2 ก.พ. เวลา 12:00 • หนังสือ

สรุปหนังสือ Pleased to Meet Me ยินดีที่รู้จักฉัน

เคยสงสัยไหมว่า...
ทำไมเราถึงชอบกินหวาน?
ทำไมบางคนชอบเสี่ยง บางคนรักความปลอดภัย?
ทำไมเราถึงควบคุมอารมณ์ได้ยากในบางสถานการณ์?
หนังสือ Pleased to Meet Me ของ Bill Sullivan พาเราไปค้นหาคำตอบว่า "ตัวเราเป็นผลลัพธ์จากอะไร?" ผ่านมุมมองทางพันธุกรรม, จุลชีพในร่างกายและปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ
8
หนังสือเล่มนี้ได้อธิบายว่าการกระทำและบุคลิกภาพของเราเกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างยีนต่างๆ จุลินทรีย์ ฮอร์โมน สารสื่อประสาทและสภาพแวดล้อมของเรา พฤติกรรมส่วนใหญ่ถูกชี้นำโดยดีเอ็นเอ เอพิเจเนติกส์ รวมถึงจิตใต้สำนึก
บิล ซัลลิแวน จบปริญญาเอกสาขาชีววิทยาระดับเซลล์และโมเลกุลจากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ปัจจุบันเป็นศาสตร์จารย์ที่วิทยาลัยการแพทย์ มหาวิทยาลัยอินดีแอนา ประเทศอินเดีย เขาได้ตีพิมพ์บทความทางวิทยาศาสตร์มากกว่าเกือบหนึ่งร้อยชิ้น เป็นเจ้าของสิทธิบัตรการค้นพบยาต้านปรสิตและได้รับรางวัลมากมายจากรายการบรรยายในมหาวิทยาลัย
2
“แทนที่จะประณามคนอื่น ลองพยายามเข้าใจพวกเขา พยายามคิดว่าพวกเขาทำเช่นนั้นทำไม มันมีประโยชน์และน่าสนใจกว่าการวิจารณ์เยอะมาก และทำให้เกิดความเข้าอกเข้าใจ ความอดทนอดกลั้นและความเมตตากรุณา” ประโยคนี้มาจากเดล คาร์เนกี้ เจ้าของหนังสือที่โด่งดัง “วิธีชนะมิตรและจูงใจคน” ได้กล่าวไว้ในหนังสือหน้าแรกและบทส่งท้าย เป็นประโยคที่สามารถอธิบายว่าหนังสือเล่มนี้จะทำให้เราเข้าใจผู้คนมากขึ้น
หนังสือมีทั้งหมด 10 บท โดยเราจะได้ทำความเข้าใจในเรื่องของ รสนิยม กลไกการเสพติด อารมณ์ที่เกิดขึ้น ความรัก ความเชื่อ ไขข้อสงสัยบางอย่าง เช่น ทำไมบางคนชอบกินผักเพราะว่ามันอร่อยแต่บางคนไม่ชอบกินเพราะว่ามันขม ทำไมบางคนมีความรักได้อย่างง่ายดายแต่บางคนเหมือนงมเข็มในมหาสมุทร
1. พันธุกรรมมีผลต่อพฤติกรรมของเรา
เราอาจเคยได้ยินว่า ยีนกำหนดรูปร่าง สีตา หรือสีผม แต่ว่ายีนยังมีผลต่อพฤติกรรมของเรา
ตัวอย่าง:
• ยีน DRD4 มีผลต่อระดับ "โดพามีน" ในสมอง คนที่มียีนนี้ในระดับสูงมัก รักความท้าทายและเสี่ยงมากกว่า เช่น ชอบการเดินทาง ผจญภัย หรือแม้แต่การพนัน
• ยีน MAOA (Warrior Gene) มีผลต่อความก้าวร้าว คนที่มีระดับ MAOA ต่ำมีแนวโน้มจะอารมณ์ร้อนกว่า
• ยีน TAS2R38 กำหนดว่า "ชอบผักใบเขียวหรือเปล่า" เพราะมีผลต่อความไวต่อรสขม ดังนั้นขอให้เข้าใจว่าด้วยว่าบางคนไม่กินผักอาจเป็นเพราะพวกเขามียีนนี้เด่น จึงทำให้สัมผัสรสขมได้มากกว่า
แต่...พันธุกรรมไม่ใช่คำตอบทั้งหมด
แม้ว่ายีนจะมีผลต่อพฤติกรรม แต่ สิ่งแวดล้อมและประสบการณ์ในชีวิต ก็สามารถเปลี่ยนการแสดงออกของยีนได้
1
2. แบคทีเรียในร่างกายมีผลต่อพฤติกรรมของเรา เช่น แบคทีเรียในลำไส้ส่งผลต่ออารมณ์ ความเครียด และพฤติกรรม
งานวิจัย:
• นักวิจัยพบว่า หนูที่ไม่มีจุลชีพในลำไส้มีแนวโน้มเครียดง่าย และวิตกกังวลมากกว่า
• มีการทดลองปลูกถ่ายจุลชีพของ "คนอ้วน" ไปให้ "คนผอม" และพบว่าคนที่ได้รับจุลชีพมีแนวโน้มจะน้ำหนักขึ้น
แล้วจุลชีพมีผลกับมนุษย์อย่างไร?
• จุลชีพบางชนิดสามารถหลั่งสารเคมีที่ส่งผลต่อสมอง เช่น GABA, เซโรโทนิน, และโดพามีน
• แบคทีเรียบางตัวทำให้เราอยากกินของหวานหรืออาหารแปรรูปมากขึ้น (เพราะมันต้องการพลังงาน!)
วิธีดูแลจุลชีพในร่างกายให้ดี:
• กินอาหารที่มี โพรไบโอติก เช่น โยเกิร์ต และเดี๋ยวนี้มีจุลชีพอีกตัวที่น่าสนใจคือ พรีไบโอติกส์ ซึ่งเปรียบเสมือนปุ๋ยสำหรับโพรไบโอติก สามารถหาได้จากการกินผักนั่นเอง
• ลดน้ำตาลและอาหารแปรรูปที่ทำลายแบคทีเรียดีในลำไส้
3. ฮอร์โมนและสารเคมีในสมองกำหนดความคิดของเรา
ตัวอย่างสารเคมีสำคัญ:
• โดพามีน (Dopamine) → สารแห่งความสุขและแรงจูงใจ
• เซโรโทนิน (Serotonin) → ควบคุมอารมณ์และความสงบ
• ออกซิโทซิน (Oxytocin) → ฮอร์โมนแห่งความรักและความไว้วางใจ
ฮอร์โมนมีผลกับพฤติกรรมอย่างไร?
• คนที่มีระดับ โดพามีนต่ำ มักขาดแรงจูงใจ และรู้สึกเบื่อชีวิตง่าย
• ออกซิโทซินสูง ทำให้คนไว้วางใจและเห็นอกเห็นใจผู้อื่นมากขึ้น
เราสามารถปรับสมดุลฮอร์โมนได้!
• ออกกำลังกายช่วยเพิ่ม โดพามีน
• การนอนหลับที่ดีช่วยปรับ เซโรโทนิน
• การกอดคนที่เรารักช่วยเพิ่ม ออกซิโทซิน
ตัวเราถูกกำหนดจากพันธุกรรมมีผลต่อบุคลิก นิสัย และแนวโน้มพฤติกรรมของเรา จุลชีพในร่างกาย มีผลต่ออารมณ์ ความเครียด และการตัดสินใจ ฮอร์โมนและสารเคมีในสมอง มีผลต่อความคิด อารมณ์ และความสัมพันธ์ เราสามารถทำให้ร่างกายแข็งแรงได้โดย การกินดี นอนดี ออกกำลังกาย และฝึกจิตใจให้มั่นคง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา