกุมตัวได้แล้วก็จะทำการสอบสวน พอได้ยินได้ฟังดังนี้แล้วอาจจะรู้สึกว่า “ตลก” ที่มีกลุ่มนักศึกษาบุกเข้าไปทำอย่างนี้ได้ในสถานที่ราชการ
2
อดีตรองประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีนอันดับหนึ่ง “หลิวเส้าฉี“
แต่เหตุการณ์แบบนี้มันเกิดขึ้นจริง สาเหตุที่นักศึกษาเหล่านี้สามารถทำได้ เพราะได้รับการสนับสนุนจากประธานเหมาให้ลุกขึ้นมาทำลายความคิด ความเชื่อ และค่านิยมแบบเก่าๆ โดยคำพูดของประธานเหมา ซึ่งเป็นประธานสูงสุดของพรรคคอมมิวนิสต์จีนในเวลานั้น แน่นอนว่าตอนนั้นทุกคนในแผ่นดินรู้ว่า
1
ตอนนี้ประธานเหมา ต้องการที่จะขยับเขยื้อนอะไรบางอย่าง ทำให้เกิดความหวาดระแวงกันในหมู่สังคมจีน ด้านหนึ่งก็คือการที่บุกเข้าจับตัวข้าราชการ หรือแม้กระทั่งนักการเมือง ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ อดีตรองประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีนอันดับหนึ่ง ชื่อ “หลิวเส้าฉี“ ถูกจับออกมาโดนสอบสวนโดยกลุ่มเรดการ์ด ถูกกักบริเวณอยู่ในบ้านพักและเสียชีวิตในคุกในเวลาต่อมา คิดดูแล้วกันว่า.. น่าสะพึงกลัวขนาดไหน??
1
ส่วนอีกคนหนึ่งก็คือ คนในครอบครัวแซ่เติ้ง ซึ่งหลายคนน่าจะเดาได้แล้ว แซ่เติ้ง นี้ก็คือครอบครัวของ “เติ้ง เสี่ยวผิง” ซึ่งเป็นสมาชิกระดับสูงของพรรคคอมมิวนิสต์จีน นอกจากนี้ยังได้มีการทำทารุณกรรมต่อคนที่เห็นต่าง เช่น การทำทารุณกรรมกับคนที่เป็นบุตรหลานของข้าราชการระดับสูง เช่น “เติ้ง ผู่ฟาง” แซ่เดียวกันอีกแล้ว และเขาคือลูกชายคนโตของเติ้ง เสี่ยวผิง เขาถูกทรมานและถูกโยนออกไปนอกหน้าต่างของอาคารสามชั้นที่มหาวิทยาลัยปักกิ่ง สุดท้ายต้องกลายเป็นคนพิการอัมพาตครึ่งล่างไปตลอดชีวิต
2
ภาพของเติ้ง ผู่ฟาง ปี 1980
ในยุคดังกล่าว.. มีคำนิยามกันแบบนี้ “เหมาเจ๋อตุงนั่งอยู่บนภูดูเสือกัดกัน” เสือในที่นี้หมายถึง พลังอนุรักษ์นิยมของกลุ่มคอมมิวนิสต์ กับคนที่เป็นพลังคนรุ่นใหม่ก็คือ กลุ่มเยาวชน ที่ต้องการให้เยาวชนเข้าไปตรวจสอบ เหตุการณ์แบบนี้กินเวลาไปถึง 2 ปี
3
จนในที่สุด ประธานเหมาได้มีการเปลี่ยนแผนให้กองทัพเข้ามาควบคุมสถานการณ์แทน เพราะดูเหมือนว่าสถานะการณ์จะบานปลาย มีการเผาทำลายสุสานของขงจื้อ วัดวาอารามต่างๆ หลายแห่ง และถูกต่อต้านประจานอย่างหนัก ประธานเหมา จึงประกาศนโยบาย “การเคลื่อนไหวลงสู่ชนบท” ขอให้พวกคุณเป็นนักศึกษา เป็นประชาชน มีโอกาสอยู่ในเขตเมืองใหญ่ การปฏิวัติวัฒนธรรมมิได้จบเพียงแค่นี้ เราจะต้องมีการส่งพวกคุณไปยังพื้นที่ชนบทที่ห่างไกล
1
เพราะฉะนั้นในช่วงเวลานั้น คนที่เป็นนักศึกษาและปัญญาชนในพื้นที่ต่างๆ ได้ถูกส่งตัวไปยังมณฑลที่ห่างไกลและไม่ใช่บ้านเกิดของตัวเอง ปัญญาชนเหล่านี้ซึ่งบางคนอาจจะเคยเรียนวิทยาศาสตร์ ก็ถูกส่งไปเลี้ยงม้าที่มณฑลมองโกเลียใน และมีบางคนอาจจะเรียนวิชาอื่นๆ เช่นเภสัชศาสตร์ ก็จะถูกส่งไปปลูกผักในมณฑลที่ห่างไกล เช่น ซินเจียงแบบนี้ เป็นต้น
1
ในยุคนั้นนักศึกษากว่า 17 ล้านคนถูกผลักดันให้ไปเป็นเกษตรกรในชนบท
ดังนั้นมีนักศึกษาแล้วก็เหล่าปัญญาชนจำนวนมาก ซึ่งอายุยังน้อยอยู่ และเป็นสมาชิกเรดการ์ดถูกส่งไปยังพื้นที่ห่างไกลต่างๆ ต้องห่างจากพ่อแม่ตัวเอง ต้องห่างจากครอบครัว ไม่มีโอกาสในการที่จะได้เรียนต่อให้จบการศึกษาตามความฝันของตัวเองและทุกคนในครอบครัว หรือแม้แต่โอกาสที่จะนำเอาความรู้ ความสามารถไปช่วยในการพัฒนาสังคมและประเทศชาติได้ เรามักจะได้พบเห็นงานเขียนหนังสือ หรือวรรณกรรมต่างๆ ของจีน รวมถึงภาพยนตร์ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตที่ยากแค้นลำเค็ญเอามากๆของนักศึกษาในช่วงเวลานั้น
สิ่งที่พวกเขาวาดหวังเอาไว้คือ อยากจะมีความเท่าเทียมกันในสังคมที่ปราศจากการแบ่งชนชั้นเช่นในอดีต และประเทศชาติจะต้องมีความเจริญก้าวหน้ามากกว่าที่เป็นอยู่ แต่กลับกลายเป็นว่า ด้วยความที่จีนเป็นประเทศที่กว้างใหญ่ไพศาล การที่จะเข้าไปกำกับดูหรือควบคุมข้าราชการท้องถิ่น จากศูนย์บัญชาการในเมืองหลวงเอง คงจะไม่ง่ายนัก ทำให้นักศึกษา รวมถึงปัญญาชนส่วนใหญ่ที่เดินทางไปยังพื้นที่ห่างไกลนั้น ต้องพบเจอกับสิ่งที่ไม่คาดคิด หรือแม้แต่แง่มุมดีๆ ของระบอบคอมมิวนิสต์ เช่น ความเสมอภาคเท่าเทียมกันในเวลานั้นเลย
1
สรุปสุดท้ายคือ สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีนในพื้นที่หรือในมณฑลอื่นๆ ต่างก็ประพฤติตัว ปฏิบัติตนไม่แตกต่างไปจากชนชั้นในอดีต ที่พวกเขาต้องการล้มล้างไปก่อนหน้านี้เลย ยังมีการใช้ระบบเส้นสาย และถ้านักศึกษาคนไหนสามารถเข้ากับระบบที่เป็นอยู่ได้ดี
1
”ซิ่ว ซิ่ว เธอบริสุทธิ์ “ (Xiu Xiu: The Sent-Down Girl 1998)
ก็อาจจะกลับไปสู่อ้อมอกพ่อแม่ในมณฑลที่เป็นถิ่นกำเนิดของตัวเองได้เร็วขึ้น และมีหนังสือวรรณกรรมจีนอยู่เล่มนึง ซึ่งต่อมาได้มีการนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ เป็นผลงานของผู้กำกับหญิงมากฝีมือ และสามารถคว้ารางวัลม้าทองคำของไต้หวันได้ถึง 5 สาขา เคยฉายในเมืองไทยด้วย แต่ห้ามฉายในจีนครับ
1
เป็นหนังจีนมีชื่อว่า ”ซิ่ว ซิ่ว เธอบริสุทธิ์ “ (Xiu Xiu: The Sent-Down Girl 1998) เรื่องนี้ดูแล้วสะเทือนใจเป็นอย่างมาก ก็เป็นเรื่องของปัญญาชนซึ่งครั้งหนึ่งเธอก็เป็นเรดการ์ดอยู่ที่เมืองเฉิงตู ก็เป็นนครหลวงของมณฑลเสฉวน เธอจบทางด้านของสัตวบาล
จากนั้นเธอถูกส่งไปที่คอกม้า ถ้าผมจำไม่ผิดรู้สึกจะเป็นมณฑลซินเจียง เธอถูกส่งไปแล้ว ด้วยการบอกว่าเธอไปฝึกงานแค่ 6 เดือน แต่จริงๆไม่ใช่ เธอจะต้องอยู่ตลอดไป และสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ เมื่อเธอต้องการที่จะกลับบ้าน สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์และข้าราชการในพื้นที่ ก็หลอกเอาความบริสุทธิ์ของเธอไป
3
การปรากฏตัวต่อสาธารณะของประธานเหมาและหลิน เปียว ท่ามกลางกลุ่มยุวชนแดงในกรุงปักกิ่ง ในช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรม (พฤศจิกายน พ.ศ. 2509)
หลังจากนั้นคนที่เป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงในพื้นที่ ก็แวะเวียนกันข่มขืนเธอ จนกระทั่งท้ายที่สุดเธอต้องจบชีวิตลงด้วยการขอร้องให้ผู้ดูแล ยิงเธอให้ตายเสียดีกว่า เป็นเรื่องเสียดสีสังคมการเมืองในยุคของการปฏิวัติวัฒนธรรมในช่วงนั้น หากถามว่า.. กินเวลายาวนานแค่ไหน?? คำตอบก็คือ เริ่มต้นตั้งแต่การที่กองทัพประชาชนของจีน ได้เข้ามาควบคุมสถานการณ์ตามคำสั่งของประธานเหมา เป็นเวลาประมาณ 3 ปีด้วยกัน
2
ณ เวลานั้น ประธานเหมา อยู่ในช่วงปัจฉิมวัย เมื่ออายุมากขึ้นแก่แล้ว เริ่มจะตระหนักได้ว่า.. หากวันข้างหน้าอำนาจทางการเมืองตกอยู่ในมือของแก๊ง 4 คน อันประกอบไปด้วย เจียง ชิง, จาง ชุนเฉียว , เหยา เหวินหยวน, หวัง หงเหวิน ซึ่งล้วนเป็นคนสนิทใกล้ชิดประธานเหมาทั้งสิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นางเจียงชิง หนึ่งในภรรยาของประธานเหมา เป็นพวกหัวรุนแรง ต้องการปฏิวัติสังคมอย่างถึงรากถึงโค่น คงทำให้สังคมและประเทศจีนไปไหนไม่ได้ไกล
2
ในขณะเดียวกัน บรรดาข้าราชการ อีกทั้งสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ต์ ต่างก็เฝ้าจับตามองการปฏิวัติวัฒนธรรมกันอย่างอึดอัดและคับข้องใจกันมาตลอด ต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า.. ไม่ไหวแล้ว ถ้าสังคมจีนต้องเดินหน้าต่อไปแบบนี้ ยังฝืนเอาอุดมการณ์นำ แต่ประเทศชาติไปไม่รอด ประชาชนเข้าสู่ภาวะอดอยากอย่างรุนแรง มีผู้เสียชีวิตจากความหิวโหยมากกว่า 10 ล้านคน
เจียง ชิง, จาง ชุนเฉียว , เหยา เหวินหยวน, หวัง หงเหวิน ตามลำดับ
จนในที่สุด ประธานเหมาคนเดิม ได้มีการเชื้อเชิญกลุ่มอำนาจเก่า ซึ่งครั้งหนึ่ง.. เคยถูกกระทำทารุณกรรมในช่วงเริ่มต้นของการปฏิวัติวัฒนธรรม ให้กลับเข้ามามีบทบาทและดำรงตำแหน่งสำคัญ ซึ่งหนึ่งในนั้น ก็คือ “เติ้ง เสี่ยวผิง” เป็นการกลับเข้ามาสู่อำนาจเป็นแกนนำของรัฐบาลพรรคคอมมิวนิสต์จีนอีกครั้งหนึ่ง ถึงแม้ว่าเขาจะเคยถูกกระทำในช่วงเวลาของการปฏิวัติวัฒนธรรมมาแล้วก็ตาม
1
ด้วยคุณลักษณะของ “เติ้ง เสี่ยวผิง“ ซึ่งมีความสุขุม รอบคอบ ในการที่จะนำพาจีนให้กลับมาใหม่ ไม่ใช่เรื่องของการใช้วิธี ตาต่อตา หรือฟันต่อฟัน แต่เป็นการที่เขาจะต้องใช้การประนีประนอม และถึงแม้ว่า ชีวิตของเขาต้องทนทุกข์ทรมานมานานนับ 10 ปี เพราะเจ้านายซึ่งก็คือ ”ประธานเหมา“ แต่เขาก็เลือกที่จะทำความเข้าใจกับประธานเหมา และเขาก็รู้ด้วยว่า.. การที่จะไปไล่เบี้ยเอาผิดกับคนทุกคนที่อยู่ในเหตุการณ์ช่วงปฏิวัติวัฒนธรรมนั้น ไม่ได้ช่วยให้อะไรดีขึ้นเลย
2
เติ้ง เสี่ยวผิง
ในที่สุด แกนนำหัวรุนแรงของพรรคคอมมิวนิสต์จีนทั้ง 4 คน ถูกจับขึ้นศาลพิพากษาให้รับโทษ และเวลาผ่านไปไม่นาน “ประธานเหมา” ได้ประกาศสิ้นสุดการปฏิวัติวัฒนธรรม ในปี 1969 แต่ทุกอย่างกลับสิ้นสุดลงอย่างแท้จริง เมื่อ “ประธาน เหมา เจ๋อตง” ถึงแก่อสัญกรรม ด้วยโรค ALS โรคร้ายแรงที่ไม่มีทางรักษา เมื่อวันที่ 9 กันยายน 1976 ด้วยวัย 83 ปี
2
สุดท้ายแล้ว.. “ ความสำเร็จ หรือล้มเหลวอันเกิดจากอุดมการณ์ที่เราถวิลหาอย่างมุ่งมั่นนั้นหน้าตาเป็นเช่นนี้เอง เป็นความผิดพลาดอันนำมาซึ่งความสูญเสียครั้งใหญ่หลวงของ เหมา เจ๋อตง จนแม้แต่ เติ้ง เสี่ยวผิง ยังกล่าวว่า เหมา เป็นผู้นำที่ดี 7 ส่วน และชั่ว 3 ส่วน ”
3
ฝากกดถูกใจ กดแชร์ เพื่อเป็นกำลังใจให้ผมด้วยนะครับ
Reference ประเทศจีน ตอนที่ 13 อุดมการณ์ที่หิวโหย (ปฏิวัติทางวัฒนธรรม)

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา