Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Productive Girl
•
ติดตาม
16 ก.พ. เวลา 12:00 • หนังสือ
สรุปหนังสือ On Empathy
ทำไมบางครั้งเราถึงรู้สึกว่า “ไม่มีใครเข้าใจเราเลย” และทำไมเราถึงเผลอตัดสินคนอื่น โดยไม่ทันได้ฟังเขาจริง ๆ คำตอบของคำถามเหล่านี้อาจซ่อนอยู่ในสิ่งที่เรียกว่า Empathy หรือความสามารถในการเข้าใจและรับรู้ความรู้สึกของผู้อื่น ในการสรุปครั้งนี้ เราจะพาไปสำรวจแนวคิดหลักพร้อมกับวิธีฝึกฝน Empathy ที่สามารถนำไปปรับใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันกับหนังสือที่มีชื่อว่า “On Empathy”
ดุจดาว วัฒนปกรณ์ จบการศึกษาปริญญาตรีคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลังจากทำงานได้ 2 ปี ได้เรียนต่อปริญญาโทด้าน Dance Movement Therapy ที่ประเทศอังกฤษ ในระยะแรกคุณดุจดาวทำงานด้านละครเวที เป็นนักจิตบำบัดให้คลินิกและเป็นอาจารย์พิเศษที่มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โดยสอนการแสดงเกี่ยวกับการใช้ร่างกาย และต่อมาได้เป็นพนักงานประจำที่โรงพยาบาลในเครือ BDMS ในตำแหน่งพัฒนาระบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากร
หนังสือเล่มนี้มีทั้งหมด 7 บท โดยเราจะได้รู้จักคำว่า Empathy เทคนิคการสื่อสาร การนำไปใช้ในชีวิตประจำวันและการมี Empathy กับตัวเอง
ความหมายของ Empathy
นิยามของคำว่า Empathy ของคุณดุจดาว คือ ความสามารถอันละเอียดอ่อนที่จะรับรู้ความคิด ความรู้สึก ความต้องการ จากทัศนคติของผู้อื่น เป็นเสมือนยาที่ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด ช่วยให้จิตใจเราสงบและเป็นสุขมากขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นทักษะที่ทำให้ผู้คนมีความสัมพันธ์ที่เกื้อกูลกันมากขึ้น ทำให้ต่างฝ่ายต่างเข้าใจกัน
ความแตกต่างระหว่าง Sympathy กับ Empathy
Sympathy คือ ความสงสารและเห็นใจผู้อื่นจากมุมมองของเรา
Empathy คือ รับฟังและเห็นใจผู้อื่นจากมุมมองของเขา
องค์ประกอบของ Empathy
1. ความอยากเข้าใจอีกฝ่าย
2. มองด้วยมุมมองของเขา
3. อย่าเอาความเชื่อของเราไปตัดสิน
4. เคารพในสิ่งที่เขามี เขาเป็น และเขาต้องการ
5. ยอมรับความเท่าเทียมของมนุษย์
6. มองว่าจุดยืนของแต่ละคนนั้นแตกต่าง
วิธีการจัดการอารมณ์ 4 Types of Communication หรือ VAST
Volcano style เป็นบุคลิกที่พร้อมจะปลดปล่อยทุกอารมณ์ออกมาเปรียบเสมือนภูเขาไฟระเบิด
Armadillo style บุคลิกนี้จะเงียบ ไม่กล้าเผชิญหน้าเมื่อกำลังอยู่ในเหตุการณ์ที่รู้สึกไม่ปลอดภัย
Spear style คือหอกที่พร้อมจะพุ่งใส่คนอื่นด้วยการพูดแรง ๆ เหน็บแนมและประชดประชัน
Typewriter style เป็นบุคลิกที่สามารถเล่าออกมาได้อย่างชัดเจน ทำให้คนฟังเข้าใจความรู้สึกได้อย่างดี (วิธีที่แนะนำ อยากให้เอาไปใช้)
1
เหตุผลที่เราควรฝึกการสื่อสารให้มีความเห็นอกเห็นใจ
จากผลการวิจัยอัลเบิร์ต เมห์ระเบียน ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยา ได้อธิบายว่าการสื่อสารจะประสบความสำเร็จเกิดจากน้ำเสียงและภาษากายมากกว่าคำพูด โดยคำพูดมีส่วน 7% น้ำเสียงมีส่วน 38% และภาษากายมีส่วน 55%
วิธีฝึกการมี Empathy
วิธีที่ดีที่สุดในการมี Empathy คือการเรียนรู้จากประสบการณ์ การฝึกบางครั้งเราไม่ต้องทำอะไรเลย เพียงนั่งฟังและลองสวมบทบาทว่าถ้าเราเป็นเขาเมื่อเจอเหตุการณ์นั้นๆ เราจะรู้สึกอย่างไร คิดอย่างไร
ตัวอย่างการทำความเข้าใจผู้อื่น สมมติเราเป็นพยาบาล แล้ววันหนึ่งเราป่วยทำให้ต้องมาอยู่ในบทบาทของผู้รับบริการ ต้องทำตามระบบของโรงพยาบาล ยิ่งถ้าโรงพยาบาลรัฐก็จะเข้าใจบริบทของผู้ป่วยมากขึ้น เช่น รอตรวจนาน เจ้าหน้าที่ไม่เต็มใจให้บริการ (ไม่ได้เหมารวมทั้งหมด)
การฟังที่ดี เริ่มจาก...
1. เก็บโทรศัพท์ สนใจอีกฝ่ายเต็มที่
2. แสดงออกว่ากำลังรับฟังอย่างตั้งใจ เช่น สบตา พยักหน้า แสดงสีหน้าตามเรื่องราว
3. หลีกเลี่ยงการตัดสิน
4. เก็บคำถามไว้ก่อน และเมื่อได้โอกาสพยายามอย่าถามคำถามปลายปิด
5. ปล่อยให้มีความเงียบบ้าง
6. ไม่ควรให้คำแนะนำหรือพูดแทรก
รวมคำพูดที่ไม่ควรพูด
"คิดมากไปไหม"
"อย่างน้อย เธอก็ยังมี..."
"เรื่องแค่นี้เอง"
"ช่างมันเถอะ"
"มันก็อย่างนี้แหละ"
คำพูดเหล่านี้เราอาจไม่ได้คิดอะไร แต่อย่าลืมว่าเราเติบโตมาในครอบครัวที่ไม่เหมือนกัน เราไม่รู้เลยว่าแต่ละวันเขาเจออะไรมาบ้าง ถ้าไม่รู้ว่าจะปลอบหรือพูดอย่างไรก็ให้ลองนั่งฟังอย่างเดียว ไม่จำเป็นต้องคิดหรือหาคำอะไรมาพูดที่อาจบั่นทอนจิตใจกว่าเดิม
ขอบเขตของการมี Empathy
ใช่ว่าเราจะต้องมีความเห็นอกเห็นใจตลอดเวลาเพราะมันเหนื่อย ให้มีได้เมื่อตัวเองพร้อม ไม่อย่างนั้นเราจะดึงพลังงานของตัวเองไปใช้เข้าใจคนอื่นเสียหมด จนสุดท้ายลืมดูว่าตนเองต้องการอะไร
เขาจึงบอกว่านักจิตบำบัดทุกคน จะไม่เก็บเรื่องที่รับฟังมาไว้กับตัวเอง ไม่เอาเรื่องของใครกลับบ้าน วิธีคือให้นึกว่าเรามีถังอยู่กับตัว เมื่อจบการบำบัดก็ให้ปิดฝาแล้ววางไว้ สำหรับเก่งมีอีกวิธีคิดคือ ให้เรานึกถึงฟองน้ำ เมื่อมีคนมาระบายความรู้สึกให้ฟังก็เหมือนการเติมน้ำลงไป แต่เมื่อสิ้นสุดการสนทนาเราต้องบีบน้ำนั้นออก ไม่เก็บเรื่องราวเหล่านั้นมาวิตกกังวล
การมี Empathy กับตัวเอง
เมื่อเรามอบความเข้าใจให้คนอื่นไปมากมาย เราก็ควรมอบสิ่งนี้ให้ตนเองเช่นกัน มันเป็นการให้ความสำคัญกับตัวเอง ลองเข้าใจความคิด ความรู้สึก ความต้องการและพฤติกรรมโดยไม่ตัดสิน ซึ่งมีเทคนิคดังนี้
1. ให้เวลานิ่งเงียบกับตัวเอง
2. สังเกตอารมณ์ ความรู้สึก
3. สัมผัสร่างกายโดยการโอบกอดหรือบีบนวด
4. เคลื่อนไหวร่างกาย เช่น การเดิน
5. ยอมรับสิ่งที่ตนเองเป็น
6. ขอบคุณตัวเอง
หนังสือ On Empathy สอนให้เรารับฟังและเข้าใจคนอื่นอย่างแท้จริง โดยไม่รีบตัดสินหรือแก้ปัญหาให้เขาทันที Empathy ไม่ใช่แค่เรื่องของการสื่อสารที่ดีเท่านั้น แต่ยังช่วยให้เราสร้างความสัมพันธ์ที่แข็งแรงขึ้น และเข้าใจตัวเองได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น หากคุณอยากมีความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นและรู้จักการฟังอย่างแท้จริง หนังสือเล่มนี้เป็นคู่มือที่เก่งอยากแนะนำให้อ่าน
หนังสือ
ไลฟ์สไตล์
พัฒนาตัวเอง
บันทึก
1
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Book Zone
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย