ขอจงพากันหวงแหนรักษาสมบัติของชาติบ้านเมืองไทย แลอนุรักษ์ไว้ ให้ลูกหลานไทยในกาลเบื้องหน้า ตราบห้าพันปี // ภาพทั้งหลายทั้งปวง จะนำไปใช้ในการค้าพานิชแลประโยชน์อื่นใด หาได้ไม่ // หากนำภาพไปโพสต์ส่วนตัวจำเป็นต้องระบุเครดิต
ลิลิตยวนพ่าย เป็นวรรณคดีประเภทสดุดีวีรกรรมของพระมหากษัตริย์ จัดเป็นวรรณคดีประวัติศาสตร์ ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง แต่สันนิษฐานว่าแต่งขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ คำว่า "ลิลิต" หมายถึง คำประพันธ์ประเภทร้อยกรองแบบหนึ่งซึ่งใช้โคลงและร่ายต่อสัมผัสกันเป็นเรื่องยาว ส่วน "ยวน" หมายถึง ชาวยวน ชาติพันธุ์หลักในอาณาจักรล้านนา ดังนั้นลิลิตยวนพ่ายจึงมีเนื้อหากล่าวถึงสงครามที่อาณาจักรอยุธยามีชัยเหนืออาณาจักรล้านนานั่นเอง ลิลิตยวนพ่ายแต่งเป็นลิลิตดั้น กล่าวคือ เป็นร่ายดั้น 2 ตอนและโคลงดั้นบาทกุญชร 365 บท[2] ภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยโบราณ เขมร สันสกฤต และบาลี จึงอ่านเข้าใจได้ยาก ใช้ภาษาที่ประณีตงดงาม ศัพท์สูงส่งวิจิตร เต็มไปด้วยชั้นเชิงสูงด้านการใช้ภาษา และเป็นแบบอย่างในการแต่งลิลิตตะเลงพ่ายของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
โคลงสุภาษิตประจำภาพในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง มีจำนวนทั้งสิ้น ๒๐๘ ภาพ ประจำภาพพระบฏในกรอบไม้จำหลักลาย ลงรักปิดทอง ประดับเหนือประตูหน้าต่างในพระอุโบสถ
เนื้อหาคัดมาจากบางส่วนในหนังสือ กวีนิพนธ์ มหาเวสสันดรชาดก ร.ศ. ๑๒๘ โดยกัณฑ์ทศพรเปนพระนิพนธ์ในสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส สอบทานโดย พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระสมมตอมรพันธุ์