ขอจงพากันหวงแหนรักษาสมบัติของชาติบ้านเมืองไทย แลอนุรักษ์ไว้ ให้ลูกหลานไทยในกาลเบื้องหน้า ตราบห้าพันปี // ภาพทั้งหลายทั้งปวง จะนำไปใช้ในการค้าพานิชแลประโยชน์อื่นใด หาได้ไม่ // หากนำภาพไปโพสต์ส่วนตัวจำเป็นต้องระบุเครดิต
ลิลิตยวนพ่าย เป็นวรรณคดีประเภทสดุดีวีรกรรมของพระมหากษัตริย์ จัดเป็นวรรณคดีประวัติศาสตร์ ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง แต่สันนิษฐานว่าแต่งขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ คำว่า "ลิลิต" หมายถึง คำประพันธ์ประเภทร้อยกรองแบบหนึ่งซึ่งใช้โคลงและร่ายต่อสัมผัสกันเป็นเรื่องยาว ส่วน "ยวน" หมายถึง ชาวยวน ชาติพันธุ์หลักในอาณาจักรล้านนา ดังนั้นลิลิตยวนพ่ายจึงมีเนื้อหากล่าวถึงสงครามที่อาณาจักรอยุธยามีชัยเหนืออาณาจักรล้านนานั่นเอง ลิลิตยวนพ่ายแต่งเป็นลิลิตดั้น กล่าวคือ เป็นร่ายดั้น 2 ตอนและโคลงดั้นบาทกุญชร 365 บท[2] ภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยโบราณ เขมร สันสกฤต และบาลี จึงอ่านเข้าใจได้ยาก ใช้ภาษาที่ประณีตงดงาม ศัพท์สูงส่งวิจิตร เต็มไปด้วยชั้นเชิงสูงด้านการใช้ภาษา และเป็นแบบอย่างในการแต่งลิลิตตะเลงพ่ายของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
โคลงสุภาษิตประจำภาพในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง มีจำนวนทั้งสิ้น ๒๐๘ ภาพ ประจำภาพพระบฏในกรอบไม้จำหลักลาย ลงรักปิดทอง ประดับเหนือประตูหน้าต่างในพระอุโบสถ
เนื้อหาคัดมาจากบางส่วนในหนังสือ กวีนิพนธ์ มหาเวสสันดรชาดก ร.ศ. ๑๒๘ โดยกัณฑ์ทศพรเปนพระนิพนธ์ในสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส สอบทานโดย พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระสมมตอมรพันธุ์
ผู้เขียนแบ่งปันภาพ พระปฏิมากร พระพุทธรูปโบราณมงคลศักดิ์สิทธิ์ที่มีในประเทศไทย เพียงหวังให้ผู้ที่ได้พบเห็นภาคภูมิใจในชาติบ้านเมืองของเรา พร้อมกันนี้รูปเคารพของพุทธเจ้าผู้ประเสริฐในโลกยังสามารถทำให้เกิดพุทธานุสสติ ให้พุทธศาสนิกชนที่เห็นได้ระลึกตามและใช้เป็นเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจให้มั่นคงเข้มแข็ง ยิ่งไปกว่านั้น พุทธานุสติยังช่วยให้เราห่างไกลความเจ็บไข้ได้ป่วยทางจิตใจ ที่ไม่มีในบ้านเมืองเราแต่เดิม แต่คนไทยจำนวนไม่น้อยไม่มีที่ยึดเหนี่ยวจิตใจหรือไม่มีศาสนาต่างพากันน้อมนำเอาโรคทางใจที่เข้ามาพร้อมกับความเจริญทางวัตถุจากบ้านเมือง และให้คุณค่าวิทยาศาสตร์มากกว่าศาสตร์ทางจิตใจ โรคซึมเศร้า คือ หนึ่งในโรคเหล่านั้น ซึ่งปัจจุบันมีคนล้มป่วยเป็นจำนวนไม่น้อยและเพิ่มขึ้นอบ่างมีนัยสำคัญ ผู้เขียนปรารถนาที่จะเห็นผู้คนในสังคมไทยมีภูมิคุ้มกันที่เข้มแข็งทางจิตใจไม่หวั่นไหวโอนเอนและเอาตัวรอดได้ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงที่ถาโถมเข้ามาอย่างที่เป็นอยู่ในโลกปัจจุบัน
แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ในประเทศไทยและต่างประเทศ แล้วผู้เขียนจะทะยอยนำภาพและเรื่องราวมาลงครับ
เอกสารและตำราวิชาการทางการแพทย์จำนวนมาก สำหรับนักศึกษาแพทย์รุ่นแรกของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ปัจจุบันเป็นกรรมสิทธิ์และอยู่ในความดูแลของทายาทของตระกูลสีมะสิงห์ ต้นตระกูลท่านเป็นนายแพทย์ที่มาราชการสงครามเมื่อครั้งปราบกบฏจีนฮ่อในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ บรรดาศักดิ์ที่ได้รับพระราชทานคือ ขุนสีมะสิงห์สวัสดิ์ หนังสือเล่มนี้ ผู้เขียนได้รับความกรุณาจากทายาทรุ่นปัจจุบัน ถ่ายสำเนาเพื่อนำมาเผยแพร่เป็นวิทยาทาน ขอขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้ด้วย หวังว่าคงเกิดประโยชน์ไม่มากก็น้อย ผู้เขียนจะทะยอมนำมาลงเผยแพร่ต่อไป
“ปฐมสมโพธิกถา” มีความหมายตามรูปศัพท์ว่า “เรื่องราวเกี่ยวแก่การตรัสรู้โดยแจ่มแจ้งและเลิศล้ำของพระพุทธเจ้าซึ่งเพิ่งจะบังเกิดผ่านพ้นไป” ปฐมสมโพธิกถาแบ่งเนื้อหาออกเป็น 29 ตอน แต่ละตอนเรียกว่า ปริจเฉจ แม้ชื่อเรื่องปฐมสมโพธิกถาจะเน้นพุทธประวัติตอนตรัสรู้ แต่เนื้อเรื่องของปฐมสมโพธิกถาครอบคลุมประวัติทั้งหมดของพระสมณโคดมพุทธเจ้าตั้งแต่กำเนิดศากยตระกูลและการวิวาห์ระหว่างพระเจ้าสุทโธทนะพุทธบิดาและพระนางสิริมหามายาพุทธมารดา พระโพธิสัตว์จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิตลงสู่พระครรภ์พระพุทธมารดาและมีเรื่องและเหตุการณ์ต่าง ๆ เกี่ยวแก่พระธาตุผนวกอยู่ตอนท้ายของเรื่อง ปฐมสมโพธิสำนวนล้านช้างเป็นวรรณกรรมที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติพระสิทธัตถโพธิสัตว์ ตั้งแต่ประสูติจนบรรลุธรรมวิเศษได้เป็นพระพุทธเจ้า ปฐมสมโพธิสำนวนล้านช้างเป็นสำนวนที่มีความสำคัญในฐานะที่เป็นปฐมสมโพธิฉบับสำนวนภาษาถิ่นที่เก่าที่สุด และเป็นฉบับแปลแบบนิสสัยเพียงฉบับเดียว สามารถใช้เป็นหลักฐานเชื่อมโยงกับปฐมสมโพธิภาษาบาลีฉบับล้านนาซึ่งเก่ากว่า และใช้เป็นหลักฐานแสดงขนาดของเนื้อเรื่องดั้งเดิมก่อนที่จะขยายเนื้อเรื่องออกไปจนกลายเป็นวรรณกรรมพุทธประวัติในภายหลัง
สมุดไทยดำ เรื่อง สมุทโลกกในย เล่ม ๓ : ผู้เขียนได้มาเล่มเดียว เป็นสมุดข่อยไทยดำ บันทึกภาษาไทยอักษรสยาม ด้วยหรดานทอง มีสภาพเก่าตามที่เห็น ผู้รู้ที่ชำนาญสมุดข่อยให้ความเห็นว่า เป็นสมุดไทยดำเก่า ที่มีการเขียนรงค์ทองทับอักขรเดิม ตามที่ผู้อ่านอาจจะมองเห็นในภาพอยู่บ้าง เนื้อหาเป็นเรื่องราวร้อยแก้วมีสัมผัสบ้าง เขียนด้วยรูปแบบที่แปลกแตกต่างไปไม่ได้ตาทอย่างราชบัณฑิต จำนวนทั้งสิ้น 38 บานแผนก ผู้เขียนจักได้ทะยอยนำมาลงให้อ่านศึกษาร่วมกัน